ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะละกอช่วยให้เนื้องอกหดตัว

ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเรื่องมะละกอช่วยให้เนื้องอกหดตัว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อโดยระบุว่ามะละกอช่วยให้เนื้องอกหดตัว ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารสกัดมะละกอเข้มข้นช่วยลดขนาดของเนื้องอกในมนุษย์ได้ ซึ่งมะละกอ (Carica papaya) เป็นผลไม้ที่นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร รวมถึงยาแผนโบราณต่าง ๆ โดยปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารสกัดมะละกอต้านมะเร็งมีเพียงงานวิจัยในหลอดทดลองเท่านั้นและมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน ดังนั้นจากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดมะละกอช่วยลดขนาดของเนื้องอกในมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารหรือสมุนไพรเพื่อหวังผลในการรักษานั้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ รวมถึงอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th) หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารสกัดมะละกอเข้มข้นช่วยลดขนาดของเนื้องอกในมนุษย์ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าออกกำลังกายหนัก อาจทำให้มะเร็งโตขึ้น การออกกำลังกายถือเป็นการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้นควรเลือกวิธีการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมตามสภาวะและความพร้อมของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งในแง่ของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษามวลกล้ามเนื้อ ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา และลดความเครียด ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการกด กระแทกข้อต่อต่าง ๆ ผู้ป่วยมะเร็งควรเลือกวิธีการออกกำลังกายตามความเหมาะสมผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฉายแสง ควรงดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษารวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายเพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าออกกำลังกายหนัก อาจทำให้มะเร็งโตขึ้น

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก

  ตามที่มีการแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีข้อมูลระบุว่าหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปากได้ ซึ่งการเคี้ยวหมากพลูเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของสังคมไทยในอดีต โดยมีความเชื่อว่าการเคี้ยวหมากพลูนั้นจะทำให้สุขภาพช่องปากจะดี ฟันแน่น ไม่มีกลิ่นปาก อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหมากพลูต้านมะเร็งในมนุษย์นั้น พบว่าผลหมากมีสารจำพวกอัลคาลอยด์ (alkaloid) ประกอบด้วยอาเรเคน (arecaine) และอาเรโคลีน (arecoline) ซึ่งเป็นสารเสพติดอย่างอ่อน กระตุ้นประสาทส่วนกลาง การบริโภคหมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก นอกจากนี้องค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ (The International Agency for Research on Cancer ; IARC) กำหนดให้หมากพลูที่ผสมใบยาสูบและไม่ผสมใบยาสูบเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 คือ เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/หรือสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th)หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…

สารเซซามินจากงาดำช่วยทำลายเกราะเซลล์มะเร็ง โดยให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายตัวเซลล์มะเร็งได้ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสารเซซามินจากงาดำช่วยทำลายเกราะเซลล์มะเร็ง โดยให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายตัวเซลล์มะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง ข้อมูลงานวิจัยด้านการใช้สารสกัดเซซามินในการทำลายเซลล์มะเร็งนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารดังกล่าวส่งผลในการทำลายเซลล์มะเร็งในมนุษย์ โดยเซซามิน (Sesamin) เป็นสารสำคัญที่พบได้จากงาดำ จัดอยู่ในกลุ่มสารลิกแนนที่สามารถละลายได้ในไขมัน ซึ่งข้อมูลการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเซซามินในด้านที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง พบว่าสารนี้ทำให้เกิดกลไกการยับยั้งการเจริญและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวิจัยในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น และปัจจุบันยังไม่พบรายงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดถึงประสิทธิภาพของสารเซซามินในการทำลายเซลล์มะเร็งที่ศึกษาในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th) หรือโทร. 02 2026800

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องหากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าหากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อมูลว่าอายุที่มากขึ้นและมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าความเครียด และทำงานหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ความเครียด คือ การตอบสนองของร่างกายต่อสภาวะกดดันทางกาย จิตใจ และอารมณ์ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าความเครียดอาจเกี่ยวข้องกับการขยายขนาดและแพร่กระจายของมะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามความเครียดไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ความเครียดอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น  ความเครียดส่งผลกระทบหลายด้าน ดังนั้นควรหาวิธีผ่อนคลายจากภาวะเครียด เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมที่ชอบ นั่งสมาธิ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะออกยาก ปัสสาวะไม่สุด เป็นต้น ควรรีบพบแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…