ข่าวล่าสุด

ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์! 9 อาหาร ที่เด็กไม่ควรรับประทาน เนื่องจากเสี่ยงเป็นมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer; IARC) จัดให้เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และสารอะคริลาไมด์ (สารที่เกิดจากอาหารจำพวกแป้งที่ผ่านความร้อนสูง) เป็นสารกลุ่มที่มีความเป็นไปได้สูงในการก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อมโยงว่าการรับประทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คุกกี้ ไอศครีม มันฝรั่งแผ่นทอด ผลไม้อบแห้ง...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! โปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว  เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง

    ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าอกไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้พลังงานสูงและอุดมไปด้วยโปรตีนจำนวนมาก มีไขมันน้อย ส่วนไข่ขาวจัดเป็นโปรตีนคุณภาพดีมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งการรับประทานโปรตีนเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนนั้น ร่างกายจะไปสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทนทำให้ร่างกายทรุดโทรม...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ น้ำอัดลม คือ เครื่องดื่มที่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเพื่อให้มีความซ่า ในน้ำอัดลมประกอบด้วยน้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก สารแต่งสีและกลิ่น โดยน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ในน้ำอัดลม 1 กระป๋อง (ขนาด 325 ซีซี) มีปริมาณน้ำตาล 8-12 ช้อนชา...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หากสัมผัสโดนสารกันบูดในปลาทูนึ่งจะเป็นมะเร็งผิวหนัง

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังในมนุษย์ได้ สารกันบูดเป็นสารที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวอย่างของสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก พาราเบนส์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ เป็นต้น สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้จะผ่านการประเมินความปลอดภัยและมีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการการสุ่มตรวจหรือสำรวจปริมาณการตกค้างของสารเหล่านี้ให้อยู่ในค่าไม่เกินมาตรฐาน จากกรณีที่เป็นข่าวว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูทำให้เป็นมะเร็งที่มือนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตปลาทูนึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอยู่แล้วซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพปลาทูไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด อย่างไรก็ตามหากมีแผลที่มือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่าง...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะเร็งเทอร์โบ พบในคนอายุน้อยที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว

  ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันแน่ชัดว่าวัคซีนโควิด-19 เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ ข้อสรุป : ข่าวปลอม วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นวัคซีนที่กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารแอนติบอดีต้านเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 โดยผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 อาจมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง...
Read More

Cancer Warrior

  Cancer Warrior คือ นักรบสู้มะเร็ง ทีมปราบมะเร็งสำคัญ 5 ชนิด คือ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก เพื่อการดูแล "มะเร็งครบวงจร" การดูแลตั้งแต่ส่งเสริมป้องกัน คัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษา...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีการรักษาโรคมะเร็ง ไม่ให้ทำคีโมรักษา แต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเองและกินอาหารที่ไม่เป็นกรดก็หายมะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด จะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม คือ การใช้ยาเข้าไปหยุดหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย สามารถรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งเม็ดโลหิต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลูกอัณฑะ แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้ายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่ให้ผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิม รวมถึงยังมีแนวทางและยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม คีโมหรือเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ยาหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งการทำคีโมอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลายโดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร ผมร่วง ร้อนใน...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง กระดาษทิชชู (tissue paper) มีทั้งที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (เยื่อกระดาษจากต้นไม้) และจากเยื่อเวียนใหม่ กระดาษทิชชูจึงแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย เช่น กระดาษเช็ดหน้า การะดาษชำระ กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น สำหรับการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์จะมีการนำเยื่อกระดาษมาตีผสมกับน้ำ ฟอกเยื่อกระดาษให้มีสีขาวแล้วนำมารีดอบเป็นแผ่น ส่วนการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อเวียนใหม่จะมีการใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเพื่อตีปั่นวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อกระดาษ และใช้สารคลอรีนไดออกไซด์ในกระบวนการฟอกขาว...
Read More

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตรวจเต้านมโดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมได้ การตรวจแมมโมแกรมแนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีความเสี่ยง ได้แก่ มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าการทำแมมโมแกรมเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมนั้น...
Read More

เว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง