มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ปัจจุบันประเทศไทยพบมะเร็งตับ 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ปีละ 122,757 ราย มะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย (ปี 2558) พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับโดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สาเหตุของมะเร็งตับเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ฯลฯ นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซีก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ ทั้งนี้อาการของมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง เมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในสื่อออนไลน์ ว่าเมล็ดต้นงิ้วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าเมล็ดต้นงิ้วสามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ โดยต้นงิ้ว (Bombax ceiba L.) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนี่ง จากการสืบค้นข้อมูลมีเพียงงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นงิ้ว เช่น ใบ ราก ดอก และเมล็ด มาทดสอบหาสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงรายงานวิจัยเบื้องต้นและมีจำนวนน้อยมาก ขณะเดียวกันปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาวิจัยที่ใช้เมล็ดต้นงิ้วรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาวิจัยที่ใช้เมล็ดต้นงิ้วรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ทองพันชั่ง อังกาบหนู สามารถรักษาโรคมะเร็งผิวหนังได้

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง ทองพันชั่ง อังกาบหนู สามารถรักษาโรคมะเร็งผิวหนังได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ว่าทองพันชั่ง และอังกาบหนูสามารถรักษาโรคมะเร็งทางผิวหนังได้ ทั้งโรคมะเร็งภายนอกและภายใน และโรคมะเร็งแผลเรื้อรัง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่าจากการสืบค้นข้อมูล ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าทองพันชั่ง และอังกาบหนูสามารถรักษาโรคมะเร็งผิวหนังในมนุษย์ได้ โดยทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus Kurz) และอังกาบหนู (Barleria prionitis L.) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีสรรพคุณหลายด้าน เช่น ลดไข้ ลดอาการกลาก เกลื้อนและผื่นคัน แต่ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยยืนยันแน่ชัดว่าทองพันชั่ง และอังกาบหนูสามารถรักษาโรคมะเร็งผิวหนังได้ อีกทั้งเน้นย้ำว่าสมุนไพรมีคุณประโยชน์แต่ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ชนิดของสมุนไพร ฤทธิ์ทางเภสัช และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณา หรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…