ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตเพราะเคมีบำบัด ไม่ได้เสียชีวิตเพราะมะเร็ง

  ข้อเท็จจริง : การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม         การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม คือ การใช้ยาเข้าไปหยุดหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย สามารถรักษาโรคมะเร็งบางชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลูกอัณฑะ แม้ว่าจะมีข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายด้าน เช่น อาการคลื่นไส้และอาเจียน อาการอ่อนเพลีย ผมร่วง มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้มีการค้นคว้ายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่ให้ผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิม รวมถึงยังมีแนวทางปฏิบัติและยาที่ใช้ในการป้องกันและบรรเทาอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น           ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดจึงเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ควรสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจากแพทย์และพยาบาล เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นหรือลดผลข้างเคียงให้เหลือน้อยที่สุด           ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! น้ำต้มหญ้างวงช้างและอ้อยดำ รักษามะเร็งปอด

ตามที่ได้มีข้อความชวนเชื่อเรื่อง น้ำต้มหญ้างวงช้างและอ้อยดำ รักษามะเร็งปอด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำเรื่องรักษาโรคมะเร็งปอด ด้วยการดื่มน้ำต้มหญ้างวงช้างและอ้อยดำ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถนำหญ้างวงช้าง และอ้อยดำมาใช้รักษามะเร็งปอดในมนุษย์ได้ แม้จะมีข้อมูลผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการที่พบว่าหญ้างวงช้าง และอ้อยดำ เป็นพืชสมุนไพรไทย อาจมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้างวงช้าง และอ้อยดำช่วยรักษาโรคมะเร็งปอดได้ โดยปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน และลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ http://www.nci.go.th/ หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่สามารถนำหญ้างวงช้างและอ้อยดำมาใช้รักษามะเร็งปอดในมนุษย์ได้ มีเพียงงานวิจัยเบื้องต้นในหลอดทดลองเท่านั้น หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีดูแลรักษาร่างกายเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานสมุนไพรและงดรับประทานเนื้อสัตว์จะช่วยรักษาอาการป่วยจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในมนุษย์ ข้อสรุป : ข่าวปลอม ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูล “วิธีดูแลรักษาร่างกายเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” โดยให้รับประทานสมุนไพรต่าง ๆ หลายชนิดร่วมกับการงดรับประทานเนื้อสัตว์นั้น จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการ พบว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าสมุนไพรตามที่มีการเผยแพร่สามารถช่วยรักษาอาการป่วยจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในมนุษย์ได้ นอกจากนี้การงดรับประทานเนื้อสัตว์เพื่อหวังผลในการรักษาอาการป่วยจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน เช่น เนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ ถั่วชนิดต่าง ๆ และธัญพืชขัดสีที่ให้ทั้งโปรตีนและเส้นใยอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลายในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น รับประทานเนื้อแดงไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ รวมถึงการจำกัดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป การรับประทานสมุนไพรจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการโดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เซลล์มะเร็งจำเป็นต้องใช้กลูตามีนเพื่อการเจริญเติบโตและการอยู่รอด

ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลวิชาการที่ยืนยันว่าการงดรับประทานอาหารที่มีกลูตามีนจะช่วยลดการเจริญของเซลล์มะเร็ง ข้อสรุป : ข่าวปลอม กลูตามีน (Glutamine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ และยังสามารถพบได้ในอาหารทั้งจากพืชและสัตว์ เช่น ผักโขม กะหล่ำปลี เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ นม และไข่เนื่องจากเป็นแหล่งของกลูตามีนซึ่งจะทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ากลูตามีนถือเป็นกรดอะมิโนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ช่วยในกระบวนการเผาผลาญและให้พลังงานแก่เซลล์ ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของสมอง การสร้างกล้ามเนื้อ และส่งเสริมระบบการย่อยให้เป็นปกติ ดังนั้นการงดรับประทานอาหารที่มีกลูตามีนจึงไม่ได้ช่วยลดการเจริญของเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ร่างกายจะผลิตกลูตามีนลดลงอยู่แล้วทำให้มีการดึงกลูตามีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ และหากยิ่งงดเว้นการรับประทานอาหารที่มีกลูตามีนจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ ร่างการทรุดโทรม ขาดสารอาหาร ส่งผลกระทบต่อการรักษาและอาจเป็นสาเหตุทำให้มะเร็งลุกลามได้ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีทดสอบการเป็นโรคมะเร็ง ด้วยใบอังกาบ

ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลวิชาการที่ระบุว่าใบอังกาบสามารถทดสอบการเป็นโรคมะเร็งได้  ข้อสรุป : ข่าวปลอม ต้นอังกาบ (Barleria cristata) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ไตรเทอร์ปีน ฟลาโวนอยด์ และฟีนิลเอทานอยด์ไกลโคไซด์ เป็นต้น ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเมื่อเคี้ยวใบอังกาบให้ละเอียด 30 วินาที จะพบว่าลิ้นเป็นสีม่วงดำนั้น จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการ พบว่าข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริงและปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบอังกาบสามารถทดสอบการเป็นโรคมะเร็งได้ ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอม และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์! มีกลิ่นปากที่ค่อนข้างรุนแรง เป็นอาการของมะเร็งช่องปาก

ข้อเท็จจริง : การมีกลิ่นปากไม่ได้บ่งชี้ว่ากำลังเป็นโรคมะเร็งช่องปากเสมอไป แต่การมีกลิ่นปากอาจมีผลมาจากปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ได้เช่นกัน ข้อสรุป : ข่าวบิดเบือน มะเร็งช่องปากเป็นก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในช่องปาก เช่น ริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม พื้นปากใต้ลิ้น เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งช่องปาก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเคี้ยวหมากพลู การติดเชื้อ HPV สำหรับอาการของโรคมะเร็งช่องปากมีหลากหลายอาการ เช่น อาการเรื้อรังจากการเป็นแผลในช่องปาก มีก้อนหรือตุ่มนูนขึ้นในช่องปาก เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบากมากกว่า 2-3 สัปดาห์ ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีกลิ่นปากที่ค่อนข้างรุนแรงเป็นอาการของมะเร็งช่องปากนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการมีกลิ่นปากไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งช่องปากเสมอไป แต่การมีกลิ่นปากอาจมีผลมาจากปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในช่องปาก หรือโรคปริทันต์ อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติในช่องปากเรื้อรังร่วมกับมีกลิ่นปากควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ควรดูแลสุขอนามัยช่องปากและฟันเป็นประจำและพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้หากรักษาสุขภาพในช่องปากดีแล้วกลิ่นปากยังไม่หายและมีอาการผิดปกติภายในช่องปากควรปรึกษาแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบิดเบือน และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ:…

ข่าวบิดเบือน อย่าแชร์! โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือนมวัวส่งเสริมการเกิดมะเร็ง

ข้อเท็จจริง : การรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดหรือนมวัวไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเสมอไป อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่าการรับประทานเนื้อแดงเนื้อแปรรูปในปริมาณที่เกินพอดีและต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคได้เช่นกัน ข้อสรุป : ข่าวบิดเบือน โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นมและไข่นั้นเป็นโปรตีนสมบูรณ์ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน ทั้งนี้แหล่งที่มาของโปรตีนก็มีส่วนสำคัญต่อการดูแลสุขภาพโดยรวมเช่นกัน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ โปรตีนจากถั่วชนิดต่าง ๆ และธัญพืชขัดสีน้อยที่ให้ทั้งโปรตีนและเส้นใยอาหาร สำหรับโปรตีนจากเนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อแกะควรพิจารณาเลือกส่วนที่ไม่ติดมันเพื่อลดการบริโภคไขมันและคอเลสเตอรอล นอกจากนี้มีข้อมูลว่าการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน และแฮมในปริมาณที่มากเกินพอดีและต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี แต่ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น ปลา ไข่ และนม เป็นต้น รวมถึงควรรับประทานในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น รับประทานเนื้อแดงไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ และจำกัดการบริโภคเนื้อแปรรูป นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการโดยคำนึงถึงความต้องการของพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลบิดเบือน และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใส่ผ้าอนามัยนาน ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก

ข้อสรุป : ใส่ผ้าอนามัยนานทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าการใส่ผ้าอนามัยนานๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ผลกระทบ : มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) และส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากเพศสัมพันธ์ผ่านการสัมผัสผิวหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศ ผู้ที่มีคู่นอนหลายคนจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนการใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนแผ่นใหม่ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเกิดเชื้อรา ทำให้มีอาการระคายเคือง อาการคัน หรือเชื้อเหล่านี้อาจแพร่ไปยังทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เป็นต้น ดังนั้นความเชื่อที่ว่าใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมโดยไม่เปลี่ยนแผ่นใหม่แล้วจะทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นจึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ข้อแนะนำ : การใช้ผ้าอนามัยแผ่นเดียวนาน ๆ อาจทำให้เกิดการอับชื้น ไม่สะอาด ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามปริมาณประจำเดือนที่มีในวันมามากอาจจะเปลี่ยนบ่อยกว่าวันที่กำลังจะหมด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข      

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำร้อนแก้ปวดท้อง เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

ประเด็น : ดื่มน้ำร้อนแก้ปวดท้องเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการดื่มน้ำร้อนเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม ผลกระทบ : มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีความเชื่อมโยงกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง การสูบบุหรี่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาอาหาร เป็นต้น จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าดื่มน้ำร้อนแก้ปวดท้องเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น พบว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการดื่มน้ำร้อนเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตามการดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูงหรือร้อนเกินไป (อุณหภูมิที่มากกว่า 65 องศาเซลเซียล) อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดอาหารและหากดื่มเป็นประจำจะเกิดการอักเสบเรื้อรังและอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ ข้อแนะนำ : ควรดื่มเครื่องดื่มเมื่ออุ่นพอดี ไม่ร้อนจัด และควรดื่มแบบช้าๆ ทีละนิด เพราะความร้อนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังหลอดอาหารได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! พยายามตากแดดทุกวัน เพราะเชื้อมะเร็งกลัวแดด

ประเด็น : พยายามตากแดดทุกวัน เพราะเชื้อมะเร็งกลัวแดด ข้อเท็จจริง : ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันว่าการตากแดดจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ ข้อสรุป : ไม่จริง/ข่าวปลอม ผลกระทบ : ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าการตากแดดจะสามารถป้องกันมะเร็งได้นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าแสงแดดประกอบไปด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสี UV ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ รังสียูวีเอ (UVA) รังสียูวีบี (UVB) และรังสียูวีซี (UVC) การได้รับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น 06.00 – 08.00 น. และ 16.00 – 18.00 น. จะช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับแสงแดดจัดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ป้องกันก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตา ผิวหนังไหม้แดด และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ข้อแนะนำ : ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ และไม่ตากแดดเป็นเวลานาน แต่ถ้าจำเป็นควรสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวปกปิดร่างกายเพื่อป้องกันแสงแดด สวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีสารป้องกันรังสียูวี ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์…