รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งกับการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 18 มี.ค. 2554 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเรือนหมื่น นับเป็นโศกนาฏกรรมที่น่าเห็นใจชาวญี่ปุ่นยิ่งหนักที่ต้องประสบภัยธรรมชาติเช่นนี้ แต่ภัยพิบัติยังไม่หมดแค่นั้น ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือการระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงงานไฟฟ้า มีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี แม้ว่าทางการจะออกมายืนยันในช่วงแรกว่า สารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมานั้นมีปริมาณน้อยก็ตาม ก็ยังสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เคยรับรู้ประสบการณ์จากผลร้ายที่ตามมาหลังเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อ 66 ปีก่อนจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงถึงกว่า 2 แสนคน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้วงการแพทย์ได้เริ่มรู้จักมหันตภัยจากสารกัมมันตภาพรังสีมากยิ่งขึ้น ในบ้านเราแม้จะไม่เคยมีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรงก็ตาม แต่เหตุการณ์เมื่อต้นปี 2543 ที่มีคนเก็บของเก่าไปเปิดกระบอกลึกลับที่ภายในบรรจุสารกัมมันตภาพรังสีโคบอลท์ 60 ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนได้รับรังสีกันไปเต็มๆ มีผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว 3 ราย ส่วนที่เหลือก็พิการต้องถูกตัดนิ้วและตามมาด้วยสุขภาพที่ย่ำแย่ไปตามๆ กันผลร้ายที่ตามมาหลังการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี นอกจากความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน ซึ่งมักลงเอยด้วยการเสียชีวิต อันเนื่องมาจากการที่รังสีมีผลต่อไขกระดูก ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจหลอดเลือด และระบบประสาทส่วนกลาง ตามแต่ปริมาณของรังสีที่ได้รับแล้วนั้น ผลร้ายที่ตามมาแบบเรื่อยๆ…