ข่าวปลอม อย่าแชร์! สมุนไพรพิลังกาสา รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สมุนไพรพิลังกาสา รักษาโรคมะเร็งทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการให้ข้อมูลว่าสมุนไพรพิลังกาสา สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ยังไม่พบงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพิลังกาสาสามารถใช้เป็นรักษามะเร็งในมนุษย์ มีเพียงการวิจัยเพื่อตรวจหาสารประกอบที่สำคัญในผลหรือใบของพิลังกาสาและทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาระดับเซลล์ในห้องทดลองเท่านั้น ซึ่งพิลังกาสา ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารแอนโธไชยานิน สารฟีโนลิค ฟลาโวนอยด์ และในยอดอ่อนของพิลังกาสา พบสาร frieelin มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสาร rapanone สามารถต้านการเจริญของเชื้อโรคเรื้อน ในงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องทดลอง ทั้งนี้ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่พบงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพิลังกาสาสามารถใช้เป็นรักษามะเร็งในมนุษย์ มีเพียงการวิจัยเพื่อตรวจหาสารประกอบที่สำคัญในผลหรือใบของพิลังกาสาและทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาระดับเซลล์ในห้องทดลองเท่านั้น  หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! รักษาโรคมะเร็งตับ ด้วยสมุนไพรฉัตรพระอินทร์

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอประเด็นเรื่อง รักษาโรคมะเร็งตับ ด้วยสมุนไพรฉัตรพระอินทร์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคลิปวิดีโอที่ได้บอกสรรพคุณของสมุนไพรฉัตรพระอินทร์ว่า สามารถนำมารักษาโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่า การนำสารสกัดจากใบฉัตรพระอินทร์มาใช้ทดสอบฤทธ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งฉัตรพระอินทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Leonotis nepetifolia (L.) R.Br เป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคมาลาเรีย แก้แผลถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก แก้ไข้ โรคปวดข้อ เป็นยาระบาย ขับระดู แก้คัน กลากเกลื้อน ส่วนใบฉัตรพระอินทร์มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารฟลาโวนอยด์ สารฟีนอล และสารอิรีดอย์ส เป็นต้น ทั้งนี้สมุนไพรมีคุณประโยชน์แต่ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัช และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ…

ข่าวบิดเบือน 8 อันดับอาหาร หากบริโภคทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 8 อันดับอาหาร หากบริโภคทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูล 8 อันดับอาหารที่ทำให้ก่อมะเร็ง ได้แก่ ผงชูรส หมากฝรั่ง ตับหมู ผักดองและหัวไชเท้าแห้ง น้ำผลไม้บรรจุขวด ไข่เยี่ยวม้า เต้าหู้เหม็น และปาท่องโก๋ นั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่า การบริโภคอาหารดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยอาหาร 8 ชนิดดังกล่าว สามารถจัดกลุ่มได้ ดังนี้ กลุ่มอาหารประเภททั่วไป ได้แก่ ตับหมู และปาท่องโก๋ กลุ่มที่เกิดจากการหมักหรือถนอมอาหาร ได้แก่ ผักดองและหัวไชเท้าแห้ง ไข่เยี่ยวม้า เต้าหู้เหม็น และน้ำผลไม้บรรจุขวด และกลุ่มที่จำกัดการบริโภค คือ ผงชูรส และหมากฝรั่ง ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการยังไม่พบความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ แต่การรับประทานอาหารเหล่านี้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือมีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักดอง การรับประทานอาหารประเภททอดอาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน หรือการเคี้ยวหมากฝรั่งในปริมาณที่มากเป็นประจำ อาจทำให้ปวดท้องหรือส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารได้ จึงไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ แต่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สมุนไพรหนามแท่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สมุนไพรหนามแท่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากคำแนะนำผู้ป่วยโรคมะเร็งว่าให้ใช้สมุนไพรหนามแท่ง ในการรักษานั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าหนามแท่งหรือเชื้อราดังกล่าวสามารถสร้างสารที่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ มีเพียงการศึกษาเบื้องต้น ถึงชนิดของเชื้อราเอนโดไฟท์ที่เจริญเติบโตบนเนื้อเยื่อพืชที่มีชีวิต ซึ่งพบว่าราเอนโดไฟท์ Biporalis sp. Ctom 12 ที่แยกจากหนามแท่งสร้างสาร radicinin ที่มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง เช่น เซลล์มะเร็งท่อน้ำดี เซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปาก เซลล์มะเร็งปากมดลูก เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งปอด แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้นในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้นโดยหนามแท่ง หรือมะเค็ด (Catunaregam tomentosa (Blume ex DC.) Triveng.) เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ไกลโคไซด์ ซาโปนิน และแทนนิน จึงมีการนำลำต้น ใบ ผล และราก มาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาพื้นบ้าน ทั้งนี้การนำพืชสมุนไพรมาใช้เพื่อหวังผลทางการรักษา โดยไม่ทราบรายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาที่เหมาะสม หากผู้ป่วยมะเร็งต้องการใช้ยาสมุนไพรเสริมการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน…

ข่าวบิดเบือน ผู้หญิงที่ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มากขึ้น 60%

ตามที่ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ผู้หญิงที่ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มากขึ้น 60% ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าผู้หญิงที่ย้อมสีผมบ่อย จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าปกติ ถึง 60% โดยทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาย้อมสีผมเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งยาย้อมสีผมแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ แบบชั่วคราว แบบกึ่งถาวร และแบบถาวร โดยชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือแบบถาวรซึ่งยาย้อมผมชนิดนี้จะแทรกซึมเข้าไปในเส้นผม และคงอยู่อย่างถาวรจนกว่าผมใหม่จะงอกขึ้นมา โดยสารเคมีหลักที่พบในผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมแบบถาวรประกอบไปด้วยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารพาราฟินีลินไดอะมีน (PPD) ตะกั่วอะซิเตท แอมโมเนีย เป็นต้น การใช้ยาย้อมผมเป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มีอาการระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะ หน้าผาก หู ดวงตา และคอ มีผื่นคันหรือลมพิษทั่วร่างกาย หากมีอาการแพ้รุนแรงจะทำให้หายใจลำบากและหมดสติได้ นอกจากนี้ช่างทำผมยังเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่าผู้ที่ย้อมผมเนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมีที่มาจากน้ำยาต่าง ๆ เป็นประจำ และสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม เพราะในน้ำยาย้อมผมมีสารเคมีหลายชนิด อาจก่อให้เกิดอาการแพ้สารเคมีบริเวณผิวหนัง และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน สำหรับช่างทำผมควรสวมใส่ถุงมือและใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีขณะปฎิบัติงาน และควรมีระบบระบายอากาศที่ดีในร้านทำผม ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์…

ข่าวบิดเบือน ผักกาดขาวมักดูดซึมยาฆ่าแมลง เป็นเหตุทำให้คนไทยเป็นมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย

ตามที่มีการเตือนภัยด้านสุขภาพเรื่องผักกาดขาวมักดูดซึมยาฆ่าแมลง เป็นเหตุทำให้คนไทยเป็นมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน จากกรณีการทดลองชวนเชื่อโดยระบุว่าผักกาดขาวดูดน้ำแดง จนเป็นผักกาดแดง ถ้าดูดยาฆ่าแมลงจะเป็นผักกาดสวย ที่คนไทยชอบกิน เลยเป็นมะเร็งกันมากสุดในเอเซีย ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่ามีการบิดเบือนข้อความจากความเป็นจริง เนื่องจากคนไทยไม่ได้เป็นมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย ตามที่กล่าวอ้าง และผักกาดขาวดูดน้ำแดงตามที่เห็นเป็นเพียงการทดลองทางวิทยาศาตร์แสดงการดูดซึมน้ำผ่านระบบท่อลำเลียงของพืช โดยอาศัยผ่านแรงดันที่เกิดขึ้นภายใน แต่โดยทั่วไปการใช้ยาฆ่าแมลงส่วนใหญ่มักเป็นการฉีดพ่นสารเคมีเคลือบบนใบและต้นพืชเพื่อกำจัดแมลง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอาจพบสารเคมีตกค้างอยู่ในผักได้ ซึ่งการรับประทานผักที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : คนไทยไม่ได้เป็นมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย และการที่ผักดูดน้ำแดงตามที่เห็นก็เป็นเพียงการทดลองทางวิทยาศาตร์ แท้จริงการใช้ยาฆ่าแมลงส่วนใหญ่มักเป็นการฉีดพ่นสารเคมีเคลือบบนใบและต้นพืชเพื่อกำจัดแมลง จึงอาจมีการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในผักได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เสลดพังพอนตัวผู้ ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปประเด็นเรื่องเสลดพังพอนตัวผู้ ใช้รักษามะเร็งเต้านมได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีจากคำแนะนำว่าใบเสลดพังพอนตัวผู้บดหยาบสามารถนำมาใช้พอกที่แผลเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและจึงชี้แจงว่าใบเสลดพังพอนตัวผู้ไม่สามารถนำมาใช้รักษาแผลที่เกิดจากมะเร็งเต้านมได้ โดยเสลดพังพอน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เสลดพังพอนตัวเมีย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau) และเสลดพังพอนตัวผู้ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lupulina Lindl) ซึ่งก็จะให้ฤทธิ์ในการรักษาต่างกัน โดยเสลดพังพอนตัวเมียเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นยาสำหรับรักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง บรรเทาอาการของเริมและงูสวัด รักษาแผลในปาก บรรเทาอาการผด ผื่น คัน ลมพิษ สำหรับเสลดพังพอนตัวผู้ใช้บรรเทาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย สารสำคัญที่พบในใบและก้านของเสลดพังพอน ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารประกอบพวกอิริดอยด์ไกลโคไซด์ (iridoid glycosides) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัส ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร.…

สารอะฟลาท็อกซิน ในอาหารแห้งเป็นสารก่อมะเร็งตับ จริงหรือ ?

ตามที่มีข้อความปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสารอะฟลาท็อกซิน ในอาหารแห้งเป็นสารก่อมะเร็งตับ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง องค์การอนามัยโลก เปิดเผยรายงานว่าสารอะฟลาท็อกซิน เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยสารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตร หากเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง เป็นต้น สารอะฟลาท็อกซินเป็นอันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหารโดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสารดังกล่าวให้หมดไปได้ เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารพิษนั้นๆ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในแต่ละตัวบุคคลทั้งนี้ ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความสดใหม่ ลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง นอกจากนี้ขั้นตอนในการทำอาหารอาจช่วยลดปริมาณของอะฟลาทอกซินได้ เช่น การล้างและการปอกเปลือกคัดแยกส่วนที่ปนเปื้อนออก เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำสมุนไพรกระชายดำ ผสมไหลเผือก ช่วยรักษาอาการมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่ประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำสมุนไพรกระชายดำ ผสมไหลเผือก ช่วยรักษาอาการมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำเครื่องดื่มสมุนไพรกระชายดำ ผสมไหลเผือก โดยระบุว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนหรืองานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่ากระชายดำและไหลเผือกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ โดยกระชายดำ มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า เหง้ากระชายดำ ประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย สารกลุ่มฟลาโวน แอนโทไซยานิน และสารประกอบฟินอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ส่วนไหลเผือก หรือหางไหลเผือก มีสารออกฤทธิ์กลุ่ม ควาสสินอยด์ และไตรเทอร์พีนอยด์ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ นอกจากนี้ไหลเผือกยังถูกจัดอยู่ในบัญชียาสมุนไพร บัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มยาแก้ไข้ สมุนไพรมีคุณประโยชน์แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม การรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังในการรับประทานเป็นพิเศษ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนหรืองานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่ากระชายดำและไหลเผือกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ :…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ต้นหนอนตายหยาก รักษามะเร็งในมนุษย์ได้

ตามที่มีการเผยแพร่ประเด็นเรื่องต้นหนอนตายหยาก รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำเรื่องสุขภาพที่ระบุว่าสามารถใช้ต้นหนอนตายหยาก มารักษามะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหนอนตายหยากสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยหนอนตายหยาก เป็นพืชสมุนไพรในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และทางเกษตร ในประเทศไทยหนอนตายหยากมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาจมีสารออกฤทธิ์ที่มีสมบัติและปริมาณแตกต่างกัน โดยตามภูมิปัญญาพื้นบ้านนิยมนำรากของหนอนตายหยากมารับประทานเป็นยาสมุนไพร ซึ่งใช้ได้เป็นบางสายพันธุ์เท่านั้น และต้องผ่านกระบวนการทำลายพิษก่อน โดยสารสำคัญที่พบ คือ สารประกอบกลุ่มอัลคาลอยด์และสารประกอบกลุ่มโรทีนอยด์ สำหรับการใช้สารสกัดจากรากในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง แต่พบเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติเท่านั้น ทั้งนี้ การรับประทานสมุนไพรเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและสตรมีครรภ์ควรระมัดระวังในการรับประทานเป็นพิเศษ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหนอนตายหยากสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ พบเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติเท่านั้น หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข