ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีการรักษาโรคมะเร็ง ไม่ให้ทำคีโมรักษา แต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเองและกินอาหารที่ไม่เป็นกรดก็หายมะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด จะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม คือ การใช้ยาเข้าไปหยุดหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย สามารถรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งเม็ดโลหิต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลูกอัณฑะ แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้ายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่ให้ผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิม รวมถึงยังมีแนวทางและยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ส่วนการเผยแพร่ข้อมูลว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และการกินอาหารที่ไม่เป็นกรดจะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลายแนวทาง เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด การรักษาด้วยยามุ่งเป้า การรักษามะเร็งเฉพาะจุด เป็นต้น โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งสุขภาพของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการกินคีโต การทำ IF และการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์เป็นวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม คีโมหรือเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ยาหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งการทำคีโมอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลายโดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร ผมร่วง ร้อนใน มีแผลในเยื่อบุต่าง ๆ ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา รวมทั้งสภาวะความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงดังกล่าวข้างต้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่าง ๆ ก็จะหายไป จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีลดผลข้างเคียง ในการทำคีโม โดยเน้นการกินอาหารที่มีไขมันและโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (การกินคีโต)  การอดอาหารโดยการทำ Intermittent Fasting (IF) รวมทั้งการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์นั้น ไม่สามารถลดผลข้างเคียงในการทำคีโมได้ เนื่องจากหากร่างกายของผู้ป่วยที่ทำคีโมอยู่ในภาวะขาดอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลเสียต่อการรักษา และการรับประทานอาหารครบหมู่ตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ช่วงการทำคีโมควรงดการกินผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยที่ทำคีโมควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮล์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง กระดาษทิชชู (tissue paper) มีทั้งที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (เยื่อกระดาษจากต้นไม้) และจากเยื่อเวียนใหม่ กระดาษทิชชูจึงแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย เช่น กระดาษเช็ดหน้า การะดาษชำระ กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น สำหรับการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์จะมีการนำเยื่อกระดาษมาตีผสมกับน้ำ ฟอกเยื่อกระดาษให้มีสีขาวแล้วนำมารีดอบเป็นแผ่น ส่วนการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อเวียนใหม่จะมีการใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเพื่อตีปั่นวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อกระดาษ และใช้สารคลอรีนไดออกไซด์ในกระบวนการฟอกขาว จากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสารเคมีต่าง ๆ จนได้มาตรฐานก่อนรีดอบเป็นแผ่นต่อไป สำหรับความกังวลเกี่ยวกับสารเคมีจากกระดาษทิชชูจะปนเปื้อนสู่อาหารหากนำมาใช้ซับน้ำมันในอาหารประเภททอดนั้น ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามหากต้องการซับน้ำมันในอาหารควรเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาสำหรับใช้กับอาหารโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ควรเลือกใช้กระดาษทิชชูที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและควรใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ตามการใช้งาน ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการทำเมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตรวจเต้านมโดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมได้ การตรวจแมมโมแกรมแนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีความเสี่ยง ได้แก่ มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าการทำแมมโมแกรมเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการทำแมมโมแกรมไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้ได้รับรังสี แต่ก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงมีความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงสัปดาห์ก่อนที่มีประจำเดือน เพื่อลดความเจ็บ สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือมีความเป็นไปได้ในการตั้งครรภ์ควรมีการแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ฉายรังสีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ มังคุด (mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangostana Linn สรรพคุณของมังคุดตามตำรับยาไทยส่วนใหญ่ใช้แก้ท้องเสียและสมานแผล จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าเปลือกมังคุดมีสารแซนโทน ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่พบหลักฐานงานวิจัยทางคลินิก การเผยแพร่ข้อมูลว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็ง จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามังคุดที่ผ่านการนึ่งแล้วนั้น สารแซนโทนที่อยู่ในเปลือกมังคุดไม่ได้ซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อมังคุดแต่อย่างใด ดังนั้นการรับประทานมังคุดนึ่งไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ในเปลือกมังคุดมีสารกลุ่มแทนนินอยู่ด้วย การนำมังคุดไปนึ่งอาจทำให้สารแทนนินซึมเข้าสู่เนื้อมังคุด เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ดังนั้นควรรับประทานมังคุดแบบผลสด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำอาร์ซี ช่วยรักษามะเร็ง

  ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการดื่มน้ำอาร์ซีรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ น้ำชีวจิตหรือน้ำอาร์ซี (Rejuvenating Concoction, RC) เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของธัญพืช 9 ชนิด ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ลูกเดือย ลูกบัว ข้าวฟ่าง ข้าวมันปู ข้าวซ้อมมือ และข้าวเหนียวกล้อง โดยนำมาต้มจนสุก แล้วรินเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม น้ำอาร์ซีประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียและช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำน้ำอาร์ซีมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง น้ำอาร์ซี ถือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรศึกษารายละเอียดส่วนผสม และกระบวนการผลิตที่ถูกหลักอนามัย การใช้เพื่อหวังผลด้านการรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์! ห้ามกินมันฝรั่งที่มีหน่อ งอกออกมาเพราะมีสารมีโซนินซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : มันฝรั่งมีหน่อ งอกออกมามีสารโซลานีนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่สารนี้ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าห้ามกินมันฝรั่งที่มีหน่อ งอกออกมาเพราะมีสารมีโซนินนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามันฝรั่งที่มีการงอกหน่อหรือลำต้นแทงขึ้นมาจะมีสารโซลานีน (solanine) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามสารนี้ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่สารโซลานีนเป็นสารในกลุ่มไกลโคแอลคาลอยด์ มีรสขม พบมากในรากของมันฝรั่ง หากได้รับสารนี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ท้องเสีย และหากได้รับในปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบประสาท หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ มีไข้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นไม่ควรบริโภคมันฝรั่งที่มีหน่อ งอกออกมา เนื่องจากจะมีสารโซลานีนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรเลือกซื้อมันฝรั่งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยตัด ฟกช้ำ ตำหนิ เป็นแผล ไม่แตกหน่อ ไม่มีจุดเขียว และควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สบู่เหลวจะมีสารซักฟอก หากใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลอามีน จะเป็นสารก่อมะเร็ง

  ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้สบู่เหลวที่มีส่วนผสมของสารซักฟอกในชีวิตประจำวันทั่วไปทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง สบู่เหลวทำมาจากปฏิกิริยาระหว่างไขมันกับด่าง และอาจมีการเติมสารเคมีหลายชนิด เช่น สารลดแรงตึงผิวหรือสารซักฟอก สารเพิ่มฟอง สารเพิ่มความหนืด สารกันเสีย สารเพิ่มความชุ่มชื้น และสารปรับความเป็นกรดด่าง เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน สบู่เหลวบางประเภทมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิวที่ชื่อว่า โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate , SLS) และโซเดียมลอเรตซัลเฟต (Sodium Laureth Sulfate, SLES) สารเหล่านี้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยสามารถใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้หากใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าสบู่เหลวที่มีส่วนผสมของสารเอสแอลเอสและสารประกอบตระกูลเอมีน (amine) อาจทำปฏิกิริยากันและจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งนั้น จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารเอสแอลเอสสามารถทำปฏิกิริยากับสารตระกูลเอมีนแล้วเกิดเป็นสารไนโตรซามีนได้ แต่จะต้องมีองค์ประกอบหรือสภาวะที่เหมาะสม เช่น ต้องทำปฏิกิริยากันภายใต้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ดังนั้นการใช้สบู่เหลวในชีวิตประจำวันทั่วไปจะทำให้มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามการใช้สบู่เหลวที่มีส่วนผสมของสารเอสแอลเอสอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและผิวหนัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย รวมถึงสภาพผิวของแต่ละคนด้วย สบู่เหลวจัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจึงแนะนำให้เลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือและมีใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางที่ฉลากทุกครั้ง หากผู้บริโภคต้องการหลีกเลี่ยงสารเอสแอลเอสในผลิตภัณฑ์ สามารถเลือกใช้เครื่องสำอางที่ฉลากระบุว่า “Sodium Lauryl Sulfate Free” ได้ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร.…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สารบอแรกซ์ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารบอแรกซ์สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ สารบอแรกซ์ (Sodium Borate) หรือ น้ำประสานทอง เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ เป็นสารที่ถูกนําไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ทําแก้ว เพื่อให้ทนต่อความร้อน หรือใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง รวมทั้งใช้ในเครื่องสําอาง สารบอแรกซ์เป็นสารปนเปื้อนพบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (หมูบด ปลาบด ลูกชิ้น ไส้กรอก ฯลฯ)  ผักและผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ขนมหวานที่ทำจากแป้ง (ทับทิมกรอบ ลอดช่อง ฯลฯ) โดยสารนี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นพิษต่อตับและไต ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หากได้รับสารบอแรกซ์ในปริมาณสูงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้สารบอแรกซ์ เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำสารบอแรกซ์ไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังมีผู้ผลิตอาหารบางรายลักลอบใช้สารบอแรกซ์ผสมในอาหาร ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ หรือผ่านการรับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพรเจียวกู่หลาน สามารถรักษามะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าชาสมุนไพรเจียวกู่หลานรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ เจียวกู่หลาน หรือ ปัญจขันธ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynostemma pentaphyllum (Thunb.) Makino ในทางการแพทย์ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และใช้พอกรักษาแผล จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าเจียวกู่หลานมีสารจีปีโนไซด์ (gypenosides) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากเจียวกู่หลานมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าเจียวกู่หลานจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ สมุนไพรมีคุณประโยชน์แต่ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ชนิดของสมุนไพร ฤทธิ์ทางเภสัช และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข