รู้ทันมะเร็ง : มิถุนายนเดือนรณรงค์มะเร็งเพศชาย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 มิ.ย. 2557           เดือนมิถุนายนเดือนนี้ในต่างประเทศ เขาจัดให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์สุขภาพของเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ มีการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ 10 แล้ว เพื่อให้คุณผู้ชายทุกวัยตื่นตัวเอาใจใส่ดูแลสุขภาพกันให้ดีมากยิ่งขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การให้ความรู้ โดยบางประเทศจัดรณรงค์เป็นพิเศษทั้งสัปดาห์ มีการใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์ทั่วทั้งประเทศ           การรณรงค์สุขภาพเพศชายเริ่มจากการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ตั้งแต่การรับประทานอาหารหลากหลายหมู่ที่ดีต่อสุขภาพอย่างเพียงพอ ไม่กินอาหารจนอิ่มเกิน เน้นการบริโภคผักและผลไม้ในทุกมื้ออาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อและสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง การเล่นกับลูกหลาน การเดินขึ้นบันไดให้เป็นนิสัย การทำสวน เรียกง่ายๆ ว่ามีกิจกรรมที่ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวบ่อยๆ กว่าที่เคยเป็น ไม่จำเป็นต้องเป็นกีฬาที่เป็นทางการเสมอไป เน้นการป้องกันโรค การตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการตรวจความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด การตรวจต่อมลูกหมาก จากสถิติพบว่าเพศหญิงมีความใส่ใจมาตรวจสุขภาพประจำปีมากกว่าเพศชาย นอกจากนั้นยังเน้นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเพศชายสูงวัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน เบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูงและอีกมากมายหลายโรค รวมไปถึงโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน    …

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งไทยไปเมืองนอก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  2 พ.ค. 2557           อีกปีเศษๆ ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การเตรียมการในทุกภาคส่วนก็กำลังดำเนินการอย่างขมีขมัน ไม่เว้นแม้แต่วงการการแพทย์และสาธารณสุขที่มีแนวโน้มว่าจะมีทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยจากต่างประเทศ เดินทางเข้ามาให้บริการและรับบริการทางการแพทย์ของบ้านเรามากขึ้น ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลเอกชนบ้านเราก็ออกไปเปิดโรงพยาบาลสาขาเพื่อหาเงินเข้าประเทศ ส่วนหน่วยงานภาคราชการก็ออกไปช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่           ในภูมิภาคอาเซียนนั้นโรคมะเร็งนับเป็นปัญหาสำคัญเหมือนกันของทุกประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งทั่วทั้งภูมิภาคประมาณ 700,000 คน เสียชีวิตปีละ 500,000 ราย มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยใน 5 อันดับแรกคล้ายกัน ต้องขอกล่าวด้วยความภาคภูมิใจเลยว่า ในวงการมะเร็งนั้น ประเทศไทยเราถือว่าอยู่ในระดับแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียน ไม่เพียงแต่เรื่องการรักษาทั้งในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้มาตรฐานระดับโลก ในราคาไม่แพง ถูกกว่าการรักษาแบบเดียวกันในยุโรปและสหรัฐอเมริกาหลายเท่าตัว จนมีผู้ป่วยทั้งจากยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลางบินมารักษากันมากมาย จนนำเงินเข้าประเทศปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านบาท แต่เรื่องที่หลายท่านอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน ก็คือประเทศไทยเรายังเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ ในเรื่องการทำทะเบียนมะเร็งและการตรวจคัดกรองมะเร็งในระดับชาติ เพื่อค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น จากการที่มีผลงานชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงเป็นแหล่งศึกษาฝึกอบรม…

รู้ทันมะเร็ง : จับมะเร็งมาขึ้นทะเบียน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  7 ก.พ. 2557           วันนี้ขอถือโอกาสเขียนถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของการจัดการเรื่องโรคมะเร็งที่ไม่ค่อยจะมีโอกาสพูดถึง เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทะเบียนมะเร็งนานาชาติแห่งทวีปเอเชียในวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์นี้ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับ 3 องค์กรหลักด้านโรคมะเร็ง คือองค์กรวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ สมาคมทะเบียนมะเร็งระหว่างประเทศ และสมาคมป้องกันโรคมะเร็งแห่งเอเชียแปซิฟิก โดยมีวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกมุมโลก           ก่อนอื่นมารู้จักการทำทะเบียนมะเร็งกันก่อนดีกว่า จากการที่โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกภูมิภาคทั่วโลก ส่งผลให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกจึงสนับสนุนให้ทุกประเทศจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง โดยการทำทะเบียนมะเร็งถือเป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่สำคัญในแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง เนื่องจากทะเบียนมะเร็งเป็นแหล่งรวมข้อมูลโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ตลอดจนอุบัติการณ์การเกิดโรคและการเสียชีวิต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญในการทราบถึงปัญหาโรคมะเร็งในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน ที่สำคัญจะนำไปสู่การวางแผนการจัดการมะเร็งที่พบบ่อยในพื้นที่นั้นๆ อย่างเป็นระบบมากกว่าการนำข้อมูลทะเบียนมะเร็งของพื้นที่อื่นมาใช้วางแผนในการแก้ปัญหา           เมื่อทุกพื้นที่มีการทำทะเบียนมะเร็งอย่างมีคุณภาพก็จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านโรคมะเร็งของประเทศในภาพรวมชนิดที่เกาถูกที่คันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนการป้องกัน แผนการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มต้น แผนการวินิจฉัยและการรักษา และแผนการทำวิจัยด้านโรคมะเร็ง ดังนั้นการทำทะเบียนมะเร็งจึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญอย่างยิ่งทั้งการทำทะเบียนมะเร็งในระดับโรงพยาบาลและในระดับประชากร          …

รู้ทันมะเร็ง : 4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก           ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองในบ้านเราขณะนี้ วงการการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกให้ความสำคัญกับวันต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี คือวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถูกกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก โดยองค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากล เพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกิดความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคร้ายนี้ เนื่องจากมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ 7.6 ล้านคนหรือร้อยละ 13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกและพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 12.7 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นประชากรในประเทศที่มีรายได้น้อยหรือปานกลาง ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย           โดยในปีนี้ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์เรื่องการทำลายความเชื่อที่ผิด 4 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก เราไม่ควรพูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง เพราะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าหรือเป็นเรื่องที่น่าอาย ที่ต้องการปกปิดไว้ไม่ให้ใครรู้ แต่ความจริงคือการที่ได้พูดคุยกันเรื่องโรคมะเร็ง รวมไปถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งในสังคม จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในการดูแลตนเองตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลการรักษาที่ดี และการที่ผู้ป่วยมีโอกาสพูดคุย จะสามารถระบายและสามารถปรึกษาผู้อื่นรวมถึงญาติพี่น้อง ซึ่งจะช่วยให้ความวิตกกังวลลดลง รวมถึงผู้ที่ดูแลผู้ป่วยก็จะมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง          …

รู้ทันมะเร็ง : ‘ปี57เผด็จศึกมะเร็ง’ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  3 ม.ค. 2557           ก้าวสู่ศักราชใหม่ปีมะเมีย ต้นปีแบบนี้เชื่อว่าหลายท่านยังคงอยู่ในบรรยากาศของงานฉลองปีใหม่ยังไม่เลิกรา หลายท่านก็ยังเครียดกับสถานการณ์บ้านเมือง ก็อย่าลืมสนใจสุขภาพตัวเองด้วย ช่วงต้นปีแบบนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการวางแผนตั้งเป้าหมายที่จะทำ โดยเฉพาะเรื่องการเผด็จศึกเอาชนะโรคมะเร็งไม่ให้มาเยี่ยมเยือนเราในปีนี้           การเอาชนะโรคมะเร็งไม่ใช่งานของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นงานที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมมือร่วมใจแก้ไขกันในระยะยาว เพราะปัจจุบันปัญหาโรคมะเร็งไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสุขภาพที่มีผลแค่ตัวผู้ป่วยและญาติอีกต่อไปแล้ว มะเร็งเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสภาพสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ที่ทำงาน ชุมชนและประเทศชาติ ลองนึกถึงภาพเพื่อนร่วมงานที่ป่วยเป็นมะเร็งย่อมส่งผลให้ผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ไม่มีกะจิตกะใจในการทำงานเมื่อรู้ข่าวบ้างไม่มากก็น้อย นอกจากนั้นมะเร็งยังเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชน ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อมมีมูลค่าหลายพันหลายหมื่นล้านบาทต่อปี แม้ว่าในบ้านเรายังไม่มีการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ ที่สำคัญปัญหาที่ตามมาในระหว่างที่เป็นมะเร็งและขณะที่ได้รับการรักษามะเร็งอยู่นั้น เป็นปัญหาที่คอยเกาะกินบั่นทอนอยู่ยาวนานจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต เพราะฉะนั้นในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์ควบคุมมะเร็งสากลจึงให้ความสำคัญกับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งมากยิ่งขึ้น           วกกลับมาเรื่องการแก้ปัญหามะเร็งในระดับชาติของบ้านเราในปี 2557 นี้ การให้บริการด้านโรคมะเร็งจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น จากการปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคมะเร็งที่ครอบคลุมทั้ง 7 ด้านตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา การดูแลแบบประคับประคอง สารสนเทศโรคมะเร็ง…

รู้ทันมะเร็ง : ถอดบทเรียนมะเร็งปี56 : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 T.8. 2556           ปี 2556 ปีแห่งความสับสนวุ่นวายทางการเมืองกำลังจะผ่านไป ปีใหม่กำลังจะเวียนมา มาทบทวนเรื่องราวข่าวสารมะเร็งที่สำคัญในรอบปีที่ผ่านมา ก่อนจะลืมเลือนกันไปกันดีกว่า..           เริ่มตั้งแต่ต้นปีมีข่าวการตรวจพบสารก่อมะเร็งกรดอริสโตโลคิค ในตำรับยาแผนไทยรวม 10 ตำรับจากบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ชื่อว่าไคร้เครือ อันได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะการพลู ยาประสะเจตพังคี ยามัมทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาเขียวหอม และยาอำมฤควาที ที่ต้องระบุชื่อให้ชัดกันอีกครั้งก็เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามด้วยบทความของด็อกเตอร์เจมส์ วัตสัน นักชีววิทยาโมเลกุลชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ที่ออกมาระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ใครๆ ว่าดีนั้น อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งและยังอาจทำให้มะเร็งที่เป็นอยู่กลับแย่ลงเร็วเสียด้วยซ้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งในระยะสุดท้าย นอกจากนั้นสถาบันวิจัยมะเร็ง ประเทศอังกฤษก็เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ว่า สารต้านอนุมูลอิสระไม่ช่วยป้องกันมะเร็งในคนที่สุขภาพดีอยู่แล้วและอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ก็ยังต้องหาคำตอบด้วยการทำวิจัยกันต่อไป           ต่อกันด้วยเรื่องเก่าที่ต้องเตือนภัยกันทุก 4…

รู้ทันมะเร็ง : ป้องกันมะเร็งอย่างเป็นระบบ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 29 พ.ย. 2556           ใครๆ ก็ชอบถามคำถามว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทำอย่างไรถึงไม่เป็นมะเร็ง ทุกครั้งที่รู้ว่าผู้เขียนทำงานอะไรอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีข่าวคนดังในบ้านเราเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง           สถานการณ์มะเร็งบ้านเราปัจจุบันยังพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับสถิติการเสียชีวิตอันดับหนึ่งต่อเนื่องมาหลายปี เรียกว่าช่วงนี้ทุกชั่วโมงจะมีผู้ป่วยมะเร็งใหม่ชั่วโมงละ 14 รายและมีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตชั่วโมงละ 7 ราย โดยเป็นมะเร็งของทุกอวัยวะรวมกันทำให้ตัวเลขดูสูงจนน่ากลัว ประเด็นหลักที่ทำให้ภาพรวมของโรคมะเร็งเป็นแบบนี้ หนีไม่พ้นเรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีมากมายหลายอย่าง มะเร็งของแต่ละอวัยวะก็มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แตกต่างกันไป และมะเร็งของหลายอวัยวะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน จึงใช้คำว่าปัจจัยเสี่ยงแทน แม้ว่าจะแบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุคือ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมและสุดท้ายคือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์เป็นสาเหตุไม่มากมายนักแค่ 5-10% ของมะเร็งที่พบทั้งหมด แต่เจ้า 2 ปัจจัยที่เหลือคือพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เราทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันและควบคุมการเกิดโรคมะเร็งได้           เริ่มต้นจากหลีกเลี่ยงการได้รับสารก่อมะเร็งจากพฤติกรรมแย่ๆ ทั้งหลาย เริ่มตั้งแต่หลีกเลี่ยงยาสูบทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะแต่บุหรี่แต่อย่างเดียว ทั้งสูบเองและได้รับควันมือสอง…

รู้ทันมะเร็ง : ห่างไกลมะเร็งด้วยการออกกำลังกาย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  16 ม.ค. 2558           เริ่มศักราชใหม่ต้นปีแบบนี้ ชวนกันมาทำเรื่องดีๆ เรื่องใกล้ตัวเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า การออกกำลังกายใครๆ ก็รู้ว่ามีผลดีต่อสุขภาพมากมาย แต่ในความเป็นจริง แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา อเมริกันชนส่วนใหญ่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังไม่ค่อยใส่ใจกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่าใดนัก           จากผลของการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้เกิดสมดุลของพลังงาน ช่วยควบคุมระดับอินซูลินและฮอร์โมน และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย งานวิจัยในต่างประเทศร้อยกว่าฉบับมีหลักฐานชัดเจนว่า การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อบุมดลูก ที่สำคัญยังพบว่าคนที่ออกกำลังกายในระดับปานกลางและระดับหนักนาน 30-60 นาทีต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ออกกำลังน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ทุกคนไปหักโหมออกกำลังกันแบบไม่ได้ดูสภาพตัวเอง เดี๋ยวจะหัวใจวายกันไปหมดซะก่อน การออกกำลังกายที่ถูกต้องนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับอายุ ความแข็งแรงและสุขภาพของคนคนนั้นเป็นสำคัญ           ความหมายของการออกกำลังกายในระดับปานกลางหมายถึงการออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานมากกว่าการนั่งนิ่งๆ เฉยๆ 3-6 เท่า ส่วนระดับหนักหมายถึง มีการใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ 6…

รู้ทันมะเร็ง : กินเลี้ยงปลอดภัยห่างไกลมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  19 ธ.ค. 2557           เดือนธันวาคมเดือนแห่งการเลี้ยงฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายท่านได้รับเชิญร่วมงานเลี้ยงเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนหลังอย่างนี้ มีคำแนะนำในการกินเลี้ยงเพื่อให้มีสุขภาพดี จะได้ไม่ต้องรับเอาสารก่อมะเร็งเข้าตัวกันมากมายเกินไป           เริ่มต้นจากอาหารในงานเลี้ยงกันก่อน ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงโต๊ะจีน บุฟเฟ่ต์หรือค็อกเทล ก่อนอื่นควรตั้งอกตั้งใจไว้ให้มั่นว่า จะกินอาหารหลากหลายอย่าง อย่ากินของอร่อยหรือของที่ตนเองชอบอยู่อย่างเดียว การกินอาหารอย่างเดียวหรือไม่กี่อย่างซ้ำๆ ติดต่อกันนานๆ นอกจากจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ถ้าอาหารที่ว่านั้นมีสารก่อมะเร็งด้วย ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้มากขึ้นเท่านั้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรกินมากๆ ทั้งในงานเลี้ยงต่างๆ และในชีวิตประจำวัน ได้แก่ อาหารมันๆ ไขมันสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม มีสารก่อมะเร็งพีเอเอช อาหารเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อสัตว์หมักดอง เช่นปลาร้า ปลาส้ม…

รู้ทันมะเร็ง : ‘มะเร็ง’อีกหนึ่งโรคสำคัญในตระกูลNCD : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  12 ก.ย. 2557           ระยะหลังหลายท่านคงจะได้ยินชื่อโรคประหลาดๆ แปลกๆ ที่ไม่ค่อยคุ้นหู เช่น โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อหรือเอ็นซีดี ซึ่งอันที่จริงแล้ว โรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อนั้นมีมากมายหลายโรค แต่มีหลายโรคที่สาเหตุของการเกิดโรคมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และที่สำคัญเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล นอกเหนือจากแค่ตัวผู้ป่วยเองและญาติอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน           โรคมะเร็งถูกจัดเป็นโรคไม่ติดต่อที่สำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2542 ถึงแม้ว่าปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งจะมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม และที่สำคัญที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ก็คือ พฤติกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 40 ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อด้วยกันได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เรื่องภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานและอีกมากมายหลายโรคเท่านั้น แต่ภาวะอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของหลายอวัยวะ…