สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตือนคนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล หลายคนอาจละเลยและคิดว่าเป็นแผลเล็กน้อยในช่องปากน่าจะหายได้เอง ทำให้ไม่ได้สังเกตสัญญาณของมะเร็งในช่องปาก ข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานจำนวนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่ 4214 คน/ปี โดยพบในเพศชายมากว่าเพศหญิงและมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุสำคัญของมะเร็งช่องปากมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) หรือการมีแผลเรื้อรังในช่องปาก อาการส่วนใหญ่ของมะเร็งในช่องปากพบได้หลายลักษณะ เช่น การมีฝ้าขาวๆ ที่บริเวณใต้ลิ้น เหงือก พื้นช่องปาก เมื่อเป็นนาน ๆ รอยฝ้านั้นจะนูนขึ้นเป็นก้อน หรือกรณีเกิดแผลจะมีลักษณะคล้ายอาการร้อนใน แต่จะมีอาการมากกว่า 1 เดือน มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหูขณะกลืนอาหารได้เพราะมีเส้นประสาทร่วมกัน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ หรือสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเริ่มต้นง่าย ๆ จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวข้างต้น หมั่นดูแลใส่ใจสุขอนามัยช่องปากและฟันของตนเองเป็นประจำทุกวัน จัดตารางสุขภาพให้ตนเอง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก ทุก ๆ 6…

“มะเร็งกระเพาะอาหาร” ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ทั้งนี้ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหากมีอาการปวดท้องเรื้อรังจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน และอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ อาการท้องอืดจุกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ หรืออาจมีเลือดปนในอุจจาระ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากพบอาหารผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ ในด้านการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย  

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หัวข้าวเย็นใต้ ผสมส้มโมง และน้ำผึ้ง รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง หัวข้าวเย็นใต้ ผสมส้มโมง และน้ำผึ้ง รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากมีการเผยแพร่ข้อมูลสมุนไพรหัวข้าวเย็นใต้ ผสมส้มโมง และน้ำผึ้ง นำมาต้มจนแห้งแล้วปั้นเป็นเม็ด รับประทานเพื่อรักษาโรคมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยทางคลินิกที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับ โดยจากข้อมูลทางวิชาการพบว่าสมุนไพรดังกล่าวนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารกลุ่มฟีนอลิกส์ ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามสมุนไพรหัวข้าวเย็นใต้ ส้มโมง และน้ำผึ้งนั้น ไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ควรศึกษารายละเอียดของสมุนไพร การนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และนำมาใช้อย่างถูกวิธี โดยหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร การรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษา และขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สมุนไพรหัวข้าวเย็นใต้ ส้มโมง และน้ำผึ้ง ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยทางคลินิกที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับ หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สูตรยาสมุนไพร รักษาโรคมะเร็งทุกชนิด

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง สูตรยาสมุนไพร รักษาโรคมะเร็งทุกชนิด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแนะนำสูตรรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการให้นำกระดูกงูเห่า หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ ทิ้งถ่อน แก่นมะเกลือ และมะเดื่อปล้อง มาต้มผสมกันและดื่มนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการแล้วชี้แจงว่า สมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ แม้สมุนไพรดังกล่าวอาจมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนในการป้องกันการอักเสบของเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นงานวิจัยระดับเซลล์ในห้องทดลองเท่านั้น ไม่สามารถนำมาอ้างว่าสามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ จึงไม่ควรนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่อาจส่งผลทำให้ประชาชนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สูตรยาสมุนไพรกระดูกงูเห่า หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ ทิ้งถ่อน แก่นมะเกลือ และมะเดื่อปล้อง ไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

รังสียูวี หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง จริงหรือ?

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง รังสียูวี หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง จากที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่า รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (UV) นั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังจริง โดยมะเร็งผิวหนังเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ผิวหนังมีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวผิดปกติ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในเตียงอาบแดด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย เช่น การสัมผัสกับสารพิษเป็นเวลานาน ๆ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ มีไฝหรือขี้แมลงวันมากผิดปกติ เป็นต้น ทั้งนี้ประชาชนสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนังได้จาก ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดทุกครั้งหากต้องออกไปอยู่กลางแดด หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงสังเคราะห์ เช่น แสงจากเตียงอาบแดด และหมั่นสังเกตผิวหนังของตนเองอยู่เสมอ หากพบว่ามีความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มะเร็งกระเพาะอาหารติดต่อได้ทางน้ำลาย

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง มะเร็งกระเพาะอาหารติดต่อได้ทางน้ำลาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีข้อความเตือนภัยว่าไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการแล้วพบว่า มะเร็งกระเพาะอาหารไม่สามารถติดต่อได้ทางน้ำลาย เนื่องจากสาเหตุการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารเจริญเติบโตผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ มีสาเหตุอาจมาจากการอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori และมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารประเภทรมควัน และอาหารหมักดอง เป็นต้น ดังนั้นมะเร็งกระเพาะอาหารจึงไม่สามารถติดต่อทางน้ำลาย โดยประชาชนควรรับประทานอาหาร และดื่มน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อ H.pylori และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร การรับประทานผักผลไม้เป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มะเร็งกระเพาะอาหารไม่สามารถติดต่อได้ทางน้ำลาย แนะนำประชาชนควรรับประทานอาหาร และดื่มน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อ H.pylori อีกทั้งขอให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์…

ข่าวจริง! ถ่ายเป็นเลือดสัญญาณเตือนโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตามที่มีการเตือนการถ่ายเป็นเลือดถือเป็นหนึ่งในสัญญาณโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 12,000 คน สาเหตุมาจากวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานเนื้อแดงเนื้อแปรรูปเป็นประจำ อาหารกากใยน้อย อาหารปิ้งย่าง รมควัน ตลอดจนขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น สัญญาณเตือนหรืออาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ การถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือดหรืออาจถ่ายเป็นเลือดสดๆ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง/ถ่ายไม่สุด ขนาดของลำอุจจาระเล็กลง และมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้จากการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตและหมั่นสังเกตตัวเองว่าการขับถ่ายเป็นปกติดีหรือไม่ หากพบความผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกด้วยวิธีการตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

“เคมีบำบัด” กับการรักษามะเร็ง

“เคมีบำบัด” ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง “การใช้ยาเคมีบำบัด” เป็นแนวทางการรักษาโรคมะเร็งที่หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ เคมีบำบัดถือเป็นหนึ่งในแนวทางหลักของการรักษาโรคมะเร็ง เป็นวิธีการที่ใช้ยาเคมีเข้าไปทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์หลายด้าน เช่น เพื่อการรักษา เพื่อการควบคุมไม่ให้มะเร็งแพร่กระจาย และเพื่อบรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การทำเคมีบำบัดจะต้องมีการวางแผนการรักษาตามขั้นตอน เพื่อให้ผลของการรักษามีประสิทธิภาพและผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกาย เพื่อพิจารณาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการทำเคมีบำบัดและเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วยพร้อมที่จะได้รับการรักษาตามสภาวะของแต่ละบุคคลหรือไม่ เช่น ประเภทของมะเร็ง ขนาดหรือตำแหน่งการเกิด อายุของผู้ป่วย และผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย การทำเคมีบำบัดอาจใช้ยาชนิดเดียวหรือใช้ยาจากหลายกลุ่มร่วมกันแล้วแต่กรณี การทำเคมีบำบัดอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตบ้าง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษาจะช่วยบรรเทาความเครียด รวมไปถึงลดผลกระทบทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความวิตกกังวล รวมไปถึงแจ้งแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรเพราะอาจไปลดประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้ยาเคมีบำบัดนั้นจะไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเพียงอย่างเดียว แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงอีกด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ เหนื่อยง่าย ท้องเสีย ผมร่วง และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณและชนิดของยาเคมีบำบัดที่ใช้ ความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วยเอง อย่างไรก็ตามอาการจากผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในช่วงเวลาที่กำลังได้รับยาหรือหลังได้รับยาในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ผู้ป่วยจึงไม่ควรหมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรค

ข่าวจริง! ตาเหลือง ตัวเหลือง เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนมะเร็งตับและท่อน้ำดี

ตามที่มีการเตือนสัญญาณโรคมะเร็งตับ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง มะเร็งตับและท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย แต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 20,000 คน มะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีตับ สาเหตุของมะเร็งเซลล์ตับ หลายคนอาจทราบแต่เพียงว่าเกิดจากการดื่มเหล้า แต่ในความเป็นจริงยังมีสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งที่พบบ่อยในบ้านเราคือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดบีและซี เป็นผลทำให้เซลล์ตับถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง มีไขมันสะสมในตับมากขึ้นและเกิดผังผืดขึ้นแทนที่เซลล์ตับปกติ ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีตับพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการกินปลาน้ำจืดดิบ การรับประทานอาหารที่มีดินประสิว และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนมไส้กรอก อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา รวมถึงการมีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง และเป็นนิ่วในทางเดินน้ำดีในตับอีกด้วย ผู้ป่วยแต่ละรายอาจอาจมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกันและมักไม่มีอาการในระยะแรก โดยอาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย การป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิด ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! น้ำปั่นใบสดหญ้าปักกิ่ง รักษามะเร็งน้ำเหลือง

ตามที่ได้มีบทความแนะนำเรื่อง น้ำปั่นใบสดหญ้าปักกิ่ง รักษามะเร็งน้ำเหลือง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีคำแนะนำวิธีรักษามะเร็งน้ำเหลือง ด้วยการดื่มน้ำใบสดหญ้าปักกิ่งปั่น ติดต่อกัน 7 วัน ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าปักกิ่งสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองในมนุษย์ได้ ทั้งนี้หญ้าปักกิ่ง เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารฟีนอลิกส์ และสารฟลาโวนอยด์ จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารเหล่านี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองอย่างไรก็ตามผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้นที่ต้องรอการศึกษาอื่นๆ เพิ่มเติม ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าปักกิ่งสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข