รู้ทันมะเร็ง : หลังสงกรานต์ อย่าให้มะเร็งบานเบอะ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 เม.ย. 2559           ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลสงกรานต์อย่างช่วงนี้ ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทจะสูงขึ้นกว่าปกติหลายเท่าตัว ตามมาด้วยโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่คนที่ดื่มมากสูบมากและรอดปลอดภัยจากอุบัติเหตุช่วงนี้ ก็อย่าพึ่งชะล่าใจ เพราะโอกาสที่ท่านจะได้รับโบนัสโชคร้ายในอนาคตจากโรคมะเร็งยังมีอยู่           เป็นที่ทราบกันดีอย่างไม่ต้องสงสัยแล้วว่า แอลกอฮอล์จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ คือเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่ 1 ตามประกาศขององค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติมาหลายสิบปีแล้ว โดยภาพรวมของทั้งโลกแล้วการบริโภคแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับมะเร็งร้อยละ 3.6 และมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งร้อยละ 3.5 จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอย่างต่อเนื่องจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งคอหอย มะเร็งกล่องเสียง โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นหากดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าหนึ่งดริงก์ต่อวันในผู้หญิงและสองดริงก์ต่อวันสำหรับผู้ชาย โดยนิยามของหนึ่งดริงก์เท่ากับปริมาณเอทานอลแอลกอฮอล์ 10-15 กรัม เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นก็เท่ากับเหล้าวิสกี้ปริมาณ 44 ซีซี หรือไวน์ 148 ซีซี หรือหากเป็นเบียร์หรือไวน์คูลเลอร์ก็เท่ากับ 355 ซีซี ซึ่งส่วนใหญ่บรรดานักดื่มไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นมักดื่มมากกว่าปริมาณที่ว่านี้กันทั้งนั้น แต่ใครที่ดื่มบ่อยดื่มเกือบทุกวัน ก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม…

รู้ทันมะเร็ง : เดือนเมษา มะเร็งอัณฑะ มะเร็งช่องปาก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  8 เม.ย. 2559           ย่างเข้าสู่เดือนเมษายน เดือนแห่งความร้อนสุดสุดของอากาศบ้านเรา และเดือนแห่งความชุ่มฉ่ำของบรรยากาศสงกรานต์ ที่ปีนี้คงต้องร่วมมือกันเล่นสงกรานต์อย่างประหยัดน้ำมากกว่าปีก่อนๆ เพราะภัยแล้งปีนี้รุนแรงสาหัสสากันกว่าทุกปีที่ผ่านมา           ในต่างประเทศเดือนเมษายนนั้น เขารณรงค์ต้านภัยมะเร็งกัน 2 อวัยวะหลัก คือ มะเร็งลูกอัณฑะ และมะเร็งช่องปาก มาว่ากันที่มะเร็งอัณฑะหรือน้องชายสุดที่รักของคุณผู้ชายกันก่อน มะเร็งอัณฑะพบได้ไม่บ่อย โดยมักพบในผู้ชายอายุน้อย พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 15-35 ปี โดยมะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ชายช่วงอายุนี้ แต่โดยภาพรวมแล้วพบไม่มาก คิดเป็นแค่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของโรคมะเร็งเพศชายทั้งหมด ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคนี้ แต่สันนิษฐานว่า ปัจจัยทางพันธุกรรม ประวัติการมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งอัณฑะมาก่อน หรือมีประวัติการเป็นมะเร็งที่อัณฑะข้างหนึ่ง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่ลูกอัณฑะอีกข้างที่เหลือได้มาก นอกจากนั้นภาวะที่ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทองแดง คือมีลูกอัณฑะในถุงอัณฑะข้างเดียว และประวัติของการสัมผัสกับสารเบนซิน โคโรฟอร์ม และเขม่า ก็มีสิทธิ์เสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน      …

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งดารา มะเร็งอาชีพ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  1 เม.ย. 2559           ช่วงนี้มีดารานักแสดงหลายท่านออกมาเปิดตัวอย่างไม่อายว่า ตนเองเป็นมะเร็งอวัยวะนั้นอวัยวะนี้กันมากขึ้น จนกลายเป็นที่สนใจของแฟนๆ และประชาชนทั่วไปมากกว่าแต่ก่อน ว่าทำไมช่วงนี้ดาราศิลปินจึงเป็นมะเร็งกันมากขึ้น หรืออาชีพนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงกว่าอาชีพอื่น           จริงๆ แล้วอาชีพดารานักแสดงนั้นไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงกว่าอาชีพอื่นแต่อย่างใด แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงในแง่ของการใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงมากกว่าอาชีพอื่น โดยเฉพาะบรรดาศิลปินคิวทองที่มีงานมากๆ เช่น การทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ กินอาหารขยะ อาหารไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ไม่มีเวลาตรวจสุขภาพ ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทุกคนทุกอาชีพไม่ควรปฏิบัติ แต่ทุกครั้งที่มีข่าวดาราเป็นมะเร็ง สังคมจะให้ความสนใจเรื่องสุขภาพเรื่องโรคมะเร็งกันมากขึ้น อาจจะได้ผลดีกว่าการรณรงค์ตามรูปแบบปกติเสียด้วยซ้ำ เพราะนอกจากกำลังใจที่ไหลหลากมาจากทั่วทุกสารทิศแล้ว ยังเป็นบทเรียนชีวิตจริงที่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพี่น้องประชาชน ให้หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น           ในส่วนของ อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าอาชีพอื่น เนื่องมาจากการได้รับสารเคมีหรือสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานมากกว่าอาชีพอื่นนั้น ก็เช่น อาชีพเกี่ยวกับการทำผ้าเบรก คลัชต์ ฉนวนกันความร้อน ฝ้าเพดาน…

รู้ทันมะเร็ง : มั่วนิ่มเรื่องมะเร็ง…อีกแล้วครับท่าน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  25 มี.ค. 2559           จำเป็นต้องกลับมาบอกกล่าวมาตอกย้ำกันเป็นระยะ เพราะปัจจุบันนี้มีพวกชอบแชร์หรือส่งต่อข้อมูลสุขภาพผิดๆ มากขึ้นทุกวัน ประเภทยังไม่ทันได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก็ส่งต่อกันเลย พูดง่ายๆ ว่ายังไม่ชัวร์ก็รีบแชร์เสียแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นคนแรกๆ ที่เอาข้อความหรือรูปภาพมาแชร์ก่อน หวังว่าจะได้รับคำชื่นชมหรือได้ไลค์จากเพื่อนๆ แต่แท้ที่จริงแล้วกำลังทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว           เริ่มจากเรื่องมั่วนิ่มเรื่องแรกว่า ประเทศไทยเราเป็นมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย เป็นมะเร็งตั้ง 7.5 คนจากคน 10 คน ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง บ้านเราคงมีผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงถึง 52.5 ล้านคนจากประชากรไทยทั้งประเทศเกือบ 70 ล้านคน แต่แท้ที่จริงแล้วบ้านเรามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละประมาณ 102,000 คน           ปกติเวลารายงานอุบัติการณ์จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ตามมาตรฐานทั่วโลกจะรายงานเป็นจำนวนผู้ป่วยต่อประชากรหนึ่งแสนคน สถิติของประเทศไทยในปี 2554 พบผู้ป่วยมะเร็งเพศชาย 144.3 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน อยู่แค่อันดับ…

รู้ทันมะเร็ง : เครียดแล้วเป็นมะเร็งจริงหรือ? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 7 ส.ค. 2558           ใครไม่เคยเครียดบ้าง ยกมือขึ้น คงไม่มีใครหน้าไหนยกมือให้คนเขาโห่ฮาเปล่าๆ เพราะสัตว์โลกทุกชนิดตั้งแต่แรกเกิดจนจากโลกนี้ไป ไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนสามารถหลีกหนีจากความเครียดได้เลย ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางกายภาพ ทางจิตใจและทางอารมณ์ ยิ่งโลกในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยสารพัดตัวกระตุ้นให้มนุษย์เรามีความเครียดเพิ่มมากขึ้น จนหลายคนเชื่อว่าความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นมะเร็ง           เมื่อเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนเพื่อตอบสนองต่อความเครียดนั้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าการมีความเครียดน้อยๆ ในช่วงสั้นๆ ส่งผลดีกับร่างกาย เข้าทำนองไม่ให้ร่างกายเฉื่อยชาจนเกินไป ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการใช้ชีวิตในสังคมเมืองยุคปัจจุบัน แต่การเผชิญหน้ากับความเครียดสูงต่อเนื่องเรื้อรัง ความเครียดรุนแรงประเภทนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราอ่อนแอลง บาดแผลหายช้าลง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล กลุ้มใจ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า จนเลวร้ายถึงขั้นฆ่าตัวตายแล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการทางกายที่ผิดปกติมากมายหลายระบบ เช่น การย่อยอาหาร การถ่ายปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสมากขึ้น ที่สำคัญความเครียดยังนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่ กินเหล้าหนัก ไม่ออกกำลังกาย…

รู้ทันมะเร็ง : ติ่งเนื้อปากทวารหนัก:มะเร็ง หูด ริดสีดวง? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 18 มี.ค. 2559           เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเดือนมีนาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มาว่ากันต่อเรื่องติ่งเนื้อบริเวณปากทวารหนัก อีกอาการหนึ่งที่พบบ่อย ที่คนไข้มักจะมีความวิตกกังวลจนต้องมาพบแพทย์ ยิ่งถ้ามีอาการถ่ายเป็นเลือดจะยิ่งวิตกหนักเข้าไปใหญ่ กลัวว่าจะเป็นมะเร็งมากกว่าอย่างอื่น           ก่อนอื่นมาทำความรู้จักทวารหนักกันก่อน ทวารหนักตามหลักกายวิภาคไม่ได้มีแค่รูทวารภายนอกที่เราเห็น แต่ครอบคลุมเข้าไปภายในรูทวารสูงขึ้นไปจากปากทวารหนักอีก 3-5 เซนติเมตร มีความสำคัญเนื่องจากมีหน้าที่เกี่ยวกับการกลั้นอุจจาระ เพราะมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 ชนิดคือกล้ามเนื้อหูรูดภายในและกล้ามเนื้อหูรูดภายนอก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหูรูดภายนอกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมตามที่สมองสั่งการ อาการติ่งเนื้อที่บริเวณปากทวารหนักอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ติ่งเนื้อธรรมดา หูด ริดสีดวงทวารหนัก แผลฉีกขาดเรื้อรัง รวมถึงมะเร็ง ซึ่งแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยแยกโรคได้ไม่ยาก ด้วยการดูภายนอก การใช้นิ้วคลำในรูทวารหนัก และการส่องกล้องพรอคโตสโคปเพื่อดูหน้าตาเยื่อบุทวารหนัก ถ้าไม่แน่ใจก็ตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยมาตรวจกันไป           มาว่ากันที่รายละเอียดของโรคมะเร็งทวารหนักดีกว่า สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ มีการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีหรือไวรัสหูด มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีคู่นอนหลายคน เคยเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน…

รู้ทันมะเร็ง : กินแกงบ้านๆต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  11 ก.ย. 2558           อาหารไทยโดยเฉพาะแกงพื้นบ้านที่คนไทยกินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นอาหารที่มีพริกแกงเป็นส่วนผสมหลักที่ทำมาจากสารพัดเครื่องเทศ ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม หอมแดง พริกแห้ง ตะไคร้ ข่าและอื่นๆ อีกมากแล้วแต่ว่าจะปรุงแกงอะไร สารประกอบอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมันและน้ำมันหอมระเหย ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยางของพืชเหล่านั้น เครื่องเทศประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด อาทิ แป้ง น้ำตาล แร่ธาตุ วิตามิน และสารประกอบอื่นๆ ซึ่งมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ เช่น พริกมีสารเคปไซซินซึ่งช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย กระเทียมมีสารไดอาลิลซัลไฟด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เป็นต้น           สัปดาห์ที่แล้วมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องอาหารไทย 4 ประเภทอันได้แก่ แกงป่า แกงส้ม แกงเหลือง และแกงเลียง โดยทำการทดลองในห้องปฏิบัติการด้วยการนำพริกแกงทั้ง 4 ชนิดในรูปของน้ำแกง…

รู้ทันมะเร็ง : ดอกไม้พื้นบ้านต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ก.ค. 2558           ในขณะที่สังคมไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบชาวตะวันตกมากขึ้น มีการบริโภคอาหารขยะ อาหารเนื้อสัตว์และไขมันสูงมากขึ้นกว่าในอดีต ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ห่วงใยสุขภาพหันมาบริโภคผักพื้นบ้านและธัญพืชปลอดสารพิษต่างๆ กันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ดอกไม้ชนิดต่างๆ ก็ถูกนำมาเป็นอาหารด้วยเช่นกัน อันที่จริงแล้วคนไทยเราก็บริโภคดอกไม้เป็นอาหารกันมานานแล้ว เช่น ดอกขจร ดอกแค ดอกโสน รวมไปถึงหัวปลี ดอกไม้พวกนี้ก็เก็บเอาแถวละแวกบ้านไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน มาทำอาหารได้สารพัดเมนู แต่ระยะหลังจะเห็นมีดอกไม้หลายชนิดมาทำเป็นอาหารมากขึ้น เช่น ดอกเข็ม ดอกอัญชัน ดอกเฟื่องฟ้า ดอกบัว เป็นต้น           จากผลงานวิจัยของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาดอกไม้ที่คนไทยนิยมบริโภค 8 ชนิด ได้แก่ ดอกขจร ดอกแค ดอกโสน หัวปลี ดอกเข็ม ดอกอัญชัน ดอกเฟื่องฟ้า ดอกบัว พบว่าดอกไม้ทั้ง 8 ชนิดมีสารต้านฤทธิ์การกลายพันธุ์…

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  17 ก.ค. 2558           มะเร็งเต้านม มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก ไม่เว้นแม้ในประเทศไทยเราที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแนะนำให้คุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีกำลังทรัพย์มารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรมปีละ 1 ครั้ง ที่ต้องเสียเงินค่าตรวจเองเนื่องจากทั้ง 3 กองทุนที่รับผิดชอบเรื่องสุขภาพคนไทย ยังไม่ให้สิทธิในการตรวจคัดกรองมะเร้งเต้านมฟรีด้วยวิธีการนี้ คำแนะนำที่ใช้ในปัจจุบันก็คือแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง ช่วงวันที่ 7-10 นับจากวันแรกของรอบเดือน           การตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ทราบว่าเต้านมปกติของเราเป็นอย่างไร เมื่อเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะทราบก่อนและรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ หากโชคร้ายเป็นมะเร็ง ก็เป็นในระยะเริ่มต้น มีโอกาสหายขาดได้สูงมาก ขั้นตอนของการตรวจเต้านมด้วยตัวเองมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลักคือ ดู คลำ บีบ เริ่มต้นจากการดูเต้านมของตัวเองหน้ากระจก ประกอบด้วย 3 ท่าย่อย ได้แก่ ท่าแรกยืนตรงแขนชิดลำตัว ดูเปรียบเทียบบริเวณเต้านมทั้ง 2…

รู้ทันมะเร็ง : นับถอยหลังมะเร็งปากมดลูก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 24 ก.ค. 2558           ที่จั่วหัวว่า นับถอยหลังมะเร็งปากมดลูก ก็เพราะอยากจะบอกข่าวดีว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คงหาคนป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ยากลงเรื่อยๆ เพราะผลจากการทำทะเบียนมะเร็งทั่วประเทศล่าสุดพบว่า ลดลงกว่า 3 ปีก่อนอย่างชัดเจน จากที่เคยพบผู้ป่วย 16.7 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2551 ลดลงเหลือ 14.5 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2554 นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสริมอีกหลายประการที่เกื้อหนุนให้เห็นโอกาสในการเอาชนะโรคนี้อยู่ตรงหน้า           ประการแรก เป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ เป็นเพราะปัจจุบันทราบสาเหตุหลักของการเกิดโรคชัดเจนว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือไวรัสหูด เมื่อรู้สาเหตุที่แน่ชัดก็ทำให้สามารถหาทางควบคุมโรคได้อย่างมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงร่วมอื่นๆ เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การสูบบุหรี่ การกินยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี การมีบุตรมากกว่า 3…