ข่าวปลอม อย่าแชร์! กระเทียมโทน สามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ถึงประเด็นเรื่อง กระเทียมโทน สามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีการเผยแพร่สรรพคุณของกระเทียมโทน ที่ระบุว่าสามารถฆ่าเชื้อ และรักษาเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ากระเทียมโทนสามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยกระเทียมโทน (Single Bulb form of Elephant Garlic) เป็นพืชสมุนไพรมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium ampeloprasum var. ampeloprasum เป็นกระเทียมพันธุ์ที่มีหัวเดียว ไม่มีกลีบ กลิ่นฉุนน้อย นิยมนำมาทำเป็นกระเทียมดองเพื่อรับประทาน โดยกระเทียมมีสรรพคุณทางยา คือ เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟื้อ ขับเสมหะ ลดไขมัน เป็นต้น ซึ่งการศึกษาด้านเภสัชวิทยาพบสารที่สำคัญ ได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสารประเภทกำมะถัน (Organosulfur) คือ สาร allicin สาร ajoene และ สาร diallyl disulfide (DADs) มีฤทธิ์ต้านการอับเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรีย…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพในสื่อโซเชียลเรื่องดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์คลิปเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า ดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษามะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการพบว่า ย่านาง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารกลุ่มฟีนอลิกส์ (phenolic compound) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลงานวิจัยที่ศึกษาในด้านการรักษาโรคมะเร็งนั้น ยังคงเป็นเพียงการศึกษาระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการและยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบย่านางสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ จึงควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณทางยาและการรับประทานสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสม หมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรขอคำแนะนำจากแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กระเทียมดำ มีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็งในคนได้

ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็น กระเทียมดำ มีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็งในคนได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความเรื่อง กระเทียมดำ มีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็งในคนได้ โดยระบุว่า ไม่มีอะไรดีเท่า สร้างภูมิต้านทานร่างกายแข็งแรง ช่วยป้องกันมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดจากการศึกษาวิจัย ที่ระบุว่ากระเทียมดำสามารถป้องกันโรคหรือปริมาณรับประทานที่สามารถป้องกันมะเร็งในคนได้ ทั้งนี้กระเทียมดำ (Black Garlic) หมายถึง กระเทียมสด (Allium sativum L.) ที่ผ่านกระบวนการหมักบ่ม (fermentation) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้กระเทียมเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเนื้อสัมผัส กลิ่นรส และสารสำคัญในกระเทียมเปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาพบว่ากระเทียมดำมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอลซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการหรือในสัตว์ทดลองเท่านั้น และควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์กระเทียมดำที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันการได้รับสารปนเปื้อนอื่น ๆ การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! 3 วิธีรักษาโรคมะเร็งด้วยตนเอง

ตามที่มีข้อความแนะนำ เรื่อง 3 วิธีรักษาโรคมะเร็งด้วยตนเอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีคำแนะนำวิธีรักษามะเร็งด้วยตนเอง 3 วิธี ได้แก่ การหายใจเข้าลึกๆ การทำจิตใจไม่ให้เครียด และการงดรับประทานอาหารที่เป็นกรด ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการแล้ว และได้ชี้แจงว่า ทั้ง 3 วิธีข้างต้นที่บทความอ้างอิง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งทำได้ด้วยการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ที่ถือเป็นวิธีมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ ส่วนการหายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้ได้ออกซิเจนปริมาณมาก การทำจิตใจไม่ให้เครียด การงดบริโภคอาหารที่เป็นกรด และให้บริโภคอาหารที่เป็นด่างนั้น ยังไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยที่ยืนยันว่ามีส่วนในการรักษาโรคมะเร็ง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : วิธีการหายใจเข้าลึกๆ การทำจิตใจไม่ให้เครียด และการงดรับประทานอาหารที่เป็นกรด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งทำได้ด้วยการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี เท่านั้น หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผักคาวทองรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็น ผักคาวทองรักษาโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าผักคาวทองไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ผักคาวทอง (Houttuynia cordata) เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดโดยเฉพาะสารประกอบในกลุ่มโพลีฟีนอล เช่น ฟลาโวนอยด์ คลอโรจินิกแอซิด และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ จากข้อมูลวิชาการ พบว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผักคาวทองสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพรแม้จะมีคุณประโยชน์ แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลผักคาวทองรักษาโรคมะเร็ง และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะระร้อนมีผลต่อซีสต์และเนื้องอกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิด

  ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็น น้ำมะระร้อน มีผลต่อซีสต์และเนื้องอก สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ทุกชนิด ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ มะระขี้นก (Momordica charantia L.) เป็นพืชผักสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน มีรายงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่ามะระขี้นกมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนช่วยต้านเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำมะระขี้นกร้อนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมารักษาโรคมะเร็งได้ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ อาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพรแม้จะมีคุณประโยชน์แต่การรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ: การดื่มน้ำมะระต้มร้อนไม่สามารถรักษามะเร็งได้   .post-thumbnail{display:none;}

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หญ้าลิ้นงูช่วยยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

ตามที่มีการโพสต์ข้อความ เกี่ยวกับประเด็น หญ้าลิ้นงูช่วยยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่าหญ้าลิ้นงูสามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ และรักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าลิ้นงูสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ และไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่รายงานว่าสารสกัดหญ้าลิ้นงูมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง แต่การศึกษาเรื่องนี้มีจำนวนน้อยมากอีกทั้งยังเป็นเพียงการศึกษาระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานหญ้าลิ้นงูเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเนื่องจากต้องรอผลการวิจัยทางคลินิกที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจนรองรับในอนาคตก่อน และควรศึกษารายละเอียดของสมุนไพร นำมาใช้ในประมาณที่เหมาะสม และนำมาใช้อย่างถูกวิธี หมั่นสังเกตอาการข้างเคียง หรือฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร การรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าลิ้นงูสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สูตรยารักษาแผลมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่ประเด็นเรื่อง สูตรยารักษาแผลมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำสูตรรักษาแผลมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วย ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ทองพันชั่ง เหงือกปลาหมอ ขันทองพยาบาท หัวร้อยรู กำแพงเก้าชั้น และฝาง จากการตรวจสอบข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สูตรยานี้ไม่สามารถนำมารักษาแผลมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากสมุนไพรข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ทองพันชั่ง เหงือกปลาหมอ ขันทองพยาบาท หัวร้อยรู กำแพงเก้าชั้น และฝาง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารฟีนอลิกส์ สารฟลาโวนอยด์ สารซาโปนิน วิตามินซี เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลวิชาการที่ยืนยันชัดเจนว่าสมุนไพรดังกล่าวสามารถนำมารักษาแผลมะเร็งในมนุษย์ได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งที่เป็นวิธีมาตรฐาน และได้รับการยอมรับมี 3 วิธี หลัก ๆ ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สบู่แดงรักษาโรคมะเร็ง และแผลติดเชื้อเรื้อรัง

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง สบู่แดงแก้มะเร็ง และแผลติดเชื้อเรื้อรัง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคลิปวิดีโอที่มีการให้ข้อมูลของสมุนไพรสบู่แดง ว่าสามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง และแผลติดเชื้อเรื้อรังให้หายได้ โดยทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ระบุว่าสบู่แดงสามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ แม้จะมีการพบสารประกอบสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอยู่ในกลุ่มอัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ฟีโนลิก ซาโปนิน และเทอร์พีนอยด์ ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะนำมารักษามะเร็งในมนุษย์ได้ซึ่งสบู่แดง (Jatropha gossypifolia L.) หรือละหุ่งแดง บางพื้นที่เรียกว่าสบู่เลือด (อาจจะทำให้สับสนกับพืชอีกชนิดหนึ่ง คือ Stephania pierrei Diels ซึ่งถูกเรียกเป็นชื่อภาษาไทยว่าสบู่เลือดเช่นกัน) สบู่แดงเป็นไม้พุ่ม ใบอ่อนมีสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลแดง มักมีการนำใบ ลำต้น ราก และเมล็ด มาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาพื้นบ้าน แต่การนำพืชสมุนไพรมาใช้เพื่อหวังผลทางการรักษา โดยไม่ทราบรายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาที่เหมาะสม ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ป่วยมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/…