รู้ทันมะเร็ง : ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเทคนิคใหม่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ม.ค. 2557           สุภาพสตรีหลายท่านคงเคยผ่านการตรวจภายใน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ในขณะที่อีกหลายท่านต่อให้เอาเงินมาล่อ เอาช้างมาฉุดเท่าไหร่ก็ไม่มีทางมาตรวจเด็ดขาด เพราะอายแพทย์ ไม่กล้าเปิดเผยของสงวน จนครั้งหนึ่งในอดีต มะเร็งปากมดลูกเคยเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทยต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาหลายปี เนื่องจากในสมัยก่อนนั้น หญิงไทยส่วนใหญ่ยังอายไม่ยอมมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รอจนมีอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ แค่เดินเข้าห้องตรวจยังไม่ทันขึ้นขาหยั่ง กลิ่นที่โชยออกมาก็ช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้มากแล้วว่า โอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง              แต่ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกหล่นลงมาเป็นอันดับ 2 เป็นรองมะเร็งเต้านมไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมสูงขึ้น แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังสูงเท่าเดิม แต่ที่น่ายินดีคือ อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกลดลงจากเดิมชัดเจน เหตุที่เป็นเช่นนั้นต้องขอยกความดีความชอบให้โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั่วประเทศ 76 จังหวัด ที่ดำเนินการโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับการให้เงินทุนสนับสนุนโครงการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จวบจนถึงปีปัจจุบัน 2557 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 จากเดิมก่อนเริ่มโครงการอุบัติการณ์ของโรคอยู่ที่ 23.4…

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างมืออาชีพ ตอนที่2

เครดิต : คมชัดลึก  20 ธ.ค. 2556           ต่อจากตอนที่แล้ว พูดถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างมืออาชีพในระดับปัจเจกบุคคลตอนที่ 1 ไปแล้ว อันหมายถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งไปตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ได้กล่าวถึงเรื่องการซักประวัติเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอย่างเจาะลึก ที่เน้นเรื่องประวัติส่วนตัวเรื่องการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาชีพ และที่สำคัญคือเรื่องมีอาการหรืออาการแสดงของ 7 สัญญาณอันตรายหรือไม่ กับการซักประวัติครอบครัวว่า มีใครเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็งหรือไม่ การตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่เน้นเรื่องการตรวจหาแผลเรื้อรัง โดยเฉพาะในช่องปากผู้สูงอายุ ตรวจไฝหรือหูดที่รูปร่างหน้าตาผิดปกติ การคลำหาก้อนทั่วร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า                    จุดที่ต้องเน้นในการคลำหาก้อนผิดปกติเป็นพิเศษก็คือ ตำแหน่งที่มีต่อมน้ำเหลืองอยู่มากกว่าตำแหน่งอื่น เช่น ลำคอ ข้อพับต่างๆ ตั้งแต่รักแร้ ไหปลาร้า ขาหนีบ ข้อศอก ข้อเข่า ตรวจท้องคลำตับคลำม้ามว่าโตผิดปกติหรือไม่ คลำหาก้อนผิดปกติในช่องท้อง รวมถึงตรวจภายในรูทวารหนักโดยใช้นิ้วคลำ เพื่อตรวจว่ามีก้อนผิดปกติในรูทวารหรือไม่ และคลำต่อมลูกหมากในเพศชายผ่านทางรูทวาร ถ้าในผู้ชายก็ต้องคลำหาก้อนผิดปกติในถุงอัณฑะด้วย…

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างมืออาชีพ 1

เครดิต : คมชัดลึก  13 ธ.ค. 2556           พูดถึงการตรวจคัดกรองมะเร็ง หลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง มีทั้งคนที่ร้อยวันพันปีไม่เคยเข้าไปโรงพยาบาลเพื่อไปตรวจสุขภาพเลย เพราะเชื่อว่าตนเองสุขภาพดีแข็งแรงอยู่แล้ว เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ออกกำลังกายเป็นประจำ จะเจ็บจะป่วยได้ยังไง บางคนไม่อยากไปตรวจเพราะกลัวว่าตรวจแล้วจะเจอว่าเป็นโรคนู้นโรคนี้ เลยไม่ตรวจซะเลยจะดีกว่า อีกกลุ่มหนึ่งก็นิยมไปตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ แต่เป็นการตรวจสุขภาพทั่วๆไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเรื่องมะเร็ง ผลการตรวจสุขภาพทั่วไปก็ปกติดี พอตอนหลังมารู้ว่าเป็นมะเร็ง ก็รู้สึกแย่ที่ตนเองอุตส่าห์เสียเงินเสียทองตรวจสุขภาพมาตลอด แล้วทำไมพอมารู้ว่าเป็นมะเร็ง กลับเป็นในระยะที่มากแล้ว                    เพื่อให้เข้าใจถูกต้องตรงกันในเรื่องนี้ ตามหลักวิชาการแยกการคัดกรองมะเร็งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือการตรวจคัดกรองมะเร็งตามโอกาส อันหมายถึงการตรวจคัดกรองในระดับปัจเจกบุคคล เรียกว่าใครอยากตรวจคัดกรองมะเร็งอะไรก็ว่าไปตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ว่าไปตามอัธยาศัย กับการตรวจคัดกรองตามระบบ ซึ่งหมายถึงการคัดกรองมะเร็งในประชากร ในคนกลุ่มใหญ่ทั้งประเทศ ซึ่งต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับประสิทธิผลที่ได้รับ เรียกว่ามีความจำเป็นความคุ้มค่ากับเงินจำนวนมากที่ต้องใช้หรือไม่         …

รู้ทันมะเร็ง : เพื่อพ่อสูงวัย ห่างไกลมะเร็ง

เครดิต : คมชัดลึก  6 ธ.ค. 2556           ใครที่คุณพ่อยังมีชีวิตอยู่ แนะนำให้อ่านตอนนี้ ในโอกาสที่เริ่มเข้าสู่เดือนธันวาคมเดือนของพ่อ หันมาทำสิ่งดีๆ เพื่อสุขภาพพ่อกันดีกว่า เพราะปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีจำนวนคนสูงอายุมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บต้องตามมา ที่เป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไม่เพียงแต่บรรดาโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ยังมีโรคสำคัญคือโรคมะเร็งที่คอยคุกคามผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน                    เพื่อให้พ่อผู้สูงอายุปลอดภัยห่างไกลมะเร็งในโอกาสที่เป็นเดือนของพ่อ มาทบทวน 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายไทยกันก่อน เพื่อวางแผนป้องกันตามความน่าจะเป็นของโรค เริ่มตั้งแต่มะเร็งตับและทางเดินน้ำดีมาเป็นอันดับหนึ่ง มะเร็งปอดอันดับสอง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักตามมาอันดับสาม อันดับสี่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และสุดท้ายมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิ้นรั้งท้ายในอันดับห้า                    ผมาเริ่มที่มะเร็งตับและทางเดินน้ำดีกันก่อน สองโรคนี้มาเป็นฝาแฝดกันประจำเพราะทั้งเซลล์ตับและท่อน้ำดีอยู่ในตัวตับเหมือนกัน…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งเต้านมผู้ชายก็ไม่ละเว้น

เครดิต : คมชัดลึก  9 พ.ย. 2555           หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าผู้ชายพันธุ์แท้อกสามศอกก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ไม่ต่างจากสตรีเพศเช่นกัน เพียงแต่พบได้น้อยกว่าเท่านั้น แต่ถึงจะพบได้น้อยก็อย่าชะล่าใจเพราะปัจจุบันอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง          จากสถิติพบว่ามะเร็งเต้านมพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 100 เท่า ในเพศชายนั้นพบบ่อยในช่วงอายุ 60-70 ปี โดยพบว่าผู้ชายที่เป็นมะเร็งเต้านมมีอายุเฉลี่ยมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม 7-8 ปี ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว โดยจะเป็นญาติทางฝ่ายชายหรือหญิงก็ได้ ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งเต้านมในเพศชายก็ไม่ต่างจากเพศหญิงนั่นคือมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะกลุ่มอาการที่ชื่อเรียกยากว่ากลุ่มอาการคลายน์เฟลเทอร์ ซึ่งมีความผิดปกติของดีเอ็นเอคือมีดีเอ็นเอของเพศหญิงเพิ่มขึ้นมาในร่างกายมาตั้งแต่เกิด ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงและระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำลงทำให้มีลักษณะเหมือนเพศหญิง                    ผู้ชายที่เป็นกลุ่มอาการนี้จะมีความสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ช่วงไหล่แคบกว่าช่วงเอว มีเต้านมใหญ่ ลูกอัณฑะเล็กและเป็นหมันจากการไม่มีตัวอสุจิหรือมีตัวอสุจิน้อยมาก กลุ่มอาการนี้พบได้ไม่บ่อยคือพบประมาณหนึ่งคนในผู้ชายหนึ่งพันคน นอกจากนั้นภาวะอื่นๆ ที่ทำให้มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงผิดปกติ เช่น ตับแข็ง ลองสังเกตจากผู้ชายนักดื่มคอทองแดงทั้งหลายมักมีเต้านมใหญ่กว่าผู้ชายปกติทั่วไป เนื่องจากตับเสื่อมสภาพลงไม่สามารถทำลายฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ตามปกติ…

รู้ทันมะเร็ง : อยากตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก           หลายคนที่การขับถ่ายอุจจาระเริ่มผิดปกติ เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันช่วงหลังชักมีท้องผูกบ่อยขึ้น หรือถ่ายมีมูกลื่นๆ ปนมากับอุจจาระ พอดีพอร้ายมีเลือดปนออกมาด้วย ชักใจไม่ค่อยดี อยากจะตรวจลำไส้ใหญ่ดูเสียหน่อยเพื่อความสบายใจ                    ข้ามขั้นตอนปกติ คือ การซักประวัติตรวจร่างกาย ตรวจทางทวารหนักไป อันดับต่อไปก็คือการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ในคนปกติที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ถ้าไม่พบเม็ดเลือดแดงก็ค่อนข้างสบายใจได้ แต่ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจรีบสรุปว่าตนเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะยังมีอีกหลายโรคหลายภาวะที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น ริดสีดวงทวารหนัก แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อในลำไส้ ผนังลำไส้โป่งพองเป็นกระพุ้งและโรคอื่นๆ อีกมาก จึงต้องตรวจขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์สวนสารทึบแสงหรือที่นิยมเรียกกันว่าเอกซเรย์สวนแป้ง หรือจะข้ามไปตรวจด้วยการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ให้เห็นกันจะจะไปเลย จะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป                    ก่อนการตรวจไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์สวนแป้งหรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ยาระบายมากินก่อนตรวจ…

รู้ทันมะเร็ง : มาตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่กันเถอะ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 มี.ค. 2558           ส่งท้ายเดือนมีนาคม เดือนที่ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายคนเริ่มสนใจที่อยากจะตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่อีกหลายคนที่การขับถ่ายอุจจาระเริ่มผิดปกติ เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวัน ช่วงหลังชักเริ่มมีท้องผูกบ่อยขึ้น หรือถ่ายมีมูกลื่นๆ ปนมากับอุจจาระ พอดีพอร้ายมีเลือดปนออกมาด้วย ชักใจไม่ค่อยดี อยากจะตรวจลำไส้ใหญ่ดูเสียหน่อยเพื่อความสบายใจ                    เริ่มจากขั้นตอนปกติคือการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางทวารหนักโดยใช้นิ้วเพื่อคลำหาก้อนผิดปกติและดูลักษณะอุจจาระว่าผิดปกติมีมูกมีเลือดหรือไม่ อันดับต่อไปก็คือการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ในคนปกติที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ถ้าไม่พบเม็ดเลือดแดงก็ค่อนข้างสบายใจได้ แต่ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงก็อย่าพึ่งตกอกตกใจรีบสรุปว่าตนเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะยังมีอีกหลายโรคหลายภาวะที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น ริดสีดวงทวารหนัก แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อในลำไส้ ผนังลำไส้โป่งพองเป็นกระพุ้งและโรคอื่นๆ อีกมาก จึงต้องตรวจขั้นตอนต่อไปคือการเอ็กซเรย์สวนสารทึบแสงหรือที่นิยมเรียกกันว่าเอ็กซเรย์สวนแป้งหรือจะข้ามไปตรวจด้วยการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ให้เห็นกันจะจะไปเลย จะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป             …

รู้ทันมะเร็ง : 5สัญญาณมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  5 มิ.ย. 2558           มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภัยร้ายที่กำลังมาแรงสำหรับคนไทยที่เริ่มมีวิถีชีวิตค่อนไปทางสังคมชาวโลกตะวันตกมากขึ้นทุกวัน จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของบ้านเราในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักรายใหม่กว่า 9,000 ราย พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในภาพรวมทั้งสองเพศ แต่เมื่อพิจารณาแยกเพศแล้ว เพศชายมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ แนวโน้มที่พบมีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับมะเร็งเต้านม                    ด้วยเหตุนี้จึงได้เวลามาพูดเน้นกันเฉพาะเรื่องสัญญาณอาการอันตรายที่พบบ่อยของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เริ่มด้วยสัญญาณที่หนึ่ง ปวดท้องเป็นพักๆ ลักษณะการปวดเป็นแบบมีช่วงปวดสลับกับช่วงหายปวด ตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ที่บีบตัวตามปกติ เนื่องจากอุจจาระผ่านตำแหน่งที่มีเนื้องอกได้ยากลำบากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ เมื่อก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากขึ้น อุจจาระก็ยิ่งผ่านบริเวณนั้นได้ลำบากมากขึ้น อาการปวดจะรุนแรงขึ้นและปวดบ่อยขึ้น สัญญาณที่ 2 มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย นอกจากอาการปวดท้องอย่างที่ว่ามาแล้ว…

รู้ทันมะเร็ง : มีนาคมเดือนรณรงค์มะเร็งลำไส้ใหญ่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  6 มี.ค. 2558           เดือนมีนาคมของทุกปี วงการมะเร็งทั่วโลกกำหนดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยใช้โบสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ เหตุเพราะโรคนี้กำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศก็เริ่มมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น                    สำหรับประเทศไทย สถิติผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย พบผู้ป่วยชายที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ 14.7 รายต่อประชากร 100,000 รายหรือ 4,790 รายต่อปี ในขณะที่พบเป็นอันดับ 5 ในเพศหญิง พบผู้ป่วยหญิงที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่ 11 รายต่อประชากร 100,000 รายหรือ 4,144 รายต่อปี โดยอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากดูสถิติย้อนหลังไป 10 ปี ในปี…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำไมเอาลำไส้มาเปิดหน้าท้อง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก           ภาพหน้าท้องผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่มาเปิดออก มีถุงใส่อุจจาระครอบปิดอยู่ เป็นภาพที่ใครก็ไม่อยากเห็นและไม่มีใครอยากมีประสบการณ์แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร อันที่จริงแล้วการผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกหน้าท้องนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งอย่างเดียวเท่านั้น ในกรณีอื่นๆ เช่น กรณีลำไส้ใหญ่อักเสบรุนแรง ลำไส้ใหญ่ทะลุจากอุบัติเหตุ กรณีเช่นนี้ก็มีความจำเป็นที่ต้องเอาลำไส้มาเปิดที่หน้าท้องเช่นกัน ต่างกันตรงที่มักเป็นการทำแบบชั่วคราว พอสภาพในช่องท้องดีขึ้นก็ผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่กลับเข้าที่ตามเดิม แต่ในกรณีมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเอาลำไส้ใหญ่ออกมาเปิดหน้าท้องแบบชั่วคราวหรือถาวรนั้นแล้วแต่กรณีๆ ไป                    ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ ไม่มีศัลยแพทย์คนไหนอยากให้ผู้ป่วยต้องมีลำไส้มาเปิดที่หน้าท้อง การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่มาเปิดที่หน้าท้องหรือไม่ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น ขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง สภาพของลำไส้ใหญ่และสภาพของผู้ป่วยในขณะผ่าตัดเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น คนไข้มะเร็งลำไส้ใหญ่มีการลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงจนไม่สามารถตัดออกได้ทั้งหมด ปล่อยทิ้งไว้คาดว่าอีกไม่นานจะเกิดภาวะลำไส้อุดตันแน่นอน ในรายแบบนี้ก็อาจต้องผ่าตัดเอาลำไส้เหนือต่อตำแหน่งก้อนเนื้องอกออกมาเปิดไว้ที่หน้าท้องแบบแนวโน้มจะถาวร ไม่ต้องรอให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันก่อนแล้วค่อยมาผ่าตัดรอบสอง หลังผ่าตัดถ้าสภาพผู้ป่วยยังดียังแข็งแรงอยู่ ก็อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัด หากมีการตอบสนองที่ดีก้อนยุบลง อาจจะผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ที่มีก้อนส่วนนั้นออกและเอาลำไส้ใหญ่ที่มาเปิดหน้าท้องกลับลงไปต่อได้                   …