ข่าวปลอม อย่าแชร์! เคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีคลิปวิดีโอแนะนำข้อมูลสุขภาพโดยระบุว่าเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากข้อมูลวิชาการ ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานเมล็ดมะละกอสุกช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในคนได้ อย่างไรก็ตาม เมล็ดมะละกอประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น กรดไขมัน โปรตีน และใยอาหาร เป็นต้น เมล็ดมะละกอถูกนำมาใช้ปรุงอาหารหรือทำเป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญหาพื้นบ้านในบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่พบสารสำคัญของเมล็ดมะละกอ เช่น สารเบนซิลกลูโคซิโนเลต (benzyl glucosinolate) ซึ่งจะถูกไฮโดรไลท์ไปเป็นสารเบนซิลไอโซไทโอไซยาเนท (benzyl Isothiocyanate) ที่มีผลการศึกษาว่าสามารถช่วยยับยั้งการแบ่งตัวเซลล์มะเร็ง แต่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เป็นเพียงการศึกษาที่อยู่ในระดับหลอดทดลองเท่านั้น และยังไม่มีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก ช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง

  ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอตามสื่อออนไลน์ เรื่อง ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก ช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จกรณีคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ให้ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก เพื่อหวังผลในการรักษามะเร็งก้านสมองนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าพืชผักดังกล่าวไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เนื่องจากอาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพรอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารโมโนเทอร์ปีน ไทรเทอร์ปีนส์ ฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าพืชผักดังกล่าวช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง และมะเร็งต่อมไทรอยด์ในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำมายืนยันได้ว่าใบบัวบก ผักชีลาว คึ่นฉ่าย และมะระขี้นกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

ตามที่มีกระแสข่าวตามสื่อออนไลน์ เรื่อง ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าสะเดาดำสามารถนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยต้นสะเดาดำ สามารถนำยอดและดอกมารับประทานได้เหมือนกับยอดสะเดาเขียวทั่วไป แต่พืชสะเดาดำนอกจากจะเป็นอาหารได้แล้วยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ได้แก่ ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสารสำคัญที่พบมากในสะเดาดำ คือ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีบทบาทในการช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ในด้านการรักษาโรคไม่พบหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ อีกทั้งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการแนะนำข้อมูลสุขภาพในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องมังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแชร์สรรพคุณของมังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สืบค้นข้อมูลทางวิชาการและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ มังคุด (mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangostana Linn สรรพคุณของมังคุดตามตำรับยาไทยส่วนใหญ่ใช้แก้ท้องเสียและสมานแผล จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าเปลือกมังคุดมีสารแซนโทน ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่พบหลักฐานงานวิจัยทางคลินิก การเผยแพร่ข้อมูลว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็ง จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามังคุดที่ผ่านการนึ่งแล้วนั้น สารแซนโทนที่อยู่ในเปลือกมังคุดไม่ได้ซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อมังคุดแต่อย่างใด ดังนั้นการรับประทานมังคุดนึ่งไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลกระเบา ช่วยรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง ผลกระเบา ช่วยรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการระบุสรรพคุณของกระเบาว่า สามารถแก้เสมหะเป็นพิษ รักษามะเร็งได้นั้น ทางทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สืบค้นข้อมูลทางวิชาการและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งกระเบา (Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness) เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาพื้นบ้าน จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการพบว่าพืชตระกูล Hydnocarpus มีประมาณ 40 สายพันธุ์ โดยพืชในตระกูลนี้มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น flavonoids และ flavonolignans ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านมะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้นและเป็นการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ จึงไม่ควรนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่อาจส่งผลทำให้ประชาชนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใบทุเรียนเทศ! สามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้

ตามที่มีข่าวปรากฏตามสื่อ เกี่ยวกับประเด็น ใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีข่าวปรากฏตามสื่อเรื่อง ใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ โดยระบุว่า การนำใบทุเรียนเทศมาต้มเป็นชาแล้วรับประทาน จะช่วยในการฆ่าเซลมะเร็ง ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งแม้ว่าจะมีรายงานวิจัยส่วนหนึ่งที่ระบุว่าใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่ายาเคมีบำบัดนั้น แต่ข้อมูลนี้เป็นเพียงงานวิจัยในระดับเซลล์ และสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งใบทุเรียนเทศมีสารบางชนิดที่มีฤทธิ์เป็นยาระงับปวด สามารถต้านการอักเสบ และต้านการเกิดเนื้องอก ทั้งนี้การศึกษาวิจัยในคนมีความสำคัญ และจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศวางจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปแปบ แคปซูลหรือชาชง ผู้บริโภคควรศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับกับประเด็นเรื่องสมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรขันทองพยาบาท ว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ชี้แจงว่า หลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการแล้วพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง และไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ สำหรับสมุนไพรขันทองพยาบาท (Suregada multiflora) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น และจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ http://www.nci.go.th/ หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผักปลาบ หญ้าปักกิ่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ผักปลาบ หญ้าปักกิ่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากมีการเผยแพร่ข้อมูลสมุนไพรผักปลาบ และหญ้าปักกิ่ง ว่าเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ โดยผักปลาบ และหญ้าปักกิ่งเป็นพืชสมุนไพรไทย ใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาพื้นบ้าน สมุนไพรเหล่านี้มีสารสำคัญที่ชื่อว่า glycosphingolipid และ phytosteryl glucoside ผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่า ผักปลาบ และหญ้าปักกิ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สมุนไพรผักปลาบ และหญ้าปักกิ่ง ไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ แม้จะมีผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัด หน่วยงานที่ตรวจสอบ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เอื้องหมายนา สุดยอดสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์คลิปวิดีโอในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง เอื้องหมายนา สุดยอดสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่เนื้อหาว่า เอื้องหมายนา เป็นสุดยอดสมุนไพรใช้รักษาโรคมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเอื้องหมายนาสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ โดยเอื้องหมายนา (Costus speciosus หรือ Cheilocostus speciosus) มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ และซาโปนิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลวิชาการด้านการรักษาโรคมะเร็งมีจำนวนน้อยมาก และยังไม่มีข้อสรุปว่าเอื้องหมายนาสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งการศึกษาวิจัยในคนถือได้ว่ามีความสำคัญ และจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยา และความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร

ตามที่มีการโพสต์ชวนเชื่อ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์ชวนเชื่อเรื่อง เล่นมือถือในที่มืดนาน ทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร โดยระบุว่า “คนไข้คนนี้เล่นมือถือแบบไม่ยอมหยุดพักบ้างและชอบเล่นในห้องที่มืด จนเลือดนัยตาไหลซึมออกมา คุณหมอบอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งตาเหรืออาจจะตาบอดถาวร” ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตาแต่อย่างใด โดยผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์นานๆ จะมีการใช้สายตาเพ่งหน้าจอตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการตาล้า หรือตาแห้ง ตาแดงเนื่องจากมีการกระพริบตาที่น้อยลงอาจทำให้เกิดอาการเคืองตาได้ง่าย ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตา ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความผิดปกติของเม็ดสีเมลานินในดวงตา หรือเกิดจากความผิดปกติของยีน เป็นต้น สำหรับคนไทยโรคมะเร็งตาในผู้ใหญ่พบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม สามารถพบได้ในเด็กและมักมีอายุต่ำกว่า 5 ปี คือ โรคมะเร็งจอประสาทตา ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ก็เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยเช่นกัน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ http://www.nci.go.th/th/index1.html หรือ โทร 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข