รู้ทันมะเร็ง : พาพ่อไปตรวจมะเร็งกันเถอะ : โดย : นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 28 ธ.ค. 2555 เดือนธันวาคมเดือนของคุณพ่อ ปีนี้นับเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยพระชนมายุครบ 85 พรรษาเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคมนำความปลาบปลื้มมาสู่พสกนิกรไพร่ฟ้าประชาชนที่มากันเนืองแน่นเต็มลานพระบรมรูปทรงม้าและถนนราชดำเนิน นอกจากนั้นเดือนนี้พระองค์ยังเสด็จฯ ไปตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่งไม่ว่าจะเป็นสวนสมเด็จย่า ร้านโกลด์เด้นเพลส พี่น้องชาวไทยที่เห็นภาพข่าวต่างก็มีความสุขมีกำลังใจกันถ้วนหน้า ก็อย่าลืมหันกลับมาดูแลคุณพ่อที่บ้านพาไปตรวจสุขภาพตรวจมะเร็งประจำปีซะเลยก็ดี อันดับแรกสำหรับชายสูงอายุ มะเร็งของเฉพาะเพศชายที่มีแนวโน้มพบบ่อยมากขึ้นในช่วงหลังก็คือมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ต้องรอให้ท่านมีอาการปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะบ่อยปัสสาวะลำบาก พาท่านมาให้แพทย์ตรวจโดยใช้นิ้วคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก เจาะเลือดหาค่าพีเอสเอ ตรวจอัลตราซาวนด์ทางทวารหนักเพื่อดูต่อมลูกหมากให้ละเอียด อันดับต่อไปก็มะเร็งตับและทางเดินน้ำดีแชมป์อันดับหนึ่งที่พบบ่อยที่สุดในชายไทย นอกจากเจาะเลือดดูการทำงานของตับ เจาะเลือดหาค่าสารบ่งชี้มะเร็งอัลฟ่าฟีโตโปรตีนหรือเอเอฟพี ตรวจอัลตราซาวนด์ดูตับและทางเดินน้ำดีแล้ว ที่มักมองข้ามกันก็คือการเจาะเลือดหาไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี เพราะเป็นสาเหตุของตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับในที่สุด นอกเหนือจากการดื่มสุราที่ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นสาเหตุของตับแข็งแล้ว ตามด้วยตรวจเอกซเรย์ปอดว่ามีเงาอะไรผิดปกติที่จะกลายเป็นมะเร็งปอดมะเร็งที่พบบ่อยอันดับสองหรือไม่ ตบท้ายด้วยการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรในลำไส้ใหญ่และทวารหนักหรือไม่ โดยเฉพาะคุณพ่อทันสมัยยุคใหม่ที่มีแนวทางการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก มากขึ้นที่ชอบกินอาหารไขมันสูงและไม่ค่อยออกกำลังกาย ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากกว่าคุณพ่อที่ใช้ชีวิตแบบไทยๆ กินข้าวกับน้ำพริกผักรวม ถ้าตรวจเจอเม็ดเลือดแดงก็อาจเป็นได้หลายโรคหลายภาวะตั้งแต่ริดสีดวงทวารหนัก แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อ ลำไส้เป็นกระพุ้งและมะเร็ง…
รู้ทันมะเร็ง:สุดยอดเคล็ดลับอาหารต้านมะเร็ง2 : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 2 มี.ค. 2555 สืบเนื่องจากตอนที่แล้วได้กล่าวถึง 3 เคล็ดลับแรกของอาหารต้านมะเร็งอันได้แก่ กินผักหลากสีทุกวัน – ขยันหาผลไม้เป็นประจำ – ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย มาต่อกันที่อีก 3 เคล็ดลับที่คล้องจองกันอันได้แก่ ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร – เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ – อย่าละเลยปรุงอาหารถูกวิธี มาดูรายละเอียดทีละหัวข้อกัน ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร อันว่าเครื่องเทศที่เราคุ้นเคยนั้นหมายถึง ส่วนต่างๆ ของพืชที่นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารหรือเพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอม สารประกอบอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมันและน้ำมันหอมระเหย ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยางของพืชเหล่านั้น เครื่องเทศประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด อาทิ แป้ง น้ำตาล แร่ธาตุ วิตามิน และสารประกอบอื่นๆ ซึ่งมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ เช่น พริกมีสารเคปไซซินซึ่งช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย กระเทียมมีสารไดอาลิลซัลไฟด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เป็นต้น …
รู้ทันมะเร็ง : แค่บำรุงน้ำเหลือง ไม่ใช่ยารักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 4 ต.ค. 2556 ปัญหาเดิมๆ ที่ผู้ป่วยมะเร็งและญาติมักคาใจสงสัยและซักถามกันอยู่เป็นประจำไม่เคยขาด หนีไม่พ้นคำถามยอดฮิตติดชาร์ต เรื่องสมุนไพรที่เขาว่าช่วยรักษาโรคมะเร็งนั่นมะเร็งนี่ บางตัวหนักไปกว่านั้น คุยโอ่ว่ารักษาได้หมดทุกมะเร็งทุกอวัยวะ อะไรมันจะเลอเลิศประเสริฐศรีขนาดนั้น มันจริงเท็จประการใด ยิ่งช่วงไหนฝ่ายการตลาดของบริษัทพวกนี้ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างหนัก ยิ่งเอาคนดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยและญาติสับสนเป็นการใหญ่ ประเด็นสำคัญที่ต้องขอย้ำกันก่อนอย่างอื่นเลยว่า สมุนไพรไทยที่มีอยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติขณะนี้ทั้งหมด 22 รายการ ล้วนนำมาใช้ในสรรพคุณด้านอื่นๆ ปัจจุบันยังไม่มีสมุนไพรตัวไหนได้ผ่านการรับรองให้ใช้รักษามะเร็งสักตัวเดียว แต่พวกนี้ใช้ลวดลายลีลาในการโฆษณา ที่เจอกันประจำก็แบบที่ขอขึ้นทะเบียนไว้ว่ามีสรรพคุณบำรุงน้ำเหลือง แต่เวลาโฆษณาชอบพ่วงท้ายคำว่า “รักษามะเร็ง” มั่วนิ่มต่อท้ายไปด้วยอยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้นอย่าได้หลวมตัวหลงเชื่อยาสมุนไพรที่โฆษณาเกินจริงว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งเหล่านี้เป็นอันขาด แต่หากผู้ป่วยโรคมะเร็งอยากจะใช้ยาสมุนไพรก็ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เป็นการใช้ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐาน เพื่อบำรุงสุขภาพตามสรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆ หรือใช้เพื่อลดผลข้างเคียงของการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีก็ไม่ได้ห้าม หรือจะใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาฝรั่งยาสารเคมีแผนปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับในการลดผลข้างเคียงของการรักษาแผนปัจจุบัน เพราะมีผลงานวิจัยหลายงานยืนยันว่าได้ผลดีเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน แต่อย่าหลงผิดเข้าใจคลาดเคลื่อน หนีไปใช้ยาสมุนไพรเพียงอย่างเดียวเพื่อหวังผลเรื่องเป็นยารักษาหลักในการทำลายเซลล์มะเร็ง หลีกหนีการรักษามาตรฐานที่มีผลงานวิจัยทั่วโลกรองรับ เช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด พวกผู้ป่วยที่หลงผิดกลุ่มนี้ ถ้ามะเร็งเป็นระยะที่ลุกลามไปมากแล้วก็ไม่น่าเสียดายเท่าไหร่…
รู้ทันมะเร็ง : ทุเรียนเทศรักษามะเร็งได้จริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 3 ก.ค. 2558 มีข่าวมาเป็นระยะๆ กับสมุนไพรประเภทต่างๆ ว่าสามารถรักษามะเร็งได้ ช่วงหลังนี้คงไม่มีสมุนไพรตัวไหนเป็นที่ฮือฮาเท่ากับทุเรียนเทศ หรือทุเรียนน้ำ หลังจากมีข่าวว่าผู้ป่วยมะเร็งรายหนึ่งดื่มน้ำต้มใบทุเรียนเทศทุกวันแล้วทำให้มะเร็งที่คอดีขึ้น จนทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกโรงมาชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะมีการปั่นราคาใบทุเรียนเทศสูงถึงกิโลกรัมละ 600-800 บาท กันเลยทีเดียว หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เจ้าต้นทุเรียนเทศเป็นพืชสมุนไพรของไทย แท้จริงแล้วมีถิ่นกำเนิดจากแถบเขตร้อนในทวีปอเมริกาใต้ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่า ลักษณะผลจึงมีหน้าตาคล้ายน้อยหน่าแต่มีหนามนิ่ม มีชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่น ทุเรียนเทศ ทุเรียนน้ำ ทุเรียนแขก เพราะนำเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย ทุเรียนเทศมีผลสีเขียวรูปกลมรี มีหนามนิ่มที่เปลือก รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย คนไทยปักษ์ใต้นิยมนำผลอ่อนใช้ทำแกงส้ม เชื่อม และคั้นทำเครื่องดื่ม ส่วนเมล็ดใช้เบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลงได้ ส่วนใบมีสรรพคุณทางยาใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อและความดันโลหิตสูง จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดจากใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ ลดน้ำตาลและไขมันในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง พบว่าสารสกัดจากใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด ตับ…
รู้ทันมะเร็ง : บทสรุป-สุดยอดเคล็ดลับอาหารต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ
เครดิต : คมชัดลึก 9 มี.ค. 2555 ทวนความจำจาก 2 ตอนที่แล้ว 6 เคล็ดลับอาหารต้านมะเร็งอันได้แก่ กินผักหลากสีทุกวัน – ขยันหาผลไม้เป็นประจำ – ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย – ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร – เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ – อย่าละเลยปรุงอาหารถูกวิธี หวังว่ายังจำได้กันอยู่นะครับ อีก 3 เคล็ดลับสุดท้าย ได้แก่ หลีกหนีอาหารไขมัน – หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง – เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง มาว่ากันต่อเลยดีกว่า หลีกหนีอาหารไขมัน โดยเฉพาะพวกไขมันเลวทั้งหลายอันได้แก่ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบใน นม เนย กะทิ ชีส ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม พวกนี้ต้องพยายามหลีกเลี่ยง…