ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์!!สารไนไทรท์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด

  ข้อเท็จจริง : สารไนไทรท์ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างไรก็ตามการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีสารนี้ในปริมาณที่มากเกินพอดีและต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ข้อสรุป : ข่าวบิดเบือน ไนไทรท์ (Nitrite) เป็นวัตถุเจือปนอาหารมักใช้ในรูปของเกลือ เช่น โซเดียมไนไทรต์ โพแทสเซียมไนไทรต์ทำหน้าที่เป็น “สารกันเสีย” นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ยืดอายุการเก็บรักษา และช่วยคงสภาพสีของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไทรต์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งหากร่างกายได้รับสารนี้ในปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้สารไนไทรต์ยังอาจทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนภายใต้สภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารทำให้เกิดสารไนโตรซามีนซึ่งองค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2A (Probably carcinogenic to humans) หากร่างกายได้รับสารนี้ในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและถูกหลักโภชนาการ พิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุข้อมูล วันผลิต วันหมดอายุ สถานที่ผลิต ปริมาณและชนิดของสารกันเสียที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย. เป็นต้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800…

ข่าวปลอม!! อย่าแชร์!! ต้นส้มพอหลวงช่วยรักษามะเร็งทุกชนิด

  ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าส้มพอหลวงรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ข้อสรุป : ข่าวปลอม           ส้มพอหลวงหรือหางนกยูงฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Hook.) Raf. จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีการนำรากและลำต้นของส้มพ่อหลวงมาใช้เป็นยาขับโลหิตในสตรี แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้อาการบวมต่าง ๆ ดอกและใบส้มพอหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารฟลาโวนอยด์ สารแทนนิน และสารฟีนอลิก เป็นต้น จึงมีการนำสารสกัดจากดอกและใบส้มพอหลวงมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าส้มพอหลวงจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้           สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ควรศึกษาข้อมูลและข้อควรระวังต่าง ๆ รวมทั้งปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด           ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม!! อย่าแชร์!! อันตรายจากการทานอาหารที่อุ่นไมโครเวฟ

  ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่าอาหารที่ผ่านการอุ่นด้วยไมโครเวฟเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง ข้อสรุป : ข่าวปลอม คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) ที่ใช้ปรุงอาหาร คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ มีหลักการทำงานโดยการปล่อยรังสีเป็นคลื่นไปกระทบอาหารทำให้โมเลกุลน้ำทั้งภายในและนอกอาหารสั่นและเสียดสีกันจนเกิดเป็นความร้อนสะสมจากนั้นพลังงานดังกล่าวจะสลายตัวไป จากข้อมูลที่ระบุว่าการใช้ไมโครเวฟจะทำให้สูญเสียสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี วิตามินซี โฟเลต นั้นซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วการปรุงหรืออุ่นอาหารทุกกรรมวิธีที่ใช้ความร้อนอาจเป็นผลให้เกิดการสูญเสียสารอาหารได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าคลื่นไมโครเวฟไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และไม่ตกค้างในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรระมัดระวังอันตรายจากการใช้เตาอบไมโครเวฟในด้านอื่น ๆ เช่น การใช้ความร้อนและระยะเวลาให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร ตลอดจนเลือกใช้ภาชนะชนิดที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับเตาไมโครเวฟได้  เป็นต้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม!! อย่าแชร์!! เถาวัลย์หนอนตายหยาก สามารถใช้รากรักษาโรคมะเร็งได้

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ารากของหนอนตายหยากรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ​หนอนตายหยาก เป็นพืชสมุนไพรในสกุล Stemona ในประเทศไทยหนอนตายหยากมีหลากหลายสายพันธุ์และอาจมีสารออกฤทธิ์ที่มีปริมาณและคุณสมบัติแตกต่างกัน สมุนไพรชนิดนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทั้งในทางการเกษตรและการแพทย์ สำหรับสารสำคัญที่พบในพืชชนิดนี้ คือ สารประกอบกลุ่มอัลคาลอยด์ เช่น สตีโมนีน (stemonine) สตีโมนิดีน (stemonidine)  และทูเบอสตีโมนีน (tuberstemonine) เป็นต้น ข้อมูลจากภูมิปัญญายาสมุนไพรพื้นบ้านพบว่าจะมีการนำรากของหนอนตายหยากสายพันธุ์ Stemonatuberosa Lour. และ Stemona collinsae Craibมาใช้ประโยชน์โดยก่อนนำมาใช้ต้องผ่านกระบวนการทำลายพิษ อย่างไรก็ตามการใช้สารสกัดจากรากในการยับยั้งเซลล์มะเร็งนั้น พบงานวิจัยระดับเซลล์ในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ​สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ควรศึกษาข้อมูลและข้อควรระวังต่าง ๆ รวมทั้งปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม!! อย่าแชร์!! ความร้อนบำบัดโดยใช้ก้อนถ่านหุงต้มสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ทุกระยะและทุกอวัยวะของร่างกาย

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้ความร้อนจากถ่านหุงต้มช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ข้อสรุป : ข่าวปลอม การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีให้ความร้อนเฉพาะที่ (Hyperthermia) คือ การใช้คลื่นกำเนิดความร้อน เช่น คลื่นวิทยุ เพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายหรือเนื้อเยื่อทำให้เกิดความร้อนเฉพาะจุดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งรวมถึงหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่เข้ามาหล่อเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการเสริมการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้ร่วมกับการรักษาหลัก เช่น การฉายรังสี หรือ การให้ยาเคมีบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ในกระบวนการรักษาจะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคำนวณจำนวนพลังงานความร้อนที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย รวมถึงมีการควบคุมระดับความร้อนให้สม่ำเสมอเหมาะสมตามแผนการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากความร้อน จากการสืบค้นข้อมูลในประเด็นความร้อนบำบัดโดยใช้ก้อนถ่านหุงต้มช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ทุกระยะและทุกอวัยวะของร่างกายนั้น พบว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่าการใช้ความร้อนจากถ่านหุงต้มช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคมะเร็งควรพิจารณาและศึกษารายละเอียดการรักษาอย่างรอบคอบ เลือกวิธีการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม!! อย่าแชร์!! สร้อยข้อมือแม่เหล็กป้องกันเซลล์มะเร็งไม่ให้ก่อตัว

ข้อเท็จจริง : ยังไม่ข้อมูลงานวิจัยที่ยืนยันว่าการใส่สร้อยข้อมือแม่เหล็กจะช่วยป้องกันมะเร็งในมนุษย์ได้ ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม         ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าการใส่สร้อยข้อมือแม่เหล็กที่ผลิตจากไททาเนียมและเจอร์เมเนียมจะป้องกันเซลล์มะเร็งไม่ให้ก่อตัวขึ้นในร่างกายนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าไททาเนียมเป็นโลหะสีเงินส่วนใหญ่ใช้เป็นโครงสร้างในการผลิตอาวุธและอุปกรณ์ทางทหาร ส่วนเจอร์เมเนียมป็นธาตุกึ่งโลหะสีเทาเงินนิยมใช้ในการผลิตทรานซิสเตอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ ใยแก้วนำแสง เป็นต้น เจอร์เมเนียมมีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีงานวิจัยที่มีการนำเจอร์มาเนียมสกัดมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การรักษาอาการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และยังมีข้อมูลว่าการรับประทานเจอร์เมเนียมสังเคราะห์ เช่น สไปโรเจอร์เมเนียม (spirogermanium) โพรพาเจอร์เมเนียม (propagermanium) อาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มีผลข้างเคียงต่อไต ปอด และระบบประสาท อย่างไรก็ตามการใส่สร้อยข้อมือที่ผลิตจากไททาเนียมและเจอร์เมเนียมจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันมะเร็งในมนุษย์           แม้ว่าโรคมะเร็งจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรองมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองได้ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ควรสำรวจร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์!! การรับประทานพริกสด กระเทียมสด พริกไทยสด สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

    ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานทางคลิกนิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานพริกสด กระเทียมสดและพริกไทยสดรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม           ตามที่มีการเผยแพร่คลิปวิดิโอที่มีเนื้อหาว่าการรับประทานพริกสด กระเทียมสด พริกไทยสดพร้อมมื้ออาหารเป็นประจำทุกวันจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าพริก กระเทียม พริกไทยเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทยโดยสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดล้วนอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ซึ่งในพริกมีวิตามินซีกระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ได้แก่ ซิลิเนียม อัลลิซิน(Allicin)ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น ส่วนพริกไทยมีสารฟีนอลิกและสารพิเพอรีน(Piperine)จากการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่าสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดอาจจะมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานพริกสด กระเทียมสด และพริกไทยสดจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้           สมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด           ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

ข่าวปลอม อย่าแชร์!! หญ้าปีกไก่ดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

    ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าปีกไก่ดำรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ข้อสรุป :ไม่จริง/ข่าวปลอม           หญ้าปีกไก่ดำชื่อวิทยาศาสตร์ Polygala chinensis L.มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า คำเตี้ยม้าอีก่ำหญ้ารากหอมเป็นต้นในตำรายาพื้นบ้านอีสานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย รักษาอาการหอบหืด จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีการนำสารสกัดจากหญ้าปีกไก่ดำมาใช้ทดสอบฤทธ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่ศึกษาในระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้           สมุนไพรมีคุณประโยชน์แต่ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ชนิดของสมุนไพร ฤทธิ์ทางเภสัช และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด           ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-680 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ป่วยมะเร็งควรงดปลาหมึก หอยทุกชนิด และปลาที่เลี้ยงในกระชัง

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันแน่ชัดว่าผู้ป่วยมะเร็งควรงดรับประทานปลาหมึก หอย และปลาที่เลี้ยงในกระชัง ข้อสรุป : ข่าวปลอม อาหารในกลุ่มปลาหมึก หอย และปลา เป็นอาหารที่ให้สารอาหารในกลุ่มโปรตีน ซึ่งโปรตีนถือเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกายมีส่วนในการช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพออาจส่งผลให้กล้ามเนื้อถูกสลายไปใช้เป็นพลังงานส่งผลเสียต่อร่างกาย จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ป่วยมะเร็งควรงดปลาหมึก หอย และปลาที่เลี้ยงในกระชังนั้น ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหรือข้อแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งงดอาหารดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น ปลา ไก่ ไข่ และนม เป็นต้น รวมถึงควรรับประทานในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น จำกัดการบริโภคอาหารทะเลบางชนิดที่อาจมีคอเลสเตอรอลสูง ตลอดจนเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอโดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงานตามอายุ กิจกรรม และระดับความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร น้ำหนักลด การสูญเสียกล้ามเนื้อ และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรค เป็นต้น  ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์! มีเซลล์มะเร็ง พยายามเลี่ยงเนื้อสัตว์ เพราะทำให้เซลล์เกิดการอักเสบ

ข้อเท็จจริง : เนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่าการรับประทานเนื้อแดงเนื้อแปรรูปในปริมาณที่เกินพอดีและต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้ ข้อสรุป : ข่าวบิดเบือน โปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นโปรตีนสมบูรณ์ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตามแหล่งที่มาของโปรตีนก็มีส่วนสำคัญต่อการดูแลสุขภาพโดยรวมเช่นกัน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา หรือ อกไก่เป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ สำหรับโปรตีนจากเนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อแกะควรพิจารณาเลือกส่วนที่ไม่ติดมันเพื่อลดการบริโภคไขมันและคอเลสเตอรอล นอกจากนี้มีข้อมูลว่าการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน และแฮมในปริมาณที่มากเกินพอดีและต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น ปลา ไข่ และนม เป็นต้น รวมถึงควรรับประทานในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น รับประทานเนื้อแดงไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ และจำกัดการบริโภคเนื้อแปรรูป โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อร่างกายตามอายุ กิจกรรม และระดับความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันน้ำหนักลด การสูญเสียกล้ามเนื้อ และไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร มีสุขภาพที่แข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทางโรงพยาบาลจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการคอยให้คำปรึกษากับผู้ป่วยอยู่แล้ว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบิดเบือน และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800หน่วยงานที่ตรวจสอบ:…