รู้ทันมะเร็ง : ‘มะเร็งตับ ที่สุดของที่สุด’ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  31 ก.ค. 2558           ในบรรดามะเร็งอวัยวะต่างๆ ที่พบในบ้านเรานั้น มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ประมาณ 20,000 ราย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเท่าตัว เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศชายและเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของทั้ง 2 เพศ โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งตับเสียชีวิตประมาณ 15,000 ราย เหตุที่คนไทยเป็นโรคนี้บ่อยและมีอัตราการตายสูงนั้นมาจากหลายปัจจัย           ประเด็นแรก ทำไมโรคนี้ถึงพบบ่อยที่สุดเมื่อเทียบกับมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ประการแรกเป็นเรื่องของการลงรหัสโรคที่มีการรวมเอาการวินิจฉัยโรคมะเร็งท่อน้ำดี มาอยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคมะเร็งตับด้วย เพราะอาการของโรคมีความใกล้เคียงกัน มีก้อนเนื้อในตับเหมือนกัน ทำให้บ่อยครั้งไม่สามารถแยกโรคกันได้อย่างชัดเจน ในทางปฏิบัติผู้ป่วยทั้ง 2 โรคมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมากแล้ว การรักษาจึงเป็นแค่ประคับประคอง ความจำเป็นในการเจาะชิ้นเนื้อที่ตับมาพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งชนิดไหนแน่ จึงไม่มีความจำเป็น ซ้ำร้ายอาจเกิดผลร้ายที่ตามมาจากการทำหัตถการดังกล่าว ดังนั้น แท้จริงแล้วสถิติข้อมูลมะเร็งตับในบ้านเรา จึงมีทั้งมะเร็งเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีรวมอยู่ด้วยกัน ประการที่ 2 สาเหตุของโรคที่ยังไม่รู้แน่ชัด ในขณะที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ทำให้การป้องกันโรคทำได้ยากมากกว่าโรคมะเร็งที่ทราบสาเหตุชัดเจน…

รู้ทันมะเร็ง : เมื่อแม่เป็นมะเร็งห่วงใยลูก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  14 ส.ค. 2558           ป้าแดง แม่ค้าขายอาหารตามสั่งผู้หาเช้ากินค่ำ ตื่นแต่เช้ามืดออกไปตลาดสดเพื่อหาซื้อของมาทำกับข้าวขาย ความที่สามีเสียชีวิตตั้งแต่ลูกๆ ยังเล็กอยู่ ป้าแดงจึงต้องเป็นทั้งพ่อและแม่ ต้องหารายได้เป็นหลักของครอบครัว และเลี้ยงดูลูกทั้ง 3 แต่โดยลำพัง เรื่องความสนใจที่จะไปตรวจสุขภาพไม่เคยอยู่ในหัวของป้าแดง เพราะแค่เวลาส่วนตัวก็แทบจะไม่มี เวลาจะพักผ่อนก็น้อย อยู่มาวันหนึ่งป้าแดงคลำเจอเนื้อแข็งๆ ที่เต้านม แต่เนื่องจากไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรจึงไม่ใส่ใจ คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก นานวันเข้าก้อนเริ่มโตขึ้นๆ แต่ด้วยความอายหมอและกลัวการผ่าตัด จึงยังไม่ยอมไปโรงพยาบาล           จนกระทั่งก้อนเนื้อโตจนแตกเป็นแผลที่เต้านม มีเลือดและน้ำเหลืองไหลเปรอะเสื้อ ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรงเหมือนแต่ก่อน ทำงานต่อไปไม่ไหว ในที่สุดจึงต้องไปโรงพยาบาล ความที่ก้อนมะเร็งลุกลามถึงชั้นผิวหนัง ทำให้จำเป็นต้องรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดก่อนจนก้อนยุบลง แล้วตามด้วยการผ่าตัดเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก สุดท้ายตามด้วยการฉายแสงและการให้ยาเคมีบำบัดซ้ำอีกหลายครั้ง ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ได้รับการรักษา ป้าแดงต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลเป็นประจำ ได้รู้จักผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายอื่นๆ ที่เป็นน้อยกว่าแก ไม่ต้องได้รับการรักษามากมายเท่าแก จนบ่อยครั้งที่ป้าแดงนึกเสียดายโอกาสว่า…

รู้ทันมะเร็ง : ภาวะติดเชื้อกับมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 24 ส.ค. 2558           โรคติดเชื้อหรือโรคที่เกิดจากเชื้อโรค เคยเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายที่สำคัญเมื่อ 50 ปีก่อน หลังจากที่เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น ทั้งความรู้เรื่องสาเหตุของโรคและการค้นพบยารักษาโรคตัวใหม่ๆ ทำให้ปัจจุบันโรคติดเชื้อเดิมๆ หมดพิษสงลง แต่ภาวะติดเชื้อก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งคือ เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งและเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งอาการทรุดลงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต           ในส่วนของการเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคประเภทไหน ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อปาราสิตหรือพยาธิชนิดต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ทั้งสิ้น เริ่มกันที่เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรหรือเชื้อเอชไพโลไร ที่เป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและชนิดซีที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งเซลล์ตับในที่สุด เชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าหรือไวรัสเอชพีวีเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งอวัยวะเพศหญิง มะเร็งช่องคลอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งลำคอด้านในบริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อนและต่อมทอนซิล เชื้อไวรัสเอปสไตน์บาร์เป็นสาเหตุของมะเร็งหลังโพรงจมูก ในส่วนของเชื้อปาราสิตหรือพยาธิที่ยังเป็นปัญหาสำคัญในบ้านเราก็คือ การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับจากการกินปลาน้ำจืดดิบและเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งท่อน้ำดี ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากเชื้อประเภทใดก็ตาม เชื้อโรคกลุ่มที่เป็นสาเหตุมะเร็งพวกนี้มักเป็นการติดเชื้อแบบต่อเนื่องซ้ำๆ แบบเรื้อรัง และมักไม่แสดงอาการเหมือนการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน จนทำให้เซลล์ปกติค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด    …

รู้ทันมะเร็ง : สถานการณ์โรคมะเร็งล่าสุด : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  4 ก.ย. 2558           แม้ว่าโรคมะเร็งจะเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยเราต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2542 แต่สถิติโรคมะเร็งล่าสุดของบ้านเราปี 2554 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น           ประการแรกอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในทั้ง 2 เพศมีแนวโน้มลดลงกล่าวคือ ในเพศชายมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 143.3 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ลดลงกว่าเมื่อ 3 ปีก่อนหรือปี 2551 ที่พบมะเร็งรายใหม่อยู่ที่ 156.7 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ส่วนในเพศหญิงมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 131.9 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ลดลงกว่าในปี 2551 ที่พบมะเร็งรายใหม่อยู่ที่ 138.2 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย หรือเท่ากับผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 112,392 คนต่อปี แบ่งเป็นชาย 54,586 คน และหญิง 57,586 คน แม้ว่าจำนวนผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรายใหม่จะพบมากกว่า ตามจำนวนประชากรเพศหญิงบ้านเราที่มีมากกว่าเพศชาย แต่ผู้ป่วยมะเร็งเพศชายกลับเสียชีวิตมากกว่า คือเสียชีวิตปีละ…

รู้ทันมะเร็ง : หัวนมบอดกับมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  18 ก.ย. 2558           ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อผู้หญิงทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงบ้านเรา สถิติล่าสุดของปี 2554 พบว่าบ้านเรามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 28 รายต่อประชากร 100,000 ราย หากมองย้อนไปเมื่อปี 2533 เมืองไทยเราพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่เพียง 13 รายต่อประชากร 100,000 ราย เรียกว่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าเท่าตัวในช่วงเวลา 20 ปี และที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเทศทั่วโลกทั้งประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว           คุณผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการคลำหาก้อนผิดปกติที่เกิดขึ้นในเต้านม แต่สิ่งหนึ่งที่มักมองข้ามคือการสังเกตบริเวณหัวนมและลานหัวนม ภาวะหัวนมบอดมีทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดและเกิดขึ้นภายหลัง มีตั้งแต่หัวนมยุบลงไปเพียงเล็กน้อยจนถึงหัวนมบุ๋มลงไปแบบถาวร คนที่มีภาวะหัวนมบอดหรือหัวนมไม่ยื่นออกมาตามปกติ ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสที่สิ่งสกปรกจะตกค้างหมักหมมภายใน มีกลิ่นเหม็น และท้ายที่สุดเกิดแผลบริเวณหัวนมที่เรื้อรังรักษายากและมีโอกาสเป็นมะเร็งในที่สุด การแก้ไขหัวนมบอดมีตั้งแต่การใช้นิ้วมือดันด้านข้างหัวนมทั้งสองด้านและดึงหัวนมบ่อยๆ การใช้อุปกรณ์สุญญากาศเป็นจุกครอบหัวนมช่วยดึงหัวนมขึ้นมา และสุดท้ายคือการผ่าตัดในกรณีที่หัวนมบอดมากและใช้วิธีที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผล ส่วนคุณผู้หญิงที่หัวนมยื่นเป็นปกติ แต่ต่อมาหัวนมเริ่มหดสั้นลงๆ จนเป็นหัวนมบุ๋มลงไป อันนี้น่ากลัวกว่า เพราะอาจเกิดจากมีก้อนมะเร็งใต้หัวนมที่ลุกลามไปที่ท่อน้ำนมและเกิดการดึงรั้งให้หัวนมหดตัวสั้นลง    …

รู้ทันมะเร็ง : ประกวดภาพต้านภัยมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  25 ก.ย. 2558           การรณรงค์ต้านภัยมะเร็งที่ทำกันในแต่ละประเทศทั่วโลกนั้น ไม่ใช่นึกอยากจะรณรงค์มะเร็งอะไรก็ทำตามๆ กันไป มีทั้งที่รณรงค์ในประเด็นรวมๆ ที่เป็นปัญหาร่วมกันในหลายประเทศ ที่มักถูกกำหนดโดยองค์กรวิชาชีพสุขภาพด้านโรคมะเร็งระดับนานาชาติและองค์การอนามัยโลก เช่น ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับโรคมะเร็ง อีกประเภทก็เป็นการรณรงค์ตามบริบทปัญหาโรคมะเร็งของแต่ละประเทศว่า มะเร็งของอวัยวะใดที่พบบ่อยหรือมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศนั้นๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านโรคมะเร็งก็ต้องพยายามหารูปแบบในการรณรงค์ ที่สามารถดึงความสนใจของประชาชน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นในที่สุด           วกกลับมาที่บ้านเรา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งอย่างต่อเนื่องมาตลอดคือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติและโรงพยาบาลมะเร็งในส่วนภูมิภาคอีก 7 แห่งทั่วประเทศ ทั้งหมดเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่หน่วยงานอื่นๆ ด้านสุขภาพ มักเน้นเรื่องการประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ ที่ใช้ในการวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นการไล่ตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วที่ปลายเหตุ การรณรงค์ด้านการป้องกันโรคมะเร็งให้สัมฤทธิผลนั้นยุ่งยากกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในระดับปัจเจกบุคคล การแก้ปัญหามลภาวะในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับชุมชนและระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ในส่วนของการรณรงค์ด้านการคัดกรองโรคมะเร็ง ให้ประชาชนหันมาใส่ใจตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ไม่ปล่อยให้มีอาการเป็นมากแบบที่เป็นกันส่วนใหญ่ในขณะนี้ ก็เป็นเรื่องยากตราบใดที่ปัญหาปากท้องของคนในชาติยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นการรณรงค์ดังกล่าวจึงต้องพยายามหาวิธีการและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้สังคมหันมาให้ความสนใจภัยของโรคมะเร็งมากขึ้น    …

รู้ทันมะเร็ง : แด่ญาติผู้ป่วยมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 2 ต.ค. 2558           ปฏิเสธไม่ได้ว่าบุคคลสำคัญที่มีผลต่อตัวผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างมาก หนีไม่พ้นบรรดาญาติพี่น้อง ยิ่งญาติสนิทใกล้ชิดที่อยู่บ้านเดียวกัน เช่น คู่สมรส ลูกหลาน ที่รู้นิสัยใจคอผู้ป่วยเป็นอย่างดี ยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อผลการรักษาที่ไม่อาจมองข้ามไปได้           ประเด็นแรกเรื่องของกำลังใจ ญาติผู้ป่วยเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการให้กำลังใจผู้ป่วยตลอดทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ทันทีที่รู้ว่าเป็นมะเร็ง ระหว่างการรักษาจนถึงระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยรายไหนที่ญาติไม่ค่อยดูแล ไม่เอาใจใส่ ทอดทิ้งให้ผู้ป่วยต่อสู้โรคร้ายเพียงลำพัง ผลการรักษามักไม่ค่อยดี           ประเด็นที่สอง เรื่องการให้คำแนะนำของญาติ โดยเฉพาะคำแนะนำเรื่องการรักษาและการปฏิบัติตัว มีญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไปเชื่อเรื่องการรักษามะเร็งของคนอื่นหรือจากสื่อออนไลน์ พาผู้ป่วยไปรักษาผิดทิศผิดทาง ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นคนจิตใจอ่อนไหวง่าย กลัวการรักษาแผนปัจจุบันอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่โรคมะเร็งยังเป็นระยะไม่มาก มีโอกาสหายขาดค่อนข้างสูงหากรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะฉะนั้นญาติที่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ก็อย่าไปให้คำแนะนำที่ผิดๆ เป็นการทำบาปทำกรรมตัดโอกาสการรักษาของคนที่รักไปโดยไม่รู้ตัว          …

รู้ทันมะเร็ง : ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  9 ต.ค. 2558           ย่างเข้าเดือนตุลาคมปลายฝนต้นหนาว เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม ถือโอกาสเตือนคุณผู้ชายทั้งหลาย เพราะหลายคนยังคิดว่าผู้ชายอย่างเราไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมแน่นอน แต่แท้จริงแล้วมีโอกาสเป็นเช่นเดียวกัน เพียงแต่พบได้น้อยกว่าเท่านั้น           จากสถิติพบว่าโดยทั่วไปเพศชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตลอดอายุขัยอยู่ที่ 1 ใน 1,000 ในประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2558 คาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศชายรายใหม่ 2,350 คน น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด เสียชีวิต 440 ราย ในขณะที่เพศหญิงเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมอยู่ที่ประมาณ 40,000 รายต่อปี โดยอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในเพศชายค่อนข้างคงที่ในช่วง 30 ปี ในขณะที่อุบัติการณ์ในเพศหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพศหญิงพบมากกว่าเพศชายประมาณ 100 เท่า ในเพศชายนั้นพบบ่อยในช่วงอายุ 60-70 ปี โดยพบว่าผู้ชายที่เป็นมะเร็งเต้านมมีอายุเฉลี่ยมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม 7-8 ปี    …

รู้ทันมะเร็ง : ผื่นหัวนมอีกหนึ่งสัญญาณมะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  16 ต.ค. 2558           เดือนตุลาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมทั่วโลก ถือโอกาสเล่าเรื่องมะเร็งเต้านมเพื่อความต่อเนื่อง เรื่องของผื่นบริเวณหัวนมอีกอาการหนึ่งของความผิดปกติที่อาจเป็นอาการของมะเร็งเต้านม ที่ไม่ค่อยมีใครเอ่ยถึง ส่วนใหญ่มักเน้นเรื่องหัวนมบอดและมีน้ำผิดปกติไหลออกจากหัวนม จนคุณผู้หญิงหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแค่ผิวหนังอักเสบ ไปหาหมอโรคผิวหนังหรือแค่ซื้อยามาทาก็หาย ไม่น่าจะเป็นอะไรมาก           แท้จริงแล้วเจ้าผื่นที่ว่าอาจเกิดขึ้นที่หัวนมหรือลานหัวนมก็ได้ โดยมากมักเริ่มจากเป็นผื่นแดง ตุ่มแดง มีอาการแสบๆ คันๆ มีน้ำเหลืองไหล ช่วงแรกอาจจะเป็นๆ หายๆ ต่อมากลายเป็นแผลแข็งตกสะเก็ด ที่สำคัญคือพวกนี้รักษาด้วยยาทาที่หมอโรคผิวหนังให้แล้วก็ยังไม่หาย เป็นเพราะเกิดจากการที่เซลล์มะเร็งเกิดเริ่มต้นในท่อน้ำนมใต้หัวนม แล้วลามขึ้นมาที่ผิวหนังด้านบนบริเวณหัวนมและลานหัวนมในที่สุด พูดง่ายๆ ว่าแทนที่จะลามลงด้านล่างในเนื้อเต้านมตามปกติ และมาพบแพทย์ด้วยเรื่องก้อนเต้านมให้คลำเจอได้ กลับมาด้วยผื่นด้านบนแทน และมักจะคลำหาก้อนไม่ค่อยได้ ผื่นพวกนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่าโรคพาเจ็ตของเต้านมหรือหัวนม ตามชื่อของหมอคนแรกที่ค้นพบโรคนี้ โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ในสหรัฐอเมริกาพบแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 50 ปี และ 97 เปอร์เซ็นต์…

รู้ทันมะเร็ง : ชนะมะเร็งเต้านมด้วยริบบิ้นสีชมพู : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  23 ต.ค. 2558           สัญลักษณ์ริบบิ้นสีชมพูหรือโบชมพูเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น โดยเฉพาะเดือนตุลาคม ทั่วโลกมีการรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านมกันเป็นวาระประจำ ที่ทำกันในเดือนตุลาคมของทุกปีอย่างเป็นทางการมา 23 ปีมาแล้วนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา หลายองค์กรในต่างประเทศช่วยกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมกันมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพราะปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิงทั่วโลกและเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอดเมื่อรวมทั้ง 2 เพศ ในปี 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกปีละประมาณ 1.7 ล้านคน ในขณะที่ของไทยเราเมื่อ 20 ปีก่อนมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในเพศหญิง แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าหรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ปีละประมาณ 1.3 หมื่นราย จนเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิงไทยในที่สุด           ทราบข้อมูลแบบนี้ก็อย่าเข้าใจผิดว่าประเทศไทยเราพบมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ในบ้านเราพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 28.5 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย…