รู้ทันมะเร็ง : รวมพลังต้านภัยมะเร็งไทย&มะเร็งโลก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ก.พ. 2555           ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านโรคมะเร็งทั่วประเทศทั้งภาครัฐภาคเอกชน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานวันมะเร็งโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกๆ ปี องค์การอนามัยโลกหรือ WHO โดยสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานที่จัดการประชุมระดมสมองของผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งทั่วโลกว่า ในแต่ละปีจะเน้นหัวข้อการรณรงค์เรื่องอะไรของโรคมะเร็งเป็นพิเศษ โดยต้องสอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของการจัดงานวันมะเร็งโลกคือ เน้นให้ทุกประเทศทั่วโลกดำเนินการรณรงค์ด้านการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือทำให้นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง           ในปีนี้ใช้หัวข้อว่า “Together it is possible” หมายถึงหากเรารวมพลังร่วมแรงร่วมใจไปด้วยกัน ย่อมเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือ ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งและโรคไม่ติดต่ออื่นๆ ให้ได้ร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ. 2568 หรือในอีก 13 ปีข้างหน้า เหตุเพราะจากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2548 มีผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 7.8 ล้านคน และคาดว่าหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปแบบเอาไม่อยู่ไปเรื่อยๆ ในปี…

รู้ทันมะเร็ง : ตั้งเป้าปีใหม่ห่างไกลมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  6 ม.ค. 2555           ก้าวสู่ศักราชใหม่ปีมะโรง ต้นปีแบบนี้เชื่อว่าหลายท่านคงจะสนใจอ่านคำพยากรณ์เหตุการณ์ในปี 2555 ว่าจะเป็นยังไง อย่ามัวแต่อยากรู้ทันมะโรงจนลืมคอลัมน์รู้ทันมะเร็ง สถานการณ์บ้านเมืองจะชั่วดีถี่ห่างอย่างไรก็อย่าพึ่งวิตกกังวลตีตนไปก่อนไข้นะครับ พิจารณาอย่างมีสติใช้ปัญญาและอย่าใช้ชีวิตอย่างประมาทเป็นดีที่สุดครับ           คำอวยชัยให้พรปีใหม่ในช่วงนี้โดยเฉพาะ เรื่องขอให้สุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บที่ชอบอวยพรกันนั้น หาได้มาจากเทพเทวดาองค์ไหนแต่อย่างใด แต่มาจากตัวเราและการใช้ชีวิตของแต่ละคนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยากห่างไกลจากโรคมะเร็งในปีนี้หรือปีไหนๆ ก็ต้องเข้าใจเรื่องสาเหตุหลักๆ ของโรคมะเร็งโดยภาพรวม ส่วนสาเหตุของมะเร็งแต่ละอวัยวะก็ต้องว่ากันไปในโอกาสต่อไป เริ่มกันตั้งแต่สาเหตุแรกคือกรรมพันธุ์ มีมะเร็งหลายอวัยวะที่มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เมื่อก่อนเรารู้แต่เพียงว่าโรคหรือภาวะความผิดปกติบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเป็นภาวะที่จะนำไปสู่การกลายเป็นมะเร็งในอนาคตเมื่อมีอายุขัยมากขึ้น แต่ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาก้าวหน้าไปมาก สามารถรู้ไปถึงส่วนประกอบภายในของเซลล์ ในระดับยีน ระดับโครโมโซม ระดับโมเลกุลว่าคนที่มียีนหรือโครโมโซมที่ผิดปกติที่ตำแหน่งไหน มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอะไรมากน้อยแค่ไหน ลงลึกไปจนถึงขั้นจะทำการรักษาในระดับยีนกันเลยทีเดียว ไม่ต้องรอให้เป็นมะเร็งก่อนแล้วมาไล่ตามรักษาอย่างทุกวันนี้ ส่วนอีก 2 สาเหตุที่เหลือคือสภาพแวดล้อมและพฤติกรรม มักเป็นสาเหตุที่ถูกกล่าวถึงคู่กันเสมอเพราะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน สภาวะแวดล้อมที่นับวันจะเต็มไปด้วยมลพิษเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งทั้งจากดินน้ำอากาศแสงแดดและรังสีต่างๆ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่อยู่รายรอบตัวเรา ทั้งที่รู้และไม่รู้ ทั้งที่เลี่ยงได้และเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องรู้ให้เท่าทันนะครับ ประเภทที่ไม่มีความรู้หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อันนี้ก็น่าเห็นใจ แต่ประเภทที่รู้แล้ว จะหลีกเลี่ยงก็ทำได้แต่ไม่ทำ…

รู้ทันมะเร็ง : ถอดบทเรียนมะเร็งปี54 : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  30 ธ.ค. 2554           ในโอกาสที่ปีเก่ากำลังจะผ่านไปปีใหม่กำลังจะเวียนมา นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มาทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาในรอบปีก่อนจะลืมเลือนกันไป อย่างที่ใครหลายคนมักพูดอยู่เสมอว่าคนไทยลืมง่าย แต่ปีนี้เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงยากที่จะลืม เพราะคนไทยจำนวนมากบอบช้ำกับเหตุการณ์มหาอุทกภัย ประสพกับความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เสียขวัญเสียสุขภาพจิต ตื่นตระหนกหวาดระแวงกันไปทั่ว อาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้เปลี่ยนวิธีคิดของคนไทยในหลายๆ เรื่อง อย่างน้อยที่สุดหากมองให้เป็นโอกาสก็คือการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ความพยายามในการป้องกันบ้านเรือนทรัพย์สินและความมีสติดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาทมากขึ้น ก็หวังว่าพวกเราคนไทยจะหันมาปรับใช้วิธีคิดอย่างที่ว่ามากับเรื่องสุขภาพ เรื่องโรคมะเร็ง ถ้าเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นโรคร้ายก็จะน้อยลงหรือหากเป็นก็เป็นในระยะเริ่มต้น โอกาสรักษาหายขาดก็มีมากขึ้นเช่นกัน           เหตุการณ์สำคัญด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งในปี 2554 ที่สังคมให้ความสนใจ ก็มีเรื่องการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีหลังเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นช่วงต้นเดือนมีนาคม เตือนกันอีกครั้งว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมียพบได้บ่อยที่สุดในบรรดามะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการได้รับรังสีและมักเกิดขึ้นเร็วภายในเวลา 2-3 ปี ส่วนมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งของต่อมไทรอยด์ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอิโลมา มะเร็งเต้านมและมะเร็งกระเพาะอาหาร ก็มีโอกาสเป็นในช่วง 10-15 ปีหลังได้รับรังสี เรื่องของโทรศัพท์มือถือกับมะเร็งสมองก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แม้ว่าองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศจะออกมาเตือนว่า ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 30…

รู้ทันมะเร็ง : ไม่สูบบุหรี่ทำไมยังเป็นมะเร็งปอด? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  26 ต.ค. 2555           ใครๆ ก็รู้โทษภัยของบุหรี่เป็นอย่างดีไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เพราะวงการแพทย์และสาธารณสุขบ้านเราเค้ารณรงค์เรื่องนี้กันมาอย่างต่อเนื่องว่าเป็นต้นเหตุของสารพัดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดนั้นสูบบุหรี่กันทุกคน เห็นได้จากคำถามยอดฮิตที่ชอบถามกันบ่อยๆ ว่า ไม่ได้สูบบุหรี่ทำไมถึงเป็นมะเร็งปอดได้ ยิ่งล่าสุดอดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยที่พึ่งเสียชีวิตจากมะเร็งปอด ทั้งๆ ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้าและแข็งแรงดีมาตลอด แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องสาเหตุของมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่อยู่มากเลยทีเดียว           จากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่อยู่ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งหมดและ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นผู้หญิง ในระยะหลังพบว่ามะเร็งปอดในผู้หญิงเอเชียที่ไม่ได้สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นชนิดของเซลล์มะเร็งปอดที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้ง 2 กลุ่มก็มีความแตกต่างกัน ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่สูบบุหรี่ มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดสแควร์มัสที่มักพบก้อนบริเวณทางเดินหายใจ มักมีอาการแสดงให้เห็นได้เร็วกว่า เช่น มีอาการไอหรือไอเป็นเลือด ในขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่นั้น มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนม่าที่มักพบก้อนที่เนื้อปอดในส่วนที่ห่างจากทางเดินหายใจ ทำให้ไม่แสดงอาการให้เห็นในช่วงแรก อาการที่พบบ่อยก็เช่น หายใจสั้น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือปวดตามข้อหรือตามกระดูกจากมะเร็งแพร่กระจายไปทางกระแสเลือด เซลล์มะเร็งปอดอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนที่ไม่สูบบุหรี่คือ บรองโคแอลวีโอล่าร์คาร์ซิโนม่าหรือบีเอซี ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุน้อยและในช่วงหลังนี้กำลังมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกโดยไม่ทราบสาเหตุ  …

รู้ทันมะเร็ง : ทำงานบ้าน(ก็)ช่วยต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  12 ต.ค. 2555           เดือนกันยายนที่ผ่านมามีข่าวจากผลงานวิจัยที่น่าสนใจที่ประเทศอังกฤษเรื่องการทำงานบ้าน การทำสวนหรือการเดินจูงสุนัขก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เป็นที่ยอมรับกันในวงการสุขภาพจากผลงานวิจัยในต่างประเทศร้อยกว่าฉบับที่มีหลักฐานชัดเจนว่า การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อบุมดลูก จากการที่การออกกำลังกายช่วยทำให้เกิดสมดุลของพลังงาน การควบคุมระดับอินซูลินและฮอร์โมน เพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ที่สำคัญยังพบว่าคนที่ออกกำลังกายในระดับปานกลางและระดับหนัก 30 – 60 นาทีต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ออกกำลังน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมน้อยที่สุด          ที่น่าสนใจจากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดที่กำลังเป็นข่าวฮอตอยู่ในเวลานี้ ที่ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 8,034 รายในช่วง 11 ปี พบว่าการทำงานบ้านวันละ 6 ชั่วโมงก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ 13 เปอร์เซ็นต์หรือถ้าไม่อยากทำแต่งานบ้าน ทำสวนวันละ 3 ชั่วโมงก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้เกือบ 10 เปอร์เซ็นต์หรือถ้ามีเวลาน้อยกว่านั้นทำงานบ้านหรือเดินไปมาวันละ 2 ชั่วโมงครึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ให้การนั่งเฉยๆ เท่ากับการใช้พลังงาน 1…

รู้ทันมะเร็ง : เสียงแหบกับมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ก.ค. 2555           ภาพผู้ป่วยที่มีรูหายใจบริเวณด้านหน้าลำคอหรือเสียงของผู้ป่วยคนเดียวกันที่ฟังแล้วแปลกๆ ไม่เหมือนเสียงของคนปกติ ถ้าใครไม่เคยเห็นหรือไม่เคยได้ยินก็ไปหาดูจากคำเตือนข้างซองบุหรี่หรือสปอตโฆษณารณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ เพราะนั่นเป็นสภาพของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงหลังจากได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว           เนื่องจากกล่องเสียงเป็นอวัยวะส่วนต้นของทางเดินหายใจต่อกับหลอดลมที่ลมหายใจต้องผ่านเข้าออก ตำแหน่งของกล่องเสียงก็อยู่ตรงกับตำแหน่งลูกกระเดือกซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนประกอบของกล่องเสียง และยังมีสายเสียงซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ เป็นส่วนประกอบภายในของกล่องเสียงด้วยเช่นกัน การเปล่งเสียงของคนเราเกิดจากการที่ลมจากในปอดผ่านสายเสียงที่มีการขยับเกิดการสั่น ทำให้เกิดเสียงสูงเสียงต่ำตามความตึงความหย่อนของสายเสียง ครั้นเมื่อกล่องเสียงถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด ก็ต้องเอาส่วนของหลอดลมมาเปิดที่ลำคออย่างถาวรเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกโดยตรงและแน่นอนที่สุดคือไม่สามารถพูดได้เหมือนอย่างเคย ส่วนใหญ่ต้องฝึกพูดโดยการสร้างเสียงจากหลอดอาหารแทน ทำให้คุณภาพเสียงไม่เหมือนเสียงที่ผ่านกล่องเสียงตามปกติ           ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นภาพตอนท้ายของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้ว โรคนี้พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มักพบในอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากการสูบบุหรี่จัดจะเป็นตัวการสำคัญของโรคนี้แล้ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเสียงแหบโดยไม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วยนานกว่า 2 สัปดาห์และไม่มีสาเหตุที่ทำให้เสียงแหบชัดเจน เช่น ใช้เสียงมากหรือมีการอักเสบหรือระคายเคืองของทางเดินหายใจส่วนบน ในรายที่มีการลุกลามมากขึ้นอาจมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง มีความรู้สึกไม่สบายในลำคอเหมือนมีก้างติดคอ กลืนอาหารลำบาก หายใจขัดหายใจลำบาก มีเสมหะปนเลือด มีก้อนที่ด้านข้างคอโตจากมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง การวินิจฉัยโรคก็ไม่ยุ่งยากอะไร ส่วนใหญ่ใช้กระจกส่องดูกล่องเสียง…

รู้ทันมะเร็ง : เหล้า มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  19 เม.ย. 2556           ควันหลงหลังเทศกาลสงกรานต์หยุดยาว เชื่อว่าหลายท่านคงได้เผชิญหน้ากับสารพัดเครื่องดื่มตระกูลแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์กันบ้างไม่มากก็น้อย ผู้ที่มีญาติสนิทมิตรสหายจากไปจากผลของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วเสียชีวิตไปในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ทั้งจากที่ดื่มเองหรือจากความโชคร้ายที่คนอื่นดื่มแล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจไว้ ณ ที่นี้ด้วย แต่สำหรับนักดื่มก็อย่าพึ่งดีใจว่าสามารถรักษาชีวิตรอดปลอดภัยจากอุบัติเหตุมาได้ โรคของตับและตับอ่อนยังรอคอยนักดื่มมืออาชีพอยู่ที่สถานีต่อไป หากไม่ลดละเลิกพฤติกรรมดังกล่าว           ตับแข็ง มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน 3 โรคที่มีคำว่าตับเหมือนกันแล้ว ทั้งหมดยังเกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสนิทแนบแน่น เมื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเรียกชื่อเต็มยศว่าเอธิลแอลกอฮอล์หรือเอธานอลเข้าสู่ทางเดินอาหาร เซลล์ตับจะกำจัดเอธานอลโดยเปลี่ยนให้เป็นสารที่เรียกว่า อะเซททาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมากกว่า ทำลายเซลล์ตับเกิดภาวะไขมันจับตับหรือไขมันพอกตับ ถ้ามีการอักเสบและการทำลายของเซลล์ตับที่มากขึ้น มีการสร้างผังผืดแผลเป็นแทนเนื้อตับปกติ ทำให้ตับเล็กลง ผิวขรุขระที่เรียกว่าตับแข็งในที่สุด ในระหว่างที่เซลล์ตับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่านั้น ก็มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเซลล์ตับได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นตับแข็งก่อนแล้วถึงจะเป็นมะเร็งเซลล์ตับได้เสมอไป ยิ่งถ้าบุคคลผู้นั้นมีภาวะอื่นที่ตับไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น เป็นพาหะที่ไม่มีอาการของโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดบีหรือชนิดซี ก็มีโอกาสที่เซลล์ตับจะเสียหายเป็นตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ง่ายกว่าและเร็วขึ้น          …

รู้ทันมะเร็ง : กินเหล้าเคล้ามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  12 เม.ย. 2556           ปี 2556 ปีนี้เป็นปีพิเศษที่มีวันหยุดยาวต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน จนมนุษย์เงินเดือนพากันมีความสุขกันเป็นส่วนใหญ่ หลายคนวางแผนเดินทางท่องเที่ยวลาพักร้อนเพิ่มเพื่อให้ได้หยุดยาวสะใจ คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าเทศกาลวันหยุดยาวทีไร รัฐบาลต้องมีมาตรการเข้มงวดกวดขันรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับกันทุกช่วงวันหยุดยาว ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงกรานต์ ปีใหม่ เพื่อลดอุบัติเหตุและผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจนระยะหลังหลายคนเริ่มรู้สึกเฉยชา แต่โทษภัยระยะยาวต่อสุขภาพนั้นมีมากมายหลายอย่าง ไม่เว้นแม้แต่โรคมะเร็งก็เป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์           เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์อย่างไม่ต้องสงสัยแล้วว่าแอลกอฮอล์จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ คือเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่ 1 โดยองค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ โดยภาพรวมของทั้งโลกแล้วการบริโภคแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับมะเร็งร้อยละ 3.6 และมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งร้อยละ 3.5 จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางต่อเนื่องจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งคอหอย มะเร็งกล่องเสียง โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นหากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าหนึ่งดริงก์ต่อวันในผู้หญิงและสองดริงก์ต่อวันสำหรับผู้ชาย โดยนิยามของหนึ่งดริงก์เท่ากับปริมาณเอทานอลแอลกอฮอล์ 10-15 กรัม เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นก็เท่ากับเหล้าวิสกี้ปริมาณ 44 ซีซี หรือไวน์ 148 ซีซีหรือหากเป็นเบียร์หรือไวน์คูลเลอร์ก็เท่ากับ 355 ซีซี  …

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากแป้งฝุ่น : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 เม.ย. 2555           บรรยากาศมหาสงกรานต์ที่ชุ่มฉ่ำเย็นทั่วหล้าในเวลานี้ ภาพผู้คนออกมาเล่นน้ำเล่นประแป้งกันไปทั่วท้องถนน ทำให้นึกถึงเรื่องแป้งฝุ่นกับมะเร็งซึ่งเหมาะกับช่วงสงกรานต์ขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง           อันว่าแป้งฝุ่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทำจากสารที่มีชื่อว่าทัลค์มาทำให้เป็นผงละเอียดเรียกว่าผงทัลคัม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม ซิลิกอนและออกซิเจน มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นและกลิ่นได้ดี ทำให้ผิวแห้งลื่นเนียน จึงนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของแป้งฝุ่นชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแป้งฝุ่นทาตัว แป้งเด็ก แป้งน้ำ แป้งรองพื้น แป้งพัฟทาหน้า แป้งปัดแก้มและอายแชโดว์ เจ้าสารทัลค์บางชนิดมีส่วนประกอบของแร่ใยหินหรือแอสเบสทอสผสมโรงอยู่ด้วยตามธรรมชาติ ซึ่งเจ้าแร่ใยหินนี้ยืนยันแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อถูกสูดดมเข้าทางลมหายใจต่อเนื่องเป็นเวลานาน มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอดก็จะถามหา ดังนั้นในหลายประเทศจึงห้ามไม่ให้มีการปนเปื้อนของแร่ใยหินในแป้งทาตัวทุกประเภท ในบ้านเรากระทรวงสาธารณสุขเคยทำการสำรวจแป้งพัฟทาหน้าและแป้งปัดแก้มจากท้องตลาดเมื่อ 2 ปีก่อนจำนวน 79 ตัวอย่าง พบว่ามีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ 2 ตัวอย่าง ทำเอาหวาดเสียวไปตามๆ กัน หากพิจารณาเฉพาะตัวแป้งฝุ่นที่ไม่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ณ เวลานี้ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดแต่อย่างใด          …

รู้ทันมะเร็ง : ย้อมผมบ่อยเป็นมะเร็งจริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  30 มี.ค. 2555           สมัยนี้ไม่ว่าไปแห่งหนตำบลใดเห็นมีแต่คนทำสีผมกันมากมาย สมัยก่อนถ้าจะย้อมผมก็มีแต่คนผมขาวหรือคนที่ยังไม่อยากแก่ย้อมแต่สีดำเท่านั้น แต่ยุคนี้มีให้เลือกสารพัดทุกเฉดสี ทำแล้วก็ดูสวยงามทันสมัยดีจนบ่อยครั้งที่มองข้างหลังนึกว่าฝรั่งผมทอง พอไปดูข้างหน้ากลายเป็นฝรั่งดองไปซะฉิบ วันนี้เลยได้โอกาสเอาเรื่องยาย้อมผมมาเล่าสู่กันฟังเพราะมีคนสงสัยคาใจอยู่พอสมควรโดยเฉพาะคนที่ย้อมเองนั่นแหละ เรียกว่าอยากสวยอยากหล่อแต่ก็ยังเป็นห่วงสุขภาพของตัวเองอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญที่กลัวมากที่สุดก็กลัวเป็นมะเร็งน่ะแหละ           เค้าแบ่งประเภทของยาย้อมผมเป็น 3 ประเภทหลักคือแบบชั่วคราว แบบกึ่งถาวรและแบบถาวร 2 ประเภทแรกไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะสระผมไม่กี่ทีสีก็หาย แบบที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือแบบที่ 3 ที่ใช้สารเคมีล้วนๆ มาฟอกเม็ดสีผมเดิมออกแล้วใส่สารเคมีที่ทำให้เกิดสีใหม่ลงไป หนังศีรษะก็ระคายเคืองมากบ้างน้อยบ้างและดูดซึมเอาสารเคมีพวกนี้ไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายคนคิดว่าจะเสี่ยงเฉพาะผิวหนังศีรษะอักเสบและมะเร็งของหนังศีรษะ แต่จากศึกษาของสหรัฐอเมริกาโดยศึกษาทบทวนรายงานทางการแพทย์จำนวน 79 รายงานทั่วโลกในปี 2548 พบว่าการใช้ยาย้อมผมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งระบบเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน 1.15 เท่า มะเร็งเต้านม 1.06 เท่าและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 1.01 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีย้อมผมก่อนปี 2523 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันองค์กรที่ดูแลด้านมะเร็งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศและสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังไม่มีบทสรุปยืนยัน…