รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบไร้รอยต่อ (ตอนที่1) : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  8 มี.ค. 2556           ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาฤดูการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้สมัครทั้งที่สังกัดพรรคและผู้สมัครอิสระ แต่ละคนต่างมีนโยบายและสโลแกนในการหาเสียงแตกต่างกันไป มีผู้สมัครอยู่ท่านหนึ่งมีการออกสื่อประชาสัมพันธ์นโยบายที่จะทำงานกับรัฐบาลได้อย่างราบรื่นแบบไร้รอยต่อ ทำเอาคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่คุ้นหูกับคำว่าแบบไร้รอยต่อ เวลานี้ก็ได้รู้กันเป็นทางการเรียบร้อยแล้วว่าใครได้เป็นผู้ว่าฯคนใหม่ แต่ที่แน่ๆ ครั้งนี้คะแนนของอันดับที่หนึ่งกับสองคู่คี่สูสีกันที่สุดตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯมา                    วกกลับมาเรื่องการรักษามะเร็งแบบไร้รอยต่อกันดีกว่า ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าทั้งแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยเองก็อยากให้การรักษามะเร็งเป็นไปอย่างรวดเร็วไหลลื่นไม่ติดขัด แต่ในความเป็นจริงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีรอยต่อหลายรอย ทั้งจากตัวระบบ จากตัวผู้ให้การรักษา และจากตัวผู้รับการรักษา เริ่มจากตัวระบบกันก่อน บ่อยครั้งที่เกิดจากความล่าช้าในการส่งต่อข้อมูล การรอข้อมูลการรักษาผลการตรวจพิเศษต่างๆ จากโรงพยาบาลแรกที่ให้การรักษา การรอเอกสารรับรองสิทธิการรักษา ที่สำคัญในส่วนของตัวระบบคือความล่าช้าในการที่ผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพการรักษาที่สูงกว่า ทั้งจากการรอตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก การรอเตียงผู้ป่วยในว่าง การรอคิวการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ผู้ป่วยจึงต้องมาแออัดยัดเยียดกันอยู่ในโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและปัจจุบันมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ทรัพยากรในการให้บริการด้านสุขภาพมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้เกิดสภาพคอขวดอย่างเลี่ยงไม่ได้           …

รู้ทันมะเร็ง : ยาเคมีบำบัดไม่น่ากลัวอย่างที่คิด : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  18 พ.ค. 2555           ภาพผู้ป่วยผมร่วงศีรษะโล้นหรือใส่วิก โพกผ้าคงเป็นภาพที่คุ้นตาของใครต่อใคร หลายคนรู้โดยอัตโนมัติเลยว่าต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือยาคีโม เคโมที่ใครๆ เคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแล้ว คนส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากพาลพบหรืออยากมีประสบการณ์แบบเช่นเดียวกับการให้ยาเคมีบำบัดทั้งแบบที่ให้ เฉพาะอวัยวะหรือให้ไปทั่วทั้งร่างกายก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนด้วยเช่นกัน เหตุที่ปัจจุบันมีผู้คนป่วยเป็นมะเร็งกันมากขึ้นทุกๆ ปี ทำให้มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมากขึ้นเป็นเงาตามตัว                    จึงไม่แปลกอะไรเลยที่นับวันเราจะเห็นภาพผู้ป่วยผมร่วงศีรษะโล้นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ผลข้างเคียงต่างๆ ที่พบบ่อยไม่ว่าจะเป็นซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เกิดรอยฟกช้ำตามตัวได้ง่าย เลือดออกแล้วหยุดยาก ติดเชื้อง่ายได้จากการที่ยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์ในไขกระดูกคือเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปากเป็นแผล ท้องเสีย จากการที่ยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร ผมร่วง ผิวคล้ำ เล็บคล้ำ เล็บเปราะ ชาตามปลายมือปลายเท้า ปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกคน …

รู้ทันมะเร็ง : เจ็บเต้านมเป็นมะเร็ง? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ต.ค. 2557           อาการเจ็บหรือปวดเต้านมเป็นอีกอาการยอดฮิตติดชาร์ตที่บรรดาคุณผู้หญิง ไม่ว่าสาวน้อยสาวใหญ่ต่างพากันวิตกกังวลทุกครั้งที่มีอาการ พอๆ กันกับการคลำพบเจอก้อนที่เต้านม แม้ว่าอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมไม่มากมายนัก แต่มะเร็งเต้านมในระยะที่ลุกลามมากขึ้น ก็มักมีอาการเจ็บเต้านมร่วมด้วยเช่นกัน                    เพื่อความสบายใจในเดือนตุลาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมทั่วโลก จึงขอทำความเข้าใจเรื่องอาการเจ็บเต้านม ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคืออาการเจ็บเต้านมนั้นสัมพันธ์กับการมีประจำเดือนหรือไม่ ซึ่งมักมีอาการในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน 4-5 วัน และเป็นอยู่นาน 5-7 วัน สาเหตุเกิดจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง บางคนอาจจะเจ็บทุกรอบประจำเดือน แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะหลายคนก็เจ็บเฉพาะบางรอบเดือนเท่านั้น ถ้าไม่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ จากอวัยวะทั้งในเต้านมและนอกเต้านม ถ้าสาเหตุจากนอกเต้านม ที่พบบ่อยก็จากการอักเสบของกล้ามเนื้อ กระดูกซี่โครงบริเวณฐานเต้านม ถ้าสาเหตุจากในตัวเต้านมเอง ที่พบบ่อยก็เช่น โรคซีสต์หรือถุงน้ำในเต้านม โรคเนื้อเยื่อรอบท่อน้ำนมอักเสบ พังผืดในเต้านม โรคเต้านมอักเสบ นอกเหนือจากนั้น ก็เป็นสาเหตุอื่นๆ…

รู้ทันมะเร็ง : ตุลาคมรณรงค์มะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  3 ต.ค. 2557           นับวันสัญลักษณ์โบว์สีชมพูเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนตุลาคมจะเห็นหลายหน่วยงานหลายองค์กรช่วยกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมกันมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา นับเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิงไทยมาตั้งแต่ปี 2554 ในขณะที่ในต่างประเทศเค้ามีการรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านมกันเป็นวาระประจำที่ทำกันในเดือนตุลาคมของทุกปีอย่างเป็นทางการมา 22 ปีมาแล้วนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา                    ในบ้านเราแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหญิงไทยรายใหม่ปีละประมาณ 13,000 รายและเสียชีวิตปีละประมาณ 5,000 ราย แปลความให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมวันละ 12 ราย เรียกว่าเสียชีวิต 1 รายทุก 2 ชั่วโมง เห็นตัวเลขน่ากลัวแบบนี้แล้วสาวเล็กสาวใหญ่คงต้องใส่ใจสุขภาพเต้านมกันให้มากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมสูงเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิงต่อเนื่องกันมาหลายปี จากสาเหตุการบริโภคอาหารไขมันสูง การไม่มีบุตร การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน การไม่ได้ให้นมบุตร ภาวะอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกายและปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายหลายสาเหตุที่เรียกง่ายๆ ว่าสไตล์การใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก…

รู้ทันมะเร็ง : แขนบวมหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ก.ย. 2556           ภาพผู้ป่วยแขนบวมแขนใหญ่กว่าปกติหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมยังพอให้พบเห็นอยู่เนืองๆ คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไรถึงได้มีแขนใหญ่กว่าอีกข้าง หลายรายยังมีลักษณะผิวหนังของแขนข้างนั้นที่ผิดปกติ ผิวหนังไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ บางรายบวมมากจนมีแผลปริแตกหรือมีการติดเชื้อของผิวหนังร่วมด้วย                    ภาวะแขนบวมที่ว่านี้เกิดจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้มีการคั่งของน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนข้างนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบมาตรฐานดั้งเดิมที่ต้องมีการผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกไปด้วย ทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองผิดปกติหรือเป็นไปได้ลำบากยากขึ้น โดยปกติแล้วน้ำเหลืองจากปลายแขนไหลกลับสู่หัวใจโดยผ่านต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ เนื่องจากมะเร็งเต้านมมักมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้เป็นประจำ ศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก เพื่อเป็นการกำจัดมะเร็งออกไปให้มากที่สุดไม่ให้หลงเหลือตกค้าง นอกจากนั้นเพื่อไปตรวจดูว่ามีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือไม่ เพื่อให้ทราบถึงระยะของโรคมะเร็งและวางแผนรูปแบบการรักษาที่จะให้ต่อหลังการผ่าตัด แต่ก็ใช่ว่าผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดดังกล่าวจะต้องแขนบวมเสมอไป จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า โอกาสเกิดแขนบวมหลังผ่าตัดอยู่ที่ 8-56 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 2 ปีแรกหลังผ่าตัด โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่แขนบวมเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีแรกหลังผ่าตัด หลังจากนั้นโอกาสที่จะเกิดภาวะแขนบวมอยู่ที่ปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ได้จนถึง 30 ปีหลังผ่าตัด พูดง่ายๆ…

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจเพทซีทีสแกนหามะเร็งระยะเริ่มต้นดีมั้ย? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 พ.ย. 2556           เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อการตรวจพิเศษที่ชื่อ “เพทสแกนหรือเพทซีทีสแกน” ว่าเป็นเครื่องมือชั้นเลิศขั้นเทพที่สามารถตรวจหามะเร็งได้อย่างแม่นยำจนหลายคนยอมจ่ายเงินค่าตรวจราคาสูงลิบ ด้วยความหวังว่าถ้าโชคร้ายเกิดเป็นมะเร็งจะได้รู้ตัวก่อน รักษาก่อนในระยะเริ่มต้น นับวันจะมีหลายคนเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนในลักษณะนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมีเงินมีทองเหลือใช้                    ก่อนอื่นมารู้จักเพทสแกน หรือเพทซีทีสแกนกันก่อน เพทสแกนเป็นการตรวจโดยถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการเมตาบอลิซึมในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยใช้น้ำตาลกลูโคสชนิดพิเศษที่มีการจับกับสารกัมมันตรังสีมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย เจ้าน้ำตาลชนิดนี้จะซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อทุกประเภททุกอวัยวะในร่างกาย โดยจะไปจับเฉพาะเนื้อเยื่อที่มีกิจกรรมการทำงานมากหรือมีการแบ่งตัวมาก เช่น เซลล์มะเร็งหลายชนิด เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ ก็จะจับน้ำตาลนี้ไว้ในปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ และเปล่งรังสีออกมาในปริมาณสูง จึงสามารถใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีจับภาพออกมา แต่ภาพที่ได้ยังไม่สามารถบอกตำแหน่งรอยโรคในอวัยวะนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกนมาช่วยสร้างภาพ ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่รวมเอา 2 หลักการเทคโนโลยีไว้ด้วยกันเรียกว่า เพทซีทีสแกน             …

รู้ทันมะเร็ง : คำสารภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

เครดิต : คมชัดลึก  12 มิ.ย. 2558           ทุกวันนี้เวลาทราบข่าวการจากไปของคนรู้จัก เดาได้เลยว่ามากกว่าครึ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สำหรับคนในวงการแพทย์และสาธารณสุขคงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยเรามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 แต่สำหรับคนทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจว่ามีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญคือ ผู้ป่วยมะเร็งบ้านเราส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่ออาการเป็นมากแล้ว เรียกง่ายๆ ว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะลุกลามไปแล้ว          การที่จะทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะลุกลามลดลง ให้พบจำนวนผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเพิ่มมากขึ้นนั้น นอกจากการรณรงค์ให้ความรู้สารพัดรูปแบบ ตั้งแต่ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวต่างๆ ป้องกันตนเองไม่ให้เป็นมะเร็งแล้ว การส่งเสริมให้คนไทยปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ ให้เข้ามาตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นกันมากๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน แต่ในความเป็นจริงมีหลายเหตุผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งมากแล้ว ว่าทำไมไม่มาตรวจสุขภาพ และที่สำคัญทุกคนพูดเหมือนกันว่า หากย้อนเวลากลับไปได้ จะมาตรวจสุขภาพเสียก่อน ไม่ปล่อยให้มาตรวจพบตอนที่โรคเป็นมากแบบที่เป็นอยู่          เหตุผลหลักประการแรกที่หลายคนตอบเหมือนกันคือ ไม่มีเวลา ซึ่งอันที่จริงแล้วทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด แต่ใครจะบริหารจัดการเวลาของตนให้มีประสิทธิภาพมากกว่ากัน ส่วนใหญ่ที่อ้างเหตุผลนี้เป็นเพราะไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพเสียมากกว่า แต่กลับมีเวลาไปทำอย่างอื่นหรือเห็นทรัพย์สมบัติรอบกายสำคัญกว่า เช่น มีเวลาเอารถไปตรวจเช็กสภาพ แต่กลับไม่มีเวลาไปตรวจสุขภาพตนเอง โดยชอบคิดเข้าข้างตนเองว่า…

รู้ทันมะเร็ง : ก่อนที่แม่จะเป็นมะเร็ง

เครดิต : คมชัดลึก  23 ส.ค. 2556           ใครที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่และอยากตอบแทนพระคุณแม่ดูแลแม่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ลองอ่านบทความตอนนี้ให้ดี เผื่อจะได้หาเวลาพาคุณแม่ไปตรวจร่างกายตรวจสุขภาพค้นหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ก่อนที่ท่านจะป่วยเป็นมะเร็งไปเสียก่อน แล้วจะมานั่งเสียอกเสียใจว่ามัวแต่ยุ่งทั้งเรื่องงานเรื่องครอบครัวตัวเองจนลืมดูแลแม่บังเกิดเกล้า                    ที่จะเน้นในตอนนี้ก็คือมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิงคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ ก็เลยจะขอข้ามขั้นตอนการซักประวัติตรวจร่างกายทั่วไปที่เป็นขั้นตอนปกติทั่วไป เริ่มต้นจากไปพบศัลยแพทย์เพื่อตรวจเต้านมกันก่อน หลังจากนั้นก็เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์แมมโมแกรมพร้อมกับการตรวจอัลตราซาวนด์เต้านม เพื่อเพิ่มความแม่นยำเที่ยงตรงในการตรวจ ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติก็อาจมีการใช้เข็มเจาะดูดเซลล์ที่ต้องสงสัยบริเวณนั้นออกมาตรวจเพื่อความสบายใจ หากเป็นมะเร็งก็จะได้รักษากันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพราะนอกจากจะไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้าแล้ว ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัดและที่สำคัญมีโอกาสหายขาดสูง                    อันดับต่อไปก็ไปพบแพทย์ทางนรีเวชเพื่อตรวจภายใน ตรวจปากมดลูกป้ายเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกไปทำแป๊ปสเมียร์ คือไปตรวจดูหน้าตาเซลล์ปากมดลูกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ว่าปกติหรือไม่ บางรายเซลล์เริ่มผิดปกติปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นมะเร็งในอนาคตก็ทำการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ นอกจากนั้นแพทย์ทางนรีเวชที่ทำการตรวจภายในจะคลำมดลูกและรังไข่ว่ามีก้อนอะไรหรือขนาดใหญ่โตผิดปกติหรือไม่ แต่ก็มีก้อนเนื้องอกขนาดเล็กที่อาจจะหลุดลอดไปได้หรือบางรายอ้วนหน้าท้องหนาทำให้คลำได้ลำบาก ถ้าจะให้แม่นยำยิ่งขึ้นก็ควรทำการตรวจอัลตราซาวนด์ดูอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมด เพราะมะเร็งรังไข่มักไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ พอรู้ตัวว่าเป็นทีไรก็มักกระจายไปอวัยวะอื่นๆ…

รู้ทันมะเร็ง : สิงหาพาแม่ตรวจมะเร็ง

เครดิต : คมชัดลึก  1 ส.ค. 2557           เผลอแป๊บเดียว ปี 2557 ก็อย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 คือเดือนสิงหาคมอีกแล้ว ใครที่เป็นคุณแม่อยู่แล้วหรือยังไม่มีโอกาสจะเป็น ก็ถือโอกาสเอาเดือนนี้พาคุณแม่ตัวเองหรือแม่สามีหรือแม่ยายก็ไม่ว่ากัน ไปตรวจคัดกรองมะเร็งและตรวจสุขภาพประจำปีกันเสียเลยจะดีกว่า              นอกเหนือจากโปรแกรมการตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจค้นหามะเร็งอวัยวะต่างๆ ตามโปรแกรมการตรวจแล้ว เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษก็คือ มะเร็งเต้านมและมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ทั้งหมดตั้งแต่มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองในหญิงไทยตามลำดับ เริ่มจากการตรวจโดยการคลำเต้านมกันก่อน หลังจากนั้นก็เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เมมโมแกรม พร้อมกับการตรวจอัลตราซาวนด์เต้านม เพื่อเพิ่มความแม่นยำเที่ยงตรงในการตรวจ ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติก็อาจมีการใช้เข็มเจาะดูดเซลล์ที่ต้องสงสัยบริเวณนั้นออกมาตรวจเพื่อความสบายใจ                    อันดับต่อไปก็ไปพบแพทย์ทางนรีเวชเพื่อตรวจภายใน ตรวจปากมดลูกป้ายเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกไปทำแป๊ปสเมียร์ คือไปตรวจดูหน้าตาเซลล์ปากมดลูกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ว่าปกติหรือไม่ คลำมดลูกและรังไข่ว่ามีก้อนอะไรหรือขนาดใหญ่โตผิดปกติหรือไม่ แต่ก็มีก้อนเนื้องอกขนาดเล็กที่อาจจะหลุดลอดไปได้หรือบางรายอ้วนหน้าท้องหนาทำให้คลำได้ลำบาก ถ้าจะให้แม่นยำยิ่งขึ้นก็ควรทำการตรวจอัลตราซาวนด์ดูอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดไปเลยเพื่อความสบายใจ …

รู้ทันมะเร็ง : อยู่ที่ไหนก็ตรวจมะเร็งเต้านมได้

เครดิต : คมชัดลึก  27 มิ.ย. 2557           จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งในประเทศไทยเล่มล่าสุดฉบับที่ 7 ปี 2550-2552 ที่จัดทำโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ พบว่ามะเร็งเต้านมนอกจากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทยแล้ว ยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงปี 2547-2549 ที่เคยมีอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมทั้งประเทศอยู่ที่ 25.6 คนต่อประชากร 100,000 คนหรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 9,723 รายต่อปี เป็น 26.4 คนต่อประชากร 100,000 คนหรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 10,193 ราย นอกจากนั้นจังหวัดที่พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมสูงสุดยังมีอุบัติการณ์ที่สูงมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือจากเดิมปี 2548 กรุงเทพมหานครเป็นแชมป์อุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ 38.2 คนต่อประชากร 100,000 คน เปลี่ยนเป็นจังหวัดชลบุรีที่พบมะเร็งเต้านมรายใหม่สูงที่สุดอยู่ที่ 44.2 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2551             …