รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งกับน้ำอัดลม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  23 มี.ค. 2555           ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ มีข่าวฮือฮาที่สหรัฐอเมริกาเรื่องมีสารก่อมะเร็งในส่วนผสมของน้ำอัดลมสีดำยี่ห้อดังหลายยี่ห้อ ทำเอาบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลมทั้งรายเล็กรายใหญ่ต้องออกโรงมาชี้แจงกันเป็นการใหญ่           เหตุของเรื่องมาจากการที่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทางมลรัฐแคลิฟอร์เนียได้เพิ่มรายชื่อสาร 4-เมธิลอิมิดาโซลเป็นสารก่อมะเร็งตัวใหม่ในกฎหมายของรัฐ สืบเนื่องมาจากการที่มีงานวิจัยพบว่าเจ้าสารตัวนี้ทำให้เกิดมะเร็งในหนูทดลอง สาร 4-เมธิลอิมิดาโซลที่ว่าเป็นสารที่ไม่ได้ถูกรับเชิญให้มาอยู่ในน้ำดำอย่างเต็มอกเต็มใจผู้ผลิตสักเท่าไรนัก แต่เป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการผลิต การที่จะทำให้น้ำอัดลมมีสีดำนั้น เขาใช้คาราเมลหรือน้ำตาลที่ผ่านการเคี่ยวจนเหนียวข้นเป็นสีน้ำตาลมาผสมกับสารอีกตัวคือ แอมโมเนียซัลไฟต์ เพื่อให้ได้สีที่เข้มขึ้นเป็นสีดำอย่างที่เราเห็น แต่ดันได้สาร 4-เมธิลอิมิดาโซลแถมมาอยู่ในน้ำดำด้วย นอกจากนั้นปริมาณของสารในน้ำดำยังสูงเกินมาตรฐานที่กฎหมายรัฐแคลิฟอร์เนียกำหนดไว้ซะอีก ทางการจึงแจ้งเตือนประชาชนและกำชับกับทางบริษัทผู้ผลิตน้ำดำทั้งหลายว่า ห้ามหมกเม็ดต้องติดฉลากคำเตือนเรื่องสารก่อมะเร็งที่ภาชนะบรรจุเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องอันมีผลต่อสุขภาพ           ทางด้านบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่และสมาคมเครื่องดื่มของสหรัฐอเมริกา ก็รีบออกแถลงการณ์ในนามตัวแทนผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มทั่วสหรัฐว่า บริษัทยินยอมเปลี่ยนแปลงส่วนผสมในการผลิตน้ำดำอย่างไม่อิดออด แม้จะอ้างว่ามีงานวิจัยแค่เพียงฉบับเดียวที่สนับสนุน และที่สำคัญไม่ใช่ยอมเปลี่ยนเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น แต่จะใช้กับทุกรัฐทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว แถมยังยืนยันกับแฟนน้ำดำว่ารสชาติของเครื่องดื่มยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐหรือเอฟดีเอก็ออกมาให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่า หากจะให้คนเราได้รับสาร 4-เมธิลอิมิดาโซลในปริมาณที่เท่ากับที่หนูทดลองได้รับในงานวิจัย เราจะต้องดื่มน้ำดำทุกวัน วันละเป็นพันๆ กระป๋องติดต่อกันหลายปีจึงจะเป็นมะเร็ง ทำให้ผู้บริโภคใจชื้นขึ้นมาบ้าง…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากซากไก่ใส่ฟอร์มาลิน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  24 มิ.ย. 2554           ข่าวการจับกุมผู้ประกอบการชำแหละซากไก่ผิดกฎหมายที่ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทำเอาผู้คนเลิกบริโภคไก่ไปพักใหญ่ เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าอาหารที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ จะมีเนื้อไก่ที่ชำแหละจากซากไก่ที่ตายแล้วผ่านกรรมวิธีทำให้ดูดีด้วยการใช้ดินประสิวและฟอร์มาลินอยู่บ้างหรือเปล่า แม้ว่าทางกระทรวงสาธารณสุขจะออกมาให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อไก่ที่ถูกสุขอนามัยแล้วก็ตาม ก็อดเป็นห่วงชาวบ้านตามหมู่บ้านที่ห่างไกลที่ซื้อเนื้อไก่จากรถปิกอัพเร่ขายกับข้าวมิได้ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น ที่น่าวิตกกว่านั้น ก็คือผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อไก่ที่ยากจะแยกแยะได้ว่าจะมีเนื้อไก่พันธุ์อย่างว่าผสมอยู่บ้างหรือไม่           ฟอร์มัลดีไฮด์และฟอร์มาลินเป็นสารเคมีตัวเดียวกัน แต่อยู่ในสถานะต่างกัน ถ้าเป็นของเหลวเรียกว่า “ฟอร์มาลิน” หรือน้ำยาดองศพที่เราคุ้นเคย ถ้าสถานะเป็นก๊าซก็เรียกว่า “ฟอร์มัลดีไฮด์” ทั้งสองตัวมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนใหญ่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก ไม้อัด โฟม การฟอกหนัง ในบ้านเราเคยมีข่าวว่าเอาอาหารทะเล ผักผลไม้มาแช่ฟอร์มาลินเพื่อรักษาสภาพอาหารให้ดูสดใหม่เน่าเสียช้า สารตัวนี้จัดเป็นวัตถุอันตราย ห้ามใช้ในอาหารโดยเด็ดขาด หากได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจจะเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ทางการกินจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดแสบท้อง ท้องเสีย นอกจากนั้นยังทำลายระบบประสาท ส่วนกลางและเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เป็นหมันได้        …

รู้ทันมะเร็ง : ไนโตรซามีน : สารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์หมักดอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  3 มิ.ย. 2554           อาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกประเภทที่ใช้วิธีการถนอมอาหารด้วยกระบวนการหมักดอง ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยอย่างปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ปลาเค็ม แหนม หมูยอ กุนเชียงหรืออาหารต่างชาติอย่างพวกไส้กรอก แฮมและเบคอน อาจเป็นอาหารโปรดของใครหลายๆ คน แต่ต้องขอขัดใจที่จะบอกว่าอาหารเหล่านี้มีสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่าไนโตรซามีนอยู่ไม่มากก็น้อย           เนื่องมาจากในเนื้อสัตว์ตามธรรมชาตินั้นมีสารเอมีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อมีการเติมสารไนเตรตหรือสารไนไตรท์ซึ่งเป็นสารกันบูด เป็นสารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสีสดอยู่เสมอและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเพื่อไม่ให้อาหารเน่าเสีย ที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆ ก็คือดินประสิวหรือโปตัสเซียมไนเตรต เมื่อไนเตรตหรือไนไตรท์ทำปฏิกิริยากับเอมีนในเนื้อสัตว์จึงเกิดสารไนโตรซามีนขึ้น นอกจากนั้น สารที่ใช้ปรุงรส เช่น พริกและพริกไทยยังเป็นส่วนช่วยเพิ่มการเกิดไนโตรซามีนให้มากขึ้นได้อีกด้วย           จากงานวิจัยพบว่าสารไนโตรซามีนก่อให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง ส่วนในคนมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร ในอาหารประเภทปลาน้ำจืดสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาร้า ปลาจ่อม…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากกล่องโฟม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  29 เม.ย. 2554           ทุกวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักกล่องโฟม โดยเฉพาะสังคมที่มีแต่ความเร่งรีบจะมีสักกี่บ้านที่ทำอาหารกินเองได้ทุกมื้อ หลายคนจำเป็นต้องฝากท้องโดยเฉพาะมื้อเที่ยงมื้อเย็นไว้กับอาหารตามสั่งร้อนๆ ใส่กล่องโฟมแล้วนำกลับไปกินที่ทำงานหรือที่บ้าน จะมีสักกี่คนที่สงสัยว่าเจ้ากล่องโฟมนี่มันถูกล้างทำความสะอาดมาแล้วหรือยัง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น จะมีสักกี่คนที่จะให้ความสนใจเรื่องสารเคมีจากกล่องโฟมที่ออกมาปนเปื้อนกับอาหารมากกว่าการเอาใจจดจ่ออยู่กับว่าเมื่อไหร่จะได้อาหารที่สั่งเสียที           กล่องโฟมที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีมีชื่อภาษาอังกฤษว่าโพลีสไตรีน ทำมาจากสารตั้งต้นที่ชื่อสไตรีน เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลองโดยการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอและโครโมโซม แต่ในคนยังไม่มีผลการศึกษาอย่างชัดเจน ดังนั้น องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติจึงจัดเจ้าสารสไตรีนเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2B คือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสารก่อมะเร็งในคนและมีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำมันและแอลกอฮอล์ ดังนั้น หากนำจานชามโฟมใส่อาหารที่มีไขมันสูงหรือใช้ถ้วยโฟมเป็นภาชนะสำหรับดื่มเหล้าดื่มเบียร์ ก็ยิ่งทำให้สารสไตรีนละลายออกมาเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถละลายได้ดีขึ้นที่อุณหภูมิสูง จากการที่เจ้าสารสไตรีนสามารถละลายในไขมัน เมื่อมีการสะสมของสารนี้ทีละน้อยเป็นเวลานานๆ จึงมักจะไปสะสมในเนื้อเยื่อที่มีไขมันสูง เช่น สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย วิตกกังวล นอนไม่หลับ และอาการอื่นๆ ทางระบบประสาท นอกจากนั้นยังมีอันตรายต่อระบบโลหิตคือทำให้เกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดต่ำลง           ปัจจุบันทั่วโลกมีการตื่นตัวและมีการรณรงค์งดใช้สิ่งของที่ทำจากโฟมรวมไปถึงการไม่ใช้โฟมเพื่อป้องกันของแตกหักในการขนส่ง ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกามีการห้ามใช้โฟมในการขนส่งสินค้า…

รู้ทันมะเร็ง : น้ำมันทอดซ้ำ เหตุก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  25 มี.ค. 2554           แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มจะได้รับการจัดการผ่านไปแล้วก็ตาม ข่าวการจับกุมผู้ประกอบการโรงงานบรรจุน้ำมันพืชใช้แล้วที่นำไปบรรจุปี๊บส่งขายพ่อค่าแม่ค้าตามตลาด โดยใช้วิธีการเพียงแค่กรองด้วยผ้ากรองเพื่อให้ดูใสขึ้นนั้น แม้ทางโรงงานจะอ้างว่าจะนำไปส่งให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ก็นับว่าเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรมและขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมอย่างยิ่ง           เหตุเพราะในน้ำมันทอดซ้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ก็ตาม มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากมายหลายชนิด ที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง ตัวหลักๆ ที่เป็นผู้ร้ายหัวหน้าแก๊งคือ สารโพลาร์และสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเกิดขึ้นหลังการทอดอาหาร ยิ่งใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำบ่อยเท่าไหร่ สารพวกนี้ยิ่งเกิดมากขึ้น ในทางปฏิบัติ เราใช้ชุดทดสอบคุณภาพน้ำมันทอดซ้ำอย่างง่าย โดยเป็นการตรวจหาระดับสารโพลาร์ ถ้าค่าสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก น้ำมันนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่าปลอดจากสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เนื่องจากไม่สามารถวัดได้โดยชุดทดสอบคุณภาพอย่างง่ายดังกล่าว           จากการศึกษาพบว่า การใช้น้ำมันทอดซ้ำทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง ที่น่าสนใจก็คือไม่เพียงแต่อันตรายที่เกิดจากการบริโภคด้วยการกินเท่านั้น การหายใจเอาไอน้ำมันหรือควันจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำก็ทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน จากงานวิจัยที่ประเทศจีนพบว่า ผู้หญิงจีนที่ไม่สูบบุหรี่จำนวนมากป่วยเป็นมะเร็งปอด ซึ่งเมื่อดูจากประวัติแล้ว…

รู้ทันมะเร็ง : เมื่อมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมาเยือน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  24 ต.ค. 2257           เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวการจากไปของช่างแต่งหน้าชั้นนำของเมืองไทย ที่เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือลิมโฟม่า หลังจากเมื่อหลายปีก่อนโชคร้ายที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็โชคดีที่รักษาหายขาด กลับมาโชคร้ายซ้ำสองจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเข้าไปอีก ผู้คนในสังคมเลยกลับมาให้ความสนใจกับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกันอีกครั้ง จากสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยฉบับล่าสุดปี 2550-2552 พบว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิ้นพบมากเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งในเพศชายไทย พบอยู่ที่ 6.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และเป็นอันดับ 9 ของมะเร็งในเพศหญิงไทย พบอยู่ที่ 4.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยจังหวัดที่พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากที่สุดคือจังหวัดระยอง           ก่อนอื่นมาทำความรู้จักต่อมน้ำเหลืองกันก่อนว่าคืออะไร ต่อมน้ำเหลืองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลืองของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการขนส่งน้ำเหลืองไปตามหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกันและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่สองคือหลอดน้ำเหลืองซึ่งภายในประกอบไปด้วยน้ำเหลืองและเชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองในแต่ละจุด และส่วนสุดท้ายพระเอกของเรื่องคือต่อมน้ำเหลืองซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายเม็ดถั่ว ภายในประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองพบได้ทั่วร่างกายแต่ที่คลำได้ง่ายมักพบบ่อยบริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ นอกจากนั้นต่อมทอนซิล ม้าม และต่อมไทมัสก็เป็นอวัยวะที่จัดอยู่ในระบบน้ำเหลืองเช่นกัน ดังนั้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 4 : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  2 ส.ค. 2556           ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ข่าวคราวในวงการมะเร็งบ้านเราไม่มีข่าวไหนจะดังเกินข่าวการเจ็บป่วยของนักร้องลูกทุ่งขวัญใจคนเดิม สายัณห์ สัญญา มีการแถลงข่าวโดยแพทย์ผู้รักษาอย่างเป็นทางการ โดยผู้ป่วยอนุญาตให้เปิดเผยต่อสาธารณะได้ เพราะมีมิตรรักแฟนเพลงจำนวนมากที่เป็นห่วงและอยากทราบอาการของราชาเพลงลูกทุ่งผู้นี้ โดยล่าสุดแพทย์ผู้รักษาออกมายืนยันฟันธงแล้วว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะที่ 4 เมื่อเจ้าตัวรับรู้ข่าวนี้ยังยอมรับด้วยกำลังใจเต็มร้อย พร้อมที่จะต่อสู้กับโรคร้ายโดยไม่มีการเกรงกลัว ก็ต้องขอชื่นชมในกำลังใจอันเข้มแข็งของผู้ป่วยและน้ำจิตน้ำใจของคนรอบข้างไว้ ณ ที่นี้ด้วย           มาทำความรู้จักระยะของโรคมะเร็งตับอ่อนกันก่อน ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เนื้องอกยังอยู่ในตัวตับอ่อนถ้าขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตรก็เป็นระยะ 1A ถ้าใหญ่กว่า 2 เซนติเมตรก็เป็นระยะ 1B ระยะที่ 1 นี้ไม่ค่อยจะได้พบสักเท่าไร ระยะที่ 2 ก็เป็นระยะที่มีการลุกลามออกมาที่เนื้อเยื่อหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียงตับอ่อน ถ้าเป็นระยะ 2A ก็ยังไม่มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง ถ้าลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้วก็เป็นระยะ 2B ส่วนระยะที่ 3 นั้นมีการลุกลามไปที่หลอดเลือดรอบๆ…

รู้ทันมะเร็ง : พฤศจิกายนเดือนรณรงค์มะเร็งตับอ่อน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 7 พ.ย. 2557           ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ด้านสุขภาพของผู้นำระดับประเทศ ที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินออกมาปฏิเสธข่าวลือที่ว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งอีกประเภทหนึ่งที่พยากรณ์โรคไม่ค่อยจะดีเท่าไรนัก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในชาวตะวันตก รวมถึงคนดังๆ ไม่ว่าสตีฟ จ๊อบส์ สายัณห์ สัญญา ก็เสียชีวิตจากโรคนี้ ข่าวลือที่ว่าเลยสอดคล้องกับที่เดือนนี้ เดือนพฤศจิกายนที่หลายประเทศทั่วโลก กำหนดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งตับอ่อนด้วยสัญลักษณ์โบสีม่วงและมะเร็งปอดด้วยโบสีขาว           ตอนนี้มาว่ากันเรื่องมะเร็งตับอ่อนกันก่อน ปัจจุบันพบมะเร็งชนิดนี้ในบ้านเราได้มากขึ้น ต่างจากสมัยก่อนที่พบน้อย มะเร็งตับอ่อนเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศโลกตะวันตก เช่น เดียวกับโรคมะเร็งอีกหลายประเภทที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุได้แก่ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ โรคอ้วน อาหารไขมันสูง เบาหวาน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง อาการแสดงส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้องอก ถ้าเป็นบริเวณส่วนหัวของตับอ่อน ก็มักมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง คันตามตัว ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด อันเกิดมาจากการที่ก้อนมะเร็งไปกดท่อน้ำดีส่วนปลาย แต่ถ้าก้อนเนื้องอกไปโผล่ที่ส่วนกลางหรือส่วนหางของตับอ่อน มักจะไม่ค่อยแสดงอาการอะไรออกมา พอมีอาการโรคมะเร็งก็มักจะลุกลามไปมากแล้ว อาการส่วนใหญ่ก็ไม่จำเพาะเจาะจงอะไร…

รู้ทันมะเร็ง : พฤศจิกายนเดือนต้านภัยมะเร็งปอด : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  21 พ.ย. 2557           เดือนพฤศจิกายนเดือนนี้หลายประเทศทั่วโลกนอกจากจะกำหนดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งตับอ่อนแล้ว ยังยกให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งปอดด้วยเช่นกัน โดยใช้สัญลักษณ์โบว์สีขาว สถานการณ์มะเร็งปอดในประเทศไทยนั้นก็ยังน่าเป็นห่วง โดยเป็นมะเร็งที่คนไทยป่วยมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งตับ มีผู้ป่วยใหม่ปีละ 14,000 รายและเสียชีวิตประมาณ 12,000 รายต่อปี           อาการของมะเร็งปอดที่พบบ่อยเป็นอาการของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่อาการไอ ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้ อาการไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อปอด ปกติเหลือน้อยลง หรือก้อนมะเร็งปอดกดเบียดหลอดลม เจ็บหน้าอก แต่อาการเหล่านี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นอาการของมะเร็งปอดเสมอไป นอกนั้นก็เป็นอาการของระบบอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บวมที่บริเวณใบหน้า แขน ลำคอและทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีการกดเบียดหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณคอ เสียงแหบเพราะมะเร็งปอดลุกลามไปยังเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล่องเสียง ปวดกระดูกกลืนลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร อัมพาตเนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการที่ก้อนมะเร็งปอดได้ลุกลามไปมากแล้ว        …

รู้ทันมะเร็ง : ใช้ความร้อนฆ่ามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  4 พ.ค. 2555           ท่ามกลางอากาศร้อนระอุแบบทำลายสถิติเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะเป็นสถิติอุณหภูมิสูงสุดของประเทศ สถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ร้อนแบบชนิดที่หลายคนบอกว่าอาบน้ำไปเหงื่อออกไป ร้อนจนถนนระเบิดถนนทรุดจนถึงขนาดแผ่นดินลุกเป็นไฟในหลายพื้นที่ ซึ่งไม่เคยปรากฏก็มีให้เห็นกันแล้วในปีนี้ เกิดพายุฤดูร้อน ลูกเห็บตกไปทั่วประเทศ นอกจากจะมีปัญหาภัยแล้งพืชผักจะมีราคาสูงแล้ว เป็ดไก่พากันไม่ออกไข่ สัตว์น้ำก็พากันตายเพราะอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ ทำเอาเครียดไปตามๆ กัน           วกกลับมาเรื่องการใช้ความร้อนรักษาโรคมะเร็ง มีทั้งใช้แบบเฉพาะจุดเฉพาะที่ เฉพาะส่วนหรือทั่วทั้งร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ความร้อนร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เช่น การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด ตามคำจำกัดความนั้นอุณหภูมิที่ใช้ไม่สูงเกินกว่า 113 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 45 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระดับอุณหภูมิดังกล่าวส่งผลให้โปรตีนและโครงสร้างภายในเซลล์มะเร็งถูกทำลาย ไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงลิบเกือบร้อยองศาเซลเซียสแบบที่หลายคนเข้าใจกัน นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย           กรณีที่โรคมะเร็งยังเป็นเฉพาะที่ ไม่ว่าจะอยู่ภายนอกที่ผิวหนัง ในอวัยวะที่เป็นท่อกลวง หรือแม้แต่ในอวัยวะส่วนลึก กลุ่มนี้อาจใช้คลื่นไมโครเวฟ การจี้ด้วยไฟฟ้า…