ข่าวปลอม อย่าแชร์! เสลดพังพอนตัวผู้ ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านม

ตามที่มีการเผยแพร่คลิปประเด็นเรื่องเสลดพังพอนตัวผู้ ใช้รักษามะเร็งเต้านมได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีจากคำแนะนำว่าใบเสลดพังพอนตัวผู้บดหยาบสามารถนำมาใช้พอกที่แผลเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและจึงชี้แจงว่าใบเสลดพังพอนตัวผู้ไม่สามารถนำมาใช้รักษาแผลที่เกิดจากมะเร็งเต้านมได้ โดยเสลดพังพอน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เสลดพังพอนตัวเมีย (ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau) และเสลดพังพอนตัวผู้ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lupulina Lindl) ซึ่งก็จะให้ฤทธิ์ในการรักษาต่างกัน โดยเสลดพังพอนตัวเมียเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นยาสำหรับรักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง บรรเทาอาการของเริมและงูสวัด รักษาแผลในปาก บรรเทาอาการผด ผื่น คัน ลมพิษ สำหรับเสลดพังพอนตัวผู้ใช้บรรเทาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย สารสำคัญที่พบในใบและก้านของเสลดพังพอน ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารประกอบพวกอิริดอยด์ไกลโคไซด์ (iridoid glycosides) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัส ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร.…

สารอะฟลาท็อกซิน ในอาหารแห้งเป็นสารก่อมะเร็งตับ จริงหรือ ?

ตามที่มีข้อความปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสารอะฟลาท็อกซิน ในอาหารแห้งเป็นสารก่อมะเร็งตับ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง องค์การอนามัยโลก เปิดเผยรายงานว่าสารอะฟลาท็อกซิน เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยสารอะฟลาท็อกซินถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus มักพบปนเปื้อนผลผลิตทางการเกษตร หากเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง เป็นต้น สารอะฟลาท็อกซินเป็นอันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มอาหารโดยทั่วไปตามบ้านเรือนนั้น ไม่สามารถทำลายสารดังกล่าวให้หมดไปได้ เมื่อมีการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวในอาหารและร่างกายได้รับสารนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งความเป็นพิษที่ส่งผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคลจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารพิษนั้นๆ ความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย อายุ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในแต่ละตัวบุคคลทั้งนี้ ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความสดใหม่ ลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง นอกจากนี้ขั้นตอนในการทำอาหารอาจช่วยลดปริมาณของอะฟลาทอกซินได้ เช่น การล้างและการปอกเปลือกคัดแยกส่วนที่ปนเปื้อนออก เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th…