ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ป่วยโรคมะเร็งห้ามรับประทานปลา เพราะโปรตีนจากปลาทำให้เกิดการอักเสบระดับเซลล์

ข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าเป็นข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ยืนยันแน่ชัดว่าโปรตีนจากปลาทำให้เกิดการอักเสบระดับเซลล์ และไม่มีข้อห้ามในการรับประทานปลาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผลกระทบ : ปลาถือเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย และไขมันต่ำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการโปรตีนสูงกว่าคนปกติ ซึ่งโปรตีนถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกายช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรง ไม่อ่อนเพลีย และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย การจำกัดปริมาณโปรตีนหรือการรับประทานอาหารแบบผิดวิธีตามความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยและอาจกระทบต่อการวางแผนการรักษา ข้อแนะนำ : ผู้ป่วยมะเร็งควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อร่างกายตามอายุ กิจกรรม และระดับความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันน้ำหนักลด การสูญเสียกล้ามเนื้อ และไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีสุขภาพที่แข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทางโรงพยาบาลจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการคอยให้คำปรึกษากับผู้ป่วยอยู่แล้ว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือhttp://www.nci.go.th/ หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! คลื่นแผ่จากเสาส่งโทรศัพท์มือถือและคลื่นไวไฟ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการก่อมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าคลื่นแผ่จากเสาส่งโทรศัพท์มือถือและคลื่นไวไฟ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการก่อมะเร็ง ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม ผลกระทบ : คลื่นจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุหรือเรียกสั้น ๆ ว่า “คลื่นวิทยุ” มีความถี่อยู่ในช่วงระหว่าง 3 กิโลเฮิรตซ์ จนถึง 300 กิกะเฮิรตซ์ ส่วนคลื่นไวไฟ (WiFi) เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุเช่นเดียวกัน จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของคลื่นวิทยุที่ส่งออกมาจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจากสถานีฐานในระยะ 400 เมตร พบว่ามีระดับความแรงตํ่ามากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในมาตรฐานความปลอดภัยสากล และนอกจากนี้ยังไม่พบงานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่าคลื่นวิทยุเหล่านี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นจากการเผยแพร่ข้อมูลว่าคลื่นแผ่จากเสาส่งโทรศัพท์มือถือและคลื่นไวไฟ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการก่อมะเร็งนั้น ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่าการสัมผัสคลื่นวิทยุในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ ข้อแนะนำ : สำหรับความกังวลถึงผลกระทบของคลื่นวิทยุต่อสุขภาพนั้น พบว่าการใช้โทรศัพท์แนบหูต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกร้อนที่ใบหู การหลีกเลี่ยงคลื่นวิทยุจากโทรศัพท์มือถือ อาจทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ Hand free เช่น เปิดลำโพง ใช้หูฟัง เป็นต้น ในกรณีเด็กที่ใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอเป็นประจำมักมีอาการแสบหรือปวดตา สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน และอาจก่อให้เกิดอาการของโรคสมาธิสั้นเทียม (Pseudo-ADHD) ได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอมดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง…