ข่าวบิดเบือน กินยาคุมฉุกเฉิน 2 ครั้ง/เดือน มีผลข้างเคียงกระตุ้นเซลล์มะเร็ง และกระทบต่อรังไข่ มดลูก

ตามที่ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กินยาคุมฉุกเฉิน 2 ครั้ง/เดือน มีผลข้างเคียงกระตุ้นเซลล์มะเร็ง และกระทบต่อรังไข่ มดลูก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน จากกรณีคำแนะนำเตือนเรื่องการกินยาคุม โดยระบุว่าที่มีการแชร์ข้อมูลว่าหากกินยาคุมฉุกเฉิน 2 ครั้งต่อเดือน จะทำให้มีผลข้างเคียงกระตุ้นเซลล์มะเร็ง และกระทบต่อรังไข่ มดลูกนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ชี้แจงถึงข้อเท็จจริงว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน จะมีผลต่อการกระตุ้นเซลล์มะเร็ง แต่หากร่างกายได้รับปริมาณฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลต่อฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ในร่างกายทำงานผิดปกติและมีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจมีผลข้างเคียงหลังจากรับประทานยาเข้าไป เช่น ปวดบริเวณช่องท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraception pill) ใช้รับประทานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งควรรับประทานยาทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบันยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นมีหลายชนิด โดยตัวยาที่สำคัญถูกสังเคราะห์เลียนแบบมาจากฮอร์โมน เช่น Levonorgestrel เป็นฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน (ที่สังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน) โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ ในบางรายหลังจากการรับประทานอาจมีอาการข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบริเวณช่องท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแนะนำให้ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำต้มใบและดอกมะละกอ ช่วยรักษามะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ดื่มน้ำต้มใบและดอกมะละกอ ช่วยรักษามะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการเผยแพร่วิธีการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการดื่มน้ำต้มจากส่วนใบ และดอกของละมะกอนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษา หรืองานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบและดอกมะละกอรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ซึ่งมะละกอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ และอุดมไปด้วยแหล่งอาหารที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม โฟเลต และเส้นใยอาหาร ในด้านการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งพบว่าสารสกัดจากใบและดอกมะละกอ อาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและยับยั้งเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด แต่งานวิจัยเหล่านี้เป็นเพียงการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองหรือในคน จึงยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษา หรืองานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบและดอกมะละกอรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

ไอเรื้อรัง สัญญาณเตือนมะเร็งปอด จริงหรือ?

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ไอเรื้อรัง สัญญาณเตือนมะเร็งปอด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง จากข้อมูลทางวิชาการที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบพบว่า อาการไอเรื้อรังนั้นเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนมะเร็งปอดจริง โดยมะเร็งปอดเกิดจากการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดมีการแพร่กระจายที่ควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปอาการของมะเร็งปอดมักปรากฏเมื่อเนื้อร้ายลุกลามไปมากแล้ว อาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งปอด เช่น ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด เหนื่อยหอบง่าย ปอดติดเชื้อบ่อย เป็นต้น สำหรับสาเหตุของมะเร็งปอดมาจากหลายปัจจัย เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควันบุหรี่มือสอง แร่ใยหิน ก๊าซเรดอน สารเคมีและมลภาวะทางอากาศ รวมถึงผู้ที่เคยมีรอยโรคที่ปอด เช่น วัณโรค โรคถุงลมโป่งพอง จะมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติดังกล่าวเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนคนไทยร่วมต้านภัยโรคมะเร็งเนื่องในวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ 10 ธันวาคม ด้วยการศึกษาสัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีหลีกเลี่ยงโรคมะเร็ง

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวในพิธิเปิดกิจกรรม 10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติว่า วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเป็นวันสถาปนาสถาบันมะเร็งแห่งชาติและวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันได้ว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนั้น เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ถ้ารู้เร็ว ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่า “ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีมะเร็งหลายอวัยวะที่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้เร็ว ซึ่งจากสถิติจะเห็นว่าร้อยละ 40 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ ดังนั้น จุดสำคัญอยู่ที่เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนรู้เร็ว และสามารถเข้าสู่การรักษาได้เร็ว เราก็จะรักษาชีวิตคนไข้ได้ถึง 40 เปอร์เซนต์ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่อาจเสียชีวิตได้…” “สิ่งสำคัญอยู่ที่ประชาชนตระหนักรู้ว่าอะไรคือความเสี่ยง อะไรคืออาการเริ่มแรกที่ควรจะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนั้น การรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนัก มีความรู้เรื่องของปัจจัยเสี่ยง เรื่องของอาการแรกเริ่ม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมคิดว่าสำคัญยิ่งกว่าการตั้งรับเพื่อรอให้การรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลด้วยซ้ำไป…” โดยสัญญาณเตือนการเกิดโรค 7 ประการ ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เป็นแผลเรื้อรัง ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลืนกินอาหารลำบาก ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยืนยันว่า Ice Bathing ไม่ใช่วิธีรักษามะเร็ง และอาจมีอันตรายถึงชีวิตหากมีโรคประจำตัว

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนายการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ Ice Bathing ที่อ้างว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้ายให้ดีขึ้นได้ ว่ายังไม่มีขัอมูลทางการแพทย์ยืนยัน แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใช้ความเย็น แต่เครื่องมือดังกล่าวต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมคือต้องติดลบหลายองศา และ ใช้ความเย็นจัดเฉพาะที่ตัวก้อนมะเร็งด้วยเครื่องมือพิเศษโดยแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง ส่วนการลงแช่ในน้ำแข็งทั้งตัวนั้นยังไม่มีการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาหรือชะลอโรคมะเร็งได้ ที่สำคัญอาจก่ออันตรายต่อสุขภาพ เพราะคนไข้มะเร็งส่วนใหญ่มักจะอายุมากและร่างกายไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิม ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจหรือโรคปอดร่วมด้วย ก็ยิ่งอันตรายเพิ่มขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิร่างกายที่รวดเร็ว จากอุณหภูมิปกติไปสู่อุณภูมิที่เย็นจัด อาจจะไปกระตุ้นให้โรคหัวใจหรือปอดกำเริบรุนแรง ที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินแล้วนอน ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง กินแล้วนอน ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่าหากกินแล้วนอน บ่อยๆ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือดนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นข้อมูลและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกินแล้วนอนเสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือด ซึ่งพฤติกรรมกินแล้วนอน เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางอกและอาการกรดไหลย้อน ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่หูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter – LES) ทำงานผิดปกติทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในบริเวณหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียงได้ นอกจากนี้พฤติกรรมกินแล้วนอนอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน เป็นต้น จึงควรปรับพฤติกรรมโดยเว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารและการนอนให้ห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : พฤติกรรมกินแล้วนอน เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกินแล้วนอนเสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือดได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! รอยจุดสีน้ำตาลที่พบบนเนื้อกระเทียม คือเชื้อราที่มีพิษ และเป็นสารก่อมะเร็ง

ตามที่ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง รอยจุดสีน้ำตาลที่พบบนเนื้อกระเทียม คือเชื้อราที่มีพิษ และเป็นสารก่อมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่ารอยจุดสีน้ำตาลที่พบบนเนื้อกระเทียม คือเชื้อรา ซึ่งส่วนใหญ่เชื้อราพวกนี้เป็นเชื้อราที่มีพิษหรือสารก่อมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า จุดสีน้ำตาลบนเนื้อกระเทียมอาจเกิดจากรอยช้ำของกระเทียมส่งผลให้เชื้อราหลากหลายชนิดอาจปนเปื้อนหรือเข้าไปเจริญอยู่ในบริเวณรอยช้ำนั้นๆ โดยมักพบในกระเทียมที่มีการเก็บรักษาไม่เหมาะสมหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน ตามที่มีข้อกังวลว่าเชื้อราที่อยู่บนกระเทียมอาจสร้างสารพิษหรือสารก่อมะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย พบว่า เชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus เป็นเชื้อราที่สามารถสร้างสารอะฟลาทอกซินซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าพบสารอะฟลาทอกซินบริเวณรอยจุดสีน้ำตาลบนกระเทียม จึงแนะนำให้ควรเลือกซื้อกระเทียมที่สดใหม่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ไม่มีลักษณะของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อรา การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่แห้งไม่อับชื้นและไม่เก็บไว้นานเกินไป หากพบรอยจุดสีน้ำตาลบนกระเทียมควรทิ้งไปทั้งกลีบหรืออาจหั่นบริเวณนั้นทิ้งและควรรับประทานกระเทียมที่ปรุงสุกเพื่อลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ งนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รอยจุดสีน้ำตาลบนเนื้อกระเทียมคือรอยช้ำ จึงส่งผลให้เชื้อราหรือจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ปนเปื้อนหรือเข้าไปเจริญอยู่ในบริเวณรอยช้ำนั้น ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุว่ารอยจุดสีน้ำตาลบนเนื้อกระเทียมนี้มีสารก่อมะเร็ง หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วางโทรศัพท์ติดตัวโดยไม่ปิดอินเทอร์เน็ต มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ในไม่ช้า

  ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนโรคภัย ประเด็นเรื่อง วางโทรศัพท์ติดตัวโดยไม่ปิดอินเทอร์เน็ต มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ในไม่ช้า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ระบุว่า คลื่นความถี่โทรศัพท์และคลื่นไวไฟเน็ตแรงมาก วางโทรศัพท์ไว้ติดตัวโดยไม่ปิดเน็ต มีโอกาสเป็นมะเร็งในเวลาไม่นาน ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงข้อมูลประเด็นดังกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ โทรศัพท์มือถือนั้น จะมีการปล่อยคลื่นวิทยุออกมา ซึ่งได้แก่ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยสัญญาณเหล่านี้เป็นคลื่นวิทยุที่ให้ระดับของพลังงานน้อย จึงไม่เกิดผลกระทบต่อร่างกายร้ายแรง แม้ว่าคลื่นวิทยุที่ปล่อยออกมาจะสามารถทำให้เกิดความร้อนของเครื่องได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าสัญญาณเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งผลกระทบในระยะยาวยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยหาความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งต่อไปในอนาคต สำหรับผู้ที่ยังมีความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อร่างกาย สามารถป้องกันและลดการสัมผัสคลื่นวิทยุได้โดยการลดการใช้โทรศัพท์มือถือแนบใบหูเป็นระยะเวลานาน อาจเลือกใช้อุปกรณ์เสริม ได้แก่ สายหูฟัง การเปิดลำโพง เพื่อให้โทรศัพท์มือถืออยู่ห่างจากศีรษะในขณะใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th) หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือ ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งผลกระทบในระยะยาวยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยหาความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งต่อไปในอนาคต  หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ…

บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า  ภัยร้ายทำลายสุขภาพ ส่วนประกอบในบุหรี่ไฟฟ้า มี สารนิโคติน เป็นสารที่ทำให้ส่งผลต่อการประตุ้นประสาท เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงเป็นตัวการในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย สารโพรไพลีนไกลคอล สารกลีเซอรีน และ สารแต่งกลิ่นรส เมื่อสูดดมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และปอดได้ หยุดสูบ… หยุดทำลายสุขภาพ #สถาบันมะเร็งแห่งชาติ #กรมการแพทย์