รู้ทันมะเร็ง : ไทรอยด์สู้สู้ไทรอยด์สู้ตาย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 ม.ค. 2555           จั่วหัวกันแบบเชียร์กีฬาเหมือนกับเชียร์ทีมชาติไทยอย่างนี้ เพราะวันนี้จะขอกล่าวถึงมะเร็งของต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่มีพยากรณ์โรคค่อนข้างดี เรียกว่าหากรักษาตามที่แพทย์ให้คำแนะนำก็มีโอกาสหายขาดได้สูงมากกว่ามะเร็งของอวัยวะอื่นๆ อย่างนี้ก็ต้องให้กำลังใจให้สู้สู้ให้เต็มที่กันหน่อยนะครับ           เจ้าต่อมไทรอยด์ที่พูดถึงนั้นอยู่บริเวณลำคอด้านหน้าลูกกระเดือกของเราแหละครับ ทั้งเพศชายเพศหญิงมีต่อมนี้เหมือนๆ กัน เวลากลืนน้ำลายก็จะเคลื่อนขึ้นลงตามการขยับของลูกกระเดือก ถ้าใครมีก้อนบริเวณนี้ลองไปส่องกระจกแล้วกลืนน้ำลายสังเกตดู ถ้าก้อนนั้นขยับขึ้นลงตามการกลืนละก็ สันนิษฐานเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นก้อนเนื้องอกของต่อมไทรอยด์แล้วล่ะครับ แต่ใช่ว่าก้อนของต่อมไทรอยด์ที่เราเห็นคุ้นตาเช่น คนที่เป็นโรคคอพอกคอโตในภาคเหนือจะเป็นมะเร็งกันหมดนะครับ นั่นเป็นเพราะขาดสารไอโอดีน กับอีกพวกที่พบได้บ่อยเช่นกันคือ ก้อนที่คอโตจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติที่เรียกว่าไทรอยด์หรือคอพอกเป็นพิษ พวกนี้จะมีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย กินจุแต่น้ำหนักลด แต่มะเร็งของต่อมไทรอยด์มักมาด้วยอาการก้อนไม่ใหญ่โตและมักไม่มีอาการเจ็บปวด บางรายอาจมาด้วยเรื่องมีก้อนด้านข้างลำคอจากต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีอาการเสียงแหบจากก้อนเนื้อไปกดเส้นประสาท           อย่างไรก็ตาม ก้อนเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่คือร้อยละ 90 มักไม่เป็นมะเร็ง เพราะ ฉะนั้นคนที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ก็อย่าพึ่งตีตนไปก่อนไข้ ส่วนใหญ่ของก้อนมักเป็นพวกถุงน้ำหรือพวกเนื้องอกธรรมดา ซึ่งการจะแยกให้ได้ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น ปัจจุบันนิยมใช้เข็มขนาดเล็กเจาะดูดเอาเซลล์ในก้อนออกมาตรวจ ถ้าตรวจพบเซลล์มะเร็งก็จะได้วางแผนการรักษาผ่าตัดเอาเนื้อต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดก็ว่ากันไป หรือจะแถมการผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอออกไปด้วยก็แล้วแต่กรณีไป ลงท้ายมักจะตามด้วยการให้กินสารไอโอดีน 131…

รู้ทันมะเร็ง : ตับวายจากมะเร็งตับระยะสุดท้าย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 ก.ย. 2556           ในบรรดาอวัยวะต่างๆ นอกจากต่อมน้ำเหลืองและปอดแล้ว ตับจัดเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่มะเร็งของอวัยวะอื่นชอบกระจายมาเล่นงานอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งของอวัยวะในช่องท้องหรือมะเร็งของอวัยวะที่อยู่ต่ำกว่ากะบังลมลงมา เพราะเลือดดำที่ออกจากอวัยวะเหล่านี้ ต้องมาผ่านที่ตับก่อนกลับเข้าสู่หัวใจ เซลล์มะเร็งที่มาตามกระแสเลือดจึงมักมาอาศัยตับเป็นบ้านหลังที่สองอยู่เป็นประจำ           มะเร็งที่กระจายมาที่ตับจากอวัยวะอื่น ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ได้มาแค่เม็ดเดียว มักมาทีละหลายจุด ทำให้มีก้อนมะเร็งโผล่ที่ตับทั้งสองกลีบ โดยทั่วไปถ้ามีก้อนที่ตับแค่ก้อนเดียวหรือหลายก้อนแต่ยังอยู่ในตับกลีบเดียวกันอยู่ โดยที่ยังไม่มีการลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อีกและมะเร็งตัวแม่ยังสามารถควบคุมได้อยู่ ก็อาจพิจารณาผ่าตัดเอาก้อนที่ตับออกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งตัวแม่ด้วย           กรณีที่มะเร็งกระจายมาที่ตับมีหลายก้อนในทั้งสองกลีบ การผ่าตัดเอาก้อนที่ตับออกทั้งหมดจึงไม่สามารถทำได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการให้ยาเคมีบำบัดและการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ผลการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งตัวแม่และสูตรยาเคมีบำบัดที่ให้ เช่น มะเร็งตับที่แพร่กระจายมาจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มักตอบสนองดีต่อยาเคมีบำบัด หลายรายที่ก้อนมะเร็งที่มีที่ตับหลายก้อน หลังให้ยาก้อนเล็กๆ ยุบหายไป เหลือแต่ก้อนใหญ่ ก็อาจพิจารณาผ่าตัดก้อนที่ตับออกในภายหลัง แต่ถ้าไม่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหรือสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่พร้อม ไม่สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเป็นหลัก        …

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบปรองดอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 เม.ย. 2555           บรรยากาศทางการเมืองอันร้อนรุ่มเวลานี้พอๆ กับสภาพอากาศหน้าร้อนของบ้านเรา ทำเอาผู้คนทั้งประเทศอดเป็นห่วงมิได้ว่าเมื่อไหร่จะปรองดองสมานฉันท์กันได้จริงเสียที เชื่อว่าพี่น้องชาวไทยผู้รักชาติทั้งหลายคงอยากเห็นประเทศไทยก้าวผ่านบรรยากาศแห่งความขัดแย้งแตกแยกที่เป็นอยู่อย่างนี้โดยเร็วกันทั้งนั้น ปล่อยทิ้งไว้แบบนี้นานไปจะเยียวยาไม่ไหวเหมือนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายยังไงยังงั้น           วกกลับมาเข้าเรื่องรักษามะเร็งแบบปรองดอง ปรองดองที่ว่านี้มี 2 นัยคือ หนึ่งระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยและญาติที่ได้รับการรักษา แน่นอนครับว่าแพทย์ก็อยากให้ผลการรักษาออกมาดี ผู้ป่วยก็อยากจะหายขาดจากโรคหรือมีชีวิตอยู่ได้นานที่สุดกันทั้งนั้น บ่อยครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่ายก็ไม่ค่อยจะปรองดองกัน ยกตัวอย่าง แพทย์ไม่เปิดใจกว้างไม่มีเวลาที่จะให้โอกาสผู้ป่วยและญาติซักถามรายละเอียดของการรักษาหรือปรึกษาหารือเรื่องทางเลือกอื่นในการรักษา มิหนำซ้ำยังต่อว่าผู้ป่วยและญาติหากไปเลือกการรักษาวิธีการอื่น เช่นเดียวกับผู้ป่วยและญาติที่อาจจะไม่มารับการรักษามาตรฐานที่ได้รับคำแนะนำหรือมารับการรักษาอย่างไม่สม่ำเสมอหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำสำคัญที่ต้องปฏิบัติ ซ้ำร้ายกลับทำตรงกันข้ามเสียอีก           นัยที่สองคือระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก ปัจจุบันมีการแอบอ้างวิธีการรักษาแบบใหม่ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือก แน่นอนครับว่าใครที่ไม่เคยเป็นมะเร็งหรือไม่เคยมีญาติสนิทเป็นมะเร็งจะไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ มีข่าวว่าอะไรรักษามะเร็งได้หรือใครมาบอกว่าคนนั้นคนนี้หายจากมะเร็งได้ ผู้ป่วยและญาติก็อยากจะไปลองการรักษาแบบที่ว่ากันทั้งนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าต้องใช้ปัญญาและเหตุผลแยกแยะให้ได้ว่าน่าเชื่อถือเพียงใด มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนหรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญที่สุดคือต้องยึดการรักษามาตรฐานไว้เป็นการรักษาหลัก เหตุผลเพราะมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่ารักษาตัวโรคมะเร็งชนิดนั้นได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เพราะฉะนั้นอย่าทิ้งการรักษาหลักการรักษามาตรฐาน ส่วนจะเพิ่มการรักษาทางเลือกอื่นที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายเป็นการเสริมสุขภาพโดยรวมก็สุดแท้แต่ โดยเฉพาะการแพทย์ทางเลือกที่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบประคับประคอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  9 พ.ค. 2557           เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยมะเร็งบ้านเราส่วนใหญ่เมื่อมีอาการมาพบแพทย์นั้น มักอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว กล่าวคือมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นคือระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ส่วนอีก 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว เพราะฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จึงเป็นภารกิจหลัก แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยเป็นระบบเท่าที่ควร           แต่ต่อไปนี้ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองจะไม่ถูกปล่อยปละละเลยแบบที่ผ่านมาอีกต่อไป เพราะการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ใหญ่ด้านการควบคุม และป้องกันโรคมะเร็งระดับชาติตั้งแต่ปี 2556-2560 โดยอาศัยแนวทางการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งขององค์การอนามัยโลก ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะลุกลามจะเป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เพียงแต่การรักษาตามอาการที่พบบ่อย ตั้งแต่อาการเหนื่อย หอบ ทั้งจากการที่ เซลล์มะเร็งลุกลามมาที่ปอดหรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด จากเซลล์มะเร็งลุกลามมาที่เยื่อหุ้มปอด ต้องให้ออกซิเจน เจาะระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อให้ผู้ป่วยอาการลดน้อยลง อาการแน่นท้องจากการมีภาวะท้องมานหรือการมีน้ำในช่องท้อง ทั้งจากการที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปทั่วช่องท้อง มีการสร้างน้ำจากเซลล์มะเร็งเอง…

รู้ทันมะเร็ง : เมื่อต้องไปฉายแสงรักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 ก.ค. 2555           การฉายแสงหรือฉายรังสีเป็นการใช้รังสีรักษามะเร็งอีกรูปแบบหนึ่ง อันที่จริงแล้วการใช้รังสีในการรักษาโรคมะเร็งมีหลายรูปแบบหลายวิธีการ ถ้าจะแบ่งอย่างกว้างๆ ก็เป็นแบบการใช้รังสีจากภายนอกหรือการฉายแสงที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย และแบบรังสีมาจากภายในร่างกาย เช่น การฝังแร่ ซึ่งการจะเลือกใช้รังสีรูปแบบไหนมารักษาโรคมะเร็งแต่ละประเภทก็ขึ้นอยู่กับว่า เป็นมะเร็งอวัยวะใด ประเภทของเซลล์มะเร็งเป็นแบบไหน รวมถึงสภาพของผู้ป่วยด้วย มีทั้งการใช้รังสีรักษาเป็นหลัก ไม่มีการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย เรียกว่าเป็นพระเอกแต่เพียงผู้เดียว บางกรณีก็ใช้การฉายแสงก่อนการรักษาวิธีการอื่นหรือฉายแสงไปพร้อมๆ กันเลย หรือฉายแสงหลังเสร็จสิ้นการรักษาด้วยวิธีการอื่น เช่น การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด           หลังจากที่แพทย์เจ้าของไข้พิจารณาแล้วว่ารังสีรักษามีบทบาทในการรักษาผู้ป่วย ก่อนเข้าสู่กระบวนการฉายแสง ผู้ป่วยต้องมาพบรังสีแพทย์ตามนัดเพื่อวางแผนการรักษา แพทย์จะดูประวัติการรักษา ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจร่างกายบริเวณที่จะฉายรังสี ให้คำอธิบายเรื่องการปฏิบัติตัวและผลข้างเคียงของการรักษา ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์พร้อมกับญาติผู้ดูแล เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน จะได้ช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดตามมา โดยทั่วไปจะฉายรังสีวันละ 1 ครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ หยุดพักเสาร์อาทิตย์ 2 วันแล้วเริ่มต้นใหม่ เวียนไปแบบนี้จนได้ปริมาณรังสีครบตามที่รังสีแพทย์กำหนด…

รู้ทันมะเร็ง : เจ็บปวดจากมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  14 ก.พ. 2557           นอกจากความเจ็บปวดรวดร้าวในจิตใจของผู้ป่วยเมื่อทราบข่าวว่าตนเองโชคร้ายต้องเป็นมะเร็งแล้ว ญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดก็มีความรู้สึกทุกข์ใจไม่ต่างกัน เพียงแต่อาจไม่มากเท่าเจ้าตัวเท่านั้น แต่อาการทางกายที่มีมากมายหลายรูปแบบจากตัวโรคมะเร็งเองนั้น อาการเจ็บปวดก็นับเป็นอาการที่พบบ่อยอาการหนึ่งของโรคมะเร็งคือพบประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยมะเร็ง แม้ว่าอาการนี้ส่วนใหญ่มักจะปรากฏขึ้นในระยะที่โรคลุกลามไปมากแล้วก็ตาม           อาการเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ สาเหตุจากตัวโรคมะเร็งเองมีการลุกลามไปเนื้อเยื่อข้างเคียงรอบๆ หรือแพร่กระจายไปอวัยวะที่ห่างออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 65-85 ที่ทำให้เกิดอาการปวดได้บ่อยคือกระจายไปกระดูก มีการทำลายเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกยุบตัวและหักในที่สุด ส่วนสาเหตุการปวดจากผลที่ตามมาหลังการรักษาเป็นสาเหตุร้อยละ 15-25 ของอาการปวด เช่น การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง อาจทำให้เกิดเนื้อเยื่อพังผืดไปล้อมและดึงรั้งเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณนั้นตามมา หรือจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดท้องจากท้องผูก ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น           ส่วนการรักษานั้นขึ้นกับสาเหตุเป็นหลัก โดยภาพรวมแล้วร้อยละ 90…

รู้ทันมะเร็ง : เมื่อรังไข่กลายเป็นรังมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 ส.ค. 2557           “รังไข่” อวัยวะเฉพาะเพศหญิงเพศแม่ ที่เดือนสิงหาคมนี้บรรดาลูกๆ ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพท่านเป็นพิเศษ เพราะรังไข่เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกในอุ้งเชิงกราน อาการที่จะแสดงหรือเตือนให้เจ้าตัวรู้ล่วงหน้าว่าเป็นมะเร็งแต่เนิ่นๆ นั้นจึงแทบจะไม่มี จึงจัดเป็นมะเร็งที่เป็นภัยเงียบตัวจริงเสียงจริงก็ว่าได้           จากสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยฉบับล่าสุดปี 2550 – 2552 พบว่ามะเร็งรังไข่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งในเพศหญิงไทย พบอยู่ที่ 6.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยรักษาตำแหน่งอยู่ในอันดับที่ 6 อย่างคงเส้นคงวามาตลอดตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา แต่จำนวนผู้ป่วยที่พบมีแนวโน้มสูงขึ้นจาก 5.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนในช่วงปี 2544 – 2546 เป็น 5.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนในช่วงปี 2547 – 2549 เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นแบบนี้ก็ต้องใส่ใจสุขภาพรังไข่กันให้มากยิ่งขึ้น เพราะมะเร็งรังไข่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ามะเร็งอื่นๆ ของอวัยวะเพศหญิง เนื่องจากกว่าจะมาพบแพทย์…

รู้ทันมะเร็ง : ผ่าตัดมะเร็งโดยใช้กล้อง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  22 ส.ค. 2557           พูดถึงการผ่าตัด ปัจจุบันทั้งคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่อยากสวยอยากหล่อต่างเดินเข้าเดินออกคลินิกเสริมความงามและโรงพยาบาล เพื่อรับการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งกันเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับการผ่าตัดรักษามะเร็งนั้น คงไม่มีใครอยากมีประสบการณ์ แม้ว่าจะเป็นการรักษามะเร็งวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง           ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งของอวัยวะใดก็ตาม ถ้าก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ในอวัยวะนั้น หรือยังอยู่ในระยะที่ยังมีการลุกลามไปแค่อวัยวะข้างเคียงรอบๆ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปอวัยวะที่ห่างไกลออกไป การผ่าตัดกวาดล้างถอนรากถอนโคน โดยจัดการตัดผูกหลอดเลือดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งเล็ดลอดออกไปตามกระแสเลือดในขณะที่ศัลยแพทย์กำลังทำผ่าตัดนั้น ถือเป็นการรักษามาตรฐานที่ถือปฏิบัติตามหลักศัลยกรรมมะเร็งวิทยามาช้านาน การผ่าตัดที่จะสามารถจัดการควบคุมทุกอย่างตามที่กล่าวมาได้นั้น ย่อมหลีกเลี่ยงการผ่าตัดแบบเปิดอ้าซ่าโอ่โถงไม่ได้ การผ่าตัดแบบขี้เหนียวขนาดของแผลผ่าตัด กลับเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ อุปกรณ์กล้องส่องตรวจและจอรับภาพมีการพัฒนามากขึ้น ทำให้การผ่าตัดมะเร็งโดยใช้กล้องจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ยอมรับในการรักษามะเร็งในปัจจุบัน           อันที่จริงแล้วการผ่าตัดโดยใช้กล้องมี 2 วิธีการหลัก วิธีการแรกคือการใช้กล้องส่องตรวจผ่านเข้าไปในช่องรูทวารต่างๆ ที่มีอยู่ตามอวัยวะปกติ ไม่ว่าจะเป็นรูจมูกผ่านคอหอย กล่องเสียง หลอดลมลงไปถึงปอด หรือใส่กล้องผ่านช่องปาก ลงไปดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ท่อน้ำดี…

รู้ทันมะเร็ง : ผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  21 มี.ค. 2557           ปัจจุบันการผ่าตัดมะเร็งเต้านมไม่ได้จำกัดอยู่แค่การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างแบบยกทิ้งกันทั้งหมดเหมือนในอดีตเมื่อสิบกว่าปีก่อน เชื่อว่าหลายท่านอาจทราบว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมหรือเก็บเต้านมเอาไว้ เป็นเรื่องปกติที่ทำกันอยู่เป็นประจำโดยให้ผลการรักษาที่ไม่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่าการผ่าตัดไม่ว่าจะตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างหรือแบบสงวนเต้านมไว้ จะเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนหรือไม่อย่างไรมากกว่า           ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกรายจะสามารถเลือกการผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้เสมอไป หลักการในการพิจารณาการผ่าตัดแบบสงวนเต้าเพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัยด้านตัวมะเร็ง ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย และสุดท้ายปัจจัยเรื่องลักษณะเต้านมข้างที่จะเก็บไว้ เริ่มที่ปัจจัยด้านตัวมะเร็งกันก่อน ลักษณะความดุร้ายของเซลล์มะเร็ง ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง ก็ไม่ควรผ่าตัดแบบสงวนเต้า เช่นเดียวกับขนาดของก้อนมะเร็ง ถ้ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของตัวเต้านม ก็อาจไม่เหมาะสมที่จะผ่าตัดแบบสงวนเต้า เพราะเหลือเนื้อเต้านมปกติอยู่ไม่มาก เก็บไว้ก็เหมือนไม่เก็บ แบบนี้ก็ตัดทิ้งออกหมดเลยจะดีกว่า           การกระจายตัวของเซลล์มะเร็งในเต้านมข้างนั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา ถ้ามีการกระจายหลายตำแหน่ง ก็ไม่สามารถเลือกการผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย เช่น อายุยังน้อย พันธุกรรมมียีนผิดปกติที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำในเนื้อเยื่อส่วนที่เหลือ ก็ไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถรับการฉายแสงบริเวณเต้านมได้ ก็ไม่ควรเลือกวิธีการผ่าตัดแบบสงวนเต้า…

รู้ทันมะเร็ง : ป้องกันมะเร็งหลีกเลี่ยงน้ำมันทอดซ้ำ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  26 ก.ย. 2557           จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีในนโยบายข้อที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข สุขภาพประชาชน ให้เน้นเรื่องการป้องกันโรคมากกว่าการรอให้ป่วยแล้วมาตามรักษา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะมีโรคจำนวนไม่น้อยที่มีหลายสาเหตุและอีกหลายโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น หลายโรคที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกด้วย เช่น มลพิษในสภาพแวดล้อมรอบตัว การป้องกันโรคเหล่านี้ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก โดยเฉพาะโรคมะเร็งอย่างที่รู้ๆ กัน           นอกจากนั้นนโยบายด้านสุขภาพของรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขใหม่ทั้ง 2 ท่านทั้ง 10 ด้าน ในข้อที่ 3 สร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทยตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการและอาหารปลอดภัย มีการให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำมันทอดซ้ำซึ่งเป็นต้นตอของหลายปัญหาสุขภาพ ตั้งแต่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสะสมในตับและที่สำคัญคือโรคมะเร็ง           เหตุเพราะในน้ำมันทอดซ้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ก็ตาม มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากมายหลายชนิด…