ข่าวปลอม อย่าแชร์! โปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว  เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง

    ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็ง โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าโปรตีนจากอกไก่ปั่นไข่ขาว เป็นอาหารเลี้ยงเซลล์มะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าอกไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ให้พลังงานสูงและอุดมไปด้วยโปรตีนจำนวนมาก มีไขมันน้อย ส่วนไข่ขาวจัดเป็นโปรตีนคุณภาพดีมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งการรับประทานโปรตีนเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนนั้น ร่างกายจะไปสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทนทำให้ร่างกายทรุดโทรม ขาดสารอาหาร นอกจากนี้การขาดโปรตีนในผู้ป่วยมะเร็งจะมีผลให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำซึ่งมีผลกระทบต่อการรักษา ดังนั้นการรับประทานอกไก่และไข่ขาว ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ น้ำอัดลม คือ เครื่องดื่มที่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเพื่อให้มีความซ่า ในน้ำอัดลมประกอบด้วยน้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก สารแต่งสีและกลิ่น โดยน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ในน้ำอัดลม 1 กระป๋อง (ขนาด 325 ซีซี) มีปริมาณน้ำตาล 8-12 ช้อนชา องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาหรือประมาณ 24 กรัม ซึ่งการบริโภคน้ำอัดลมร่วมกับอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูงจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการในแต่ละวัน อาจก่อให้เกินปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก ที่มีอยู่ในน้ำอัดลมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ฟันผุ และกระดูกพรุนได้ อย่างไรก็ตามจากการเผยแพร่ข้อมูลว่าดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็งได้นั้น ปัจจุบันไม่พบงานวิจัยที่รายงานความเชื่อมโยงของการดื่มน้ำอัดลมกับการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ น้ำอัดลมมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ มีแคลอรี่สูง รวมทั้งมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังนั้นผู้บริโภคควรลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หากสัมผัสโดนสารกันบูดในปลาทูนึ่งจะเป็นมะเร็งผิวหนัง

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังในมนุษย์ได้ สารกันบูดเป็นสารที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวอย่างของสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก พาราเบนส์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ เป็นต้น สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้จะผ่านการประเมินความปลอดภัยและมีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการการสุ่มตรวจหรือสำรวจปริมาณการตกค้างของสารเหล่านี้ให้อยู่ในค่าไม่เกินมาตรฐาน จากกรณีที่เป็นข่าวว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูทำให้เป็นมะเร็งที่มือนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตปลาทูนึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอยู่แล้วซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพปลาทูไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด อย่างไรก็ตามหากมีแผลที่มือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ เพราะจะทำให้การหายของแผลช้าลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกซื้อปลาทูนึ่งจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ และก่อนรับประทานควรนำมาผ่านความร้อนทุกครั้ง ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะเร็งเทอร์โบ พบในคนอายุน้อยที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว

  ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันแน่ชัดว่าวัคซีนโควิด-19 เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ ข้อสรุป : ข่าวปลอม วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นวัคซีนที่กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารแอนติบอดีต้านเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 โดยผู้ที่รับวัคซีนโควิด-19 อาจมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แม้ว่าวัคซีนชนิดนี้ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ การเผยแพร่คลิปวิดิโอที่มีเนื้อหาว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้คนที่มีอายุน้อยเป็นมะเร็งมากขึ้นและมะเร็งจะแพร่กระจายเร็วมากขึ้นซึ่งตามข่าวเรียกว่ามะเร็งเทอร์โบนั้น จากกการสืบค้นข้อมูลในปัจจุบันพบว่าวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทุกชนิดจะต้องได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) และจะต้องผ่านการทดลองทางการแพทย์ที่เข้มงวดเพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนแต่ละตัวนั้นมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์มาตรฐานด้านประสิทธิภาพความปลอดภัยและมีความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ของวัคซีนตามข้อกำหนดของภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern-PHEIC) ดังนั้นวัคซีนโควิด-19 ที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้วจะไม่ก่อผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือหากพบข้างเคียงที่รุนแรงจะพบในอัตราที่ต่ำมาก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Cancer Warrior

  Cancer Warrior คือ นักรบสู้มะเร็ง ทีมปราบมะเร็งสำคัญ 5 ชนิด คือ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก เพื่อการดูแล “มะเร็งครบวงจร” การดูแลตั้งแต่ส่งเสริมป้องกัน คัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษา ดูแลฟื้นฟูกายใจ ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งอาจไม่มาก การรักษาจึงเป็นแนวทางหลัก แต่มะเร็งหลายชนิดเราเข้าใจวงจรการเกิด สามารถดูแลตั้งแต่ยังไม่ป่วย จนถึงป่วยแล้วได้รับการรักษาเหมาะสม จะช่วยผู้ป่วยลดการเสียชีวิต ลดการเจ็บป่วยลงได้   สำหรับกลุ่มคนปกติเราสามารถให้ความรู้ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เสี่ยงมะเร็งได้ รวมถึงการให้วัคซีน  เป็นไปตามนโยบายการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในหญิงอายุ 11-20 ปี สามารถลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะยาวต่อไปได้ ส่วนคนที่มีภาวะเสี่ยง สามารถเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งในประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ การตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับ สำหรับรายที่ป่วยเป็นมะเร็ง หากได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่างๆ   เช่น การตรวจเต้านามด้วยแมมโมแกรม  เมื่อทราบเร็วก็รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการรักษาจะมีตั้งแต่การให้ยาเคมีบำบัด รวมถึงการรักษาด้วยการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)  การบริการรังสีรักษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ กำหนดระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง บริการรังสีร่วมรักษา…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีการรักษาโรคมะเร็ง ไม่ให้ทำคีโมรักษา แต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเองและกินอาหารที่ไม่เป็นกรดก็หายมะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด จะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม คือ การใช้ยาเข้าไปหยุดหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย สามารถรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งเม็ดโลหิต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลูกอัณฑะ แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้ายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่ให้ผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิม รวมถึงยังมีแนวทางและยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ส่วนการเผยแพร่ข้อมูลว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และการกินอาหารที่ไม่เป็นกรดจะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลายแนวทาง เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด การรักษาด้วยยามุ่งเป้า การรักษามะเร็งเฉพาะจุด เป็นต้น โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งสุขภาพของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม คีโมหรือเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ยาหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งการทำคีโมอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลายโดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร ผมร่วง ร้อนใน มีแผลในเยื่อบุต่าง ๆ ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา รวมทั้งสภาวะความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงดังกล่าวข้างต้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่าง ๆ ก็จะหายไป จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีลดผลข้างเคียง ในการทำคีโม โดยเน้นการกินอาหารที่มีไขมันและโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (การกินคีโต)  การอดอาหารโดยการทำ Intermittent Fasting (IF) รวมทั้งการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์นั้น ไม่สามารถลดผลข้างเคียงในการทำคีโมได้ เนื่องจากหากร่างกายของผู้ป่วยที่ทำคีโมอยู่ในภาวะขาดอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลเสียต่อการรักษา และการรับประทานอาหารครบหมู่ตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ช่วงการทำคีโมควรงดการกินผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยที่ทำคีโมควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮล์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง กระดาษทิชชู (tissue paper) มีทั้งที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (เยื่อกระดาษจากต้นไม้) และจากเยื่อเวียนใหม่ กระดาษทิชชูจึงแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย เช่น กระดาษเช็ดหน้า การะดาษชำระ กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น สำหรับการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์จะมีการนำเยื่อกระดาษมาตีผสมกับน้ำ ฟอกเยื่อกระดาษให้มีสีขาวแล้วนำมารีดอบเป็นแผ่น ส่วนการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อเวียนใหม่จะมีการใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเพื่อตีปั่นวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อกระดาษ และใช้สารคลอรีนไดออกไซด์ในกระบวนการฟอกขาว จากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสารเคมีต่าง ๆ จนได้มาตรฐานก่อนรีดอบเป็นแผ่นต่อไป สำหรับความกังวลเกี่ยวกับสารเคมีจากกระดาษทิชชูจะปนเปื้อนสู่อาหารหากนำมาใช้ซับน้ำมันในอาหารประเภททอดนั้น ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามหากต้องการซับน้ำมันในอาหารควรเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาสำหรับใช้กับอาหารโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ควรเลือกใช้กระดาษทิชชูที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและควรใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ตามการใช้งาน ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตรวจเต้านมโดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมได้ การตรวจแมมโมแกรมแนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีความเสี่ยง ได้แก่ มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าการทำแมมโมแกรมเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการทำแมมโมแกรมไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้ได้รับรังสี แต่ก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงมีความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงสัปดาห์ก่อนที่มีประจำเดือน เพื่อลดความเจ็บ สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือมีความเป็นไปได้ในการตั้งครรภ์ควรมีการแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ฉายรังสีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ มังคุด (mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangostana Linn สรรพคุณของมังคุดตามตำรับยาไทยส่วนใหญ่ใช้แก้ท้องเสียและสมานแผล จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าเปลือกมังคุดมีสารแซนโทน ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่พบหลักฐานงานวิจัยทางคลินิก การเผยแพร่ข้อมูลว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็ง จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามังคุดที่ผ่านการนึ่งแล้วนั้น สารแซนโทนที่อยู่ในเปลือกมังคุดไม่ได้ซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อมังคุดแต่อย่างใด ดังนั้นการรับประทานมังคุดนึ่งไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ในเปลือกมังคุดมีสารกลุ่มแทนนินอยู่ด้วย การนำมังคุดไปนึ่งอาจทำให้สารแทนนินซึมเข้าสู่เนื้อมังคุด เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ดังนั้นควรรับประทานมังคุดแบบผลสด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข