ข่าวปลอม อย่าแชร์! ออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าออกกำลังกายหนักอาจทำให้มะเร็งโตขึ้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าออกกำลังกายหนัก อาจทำให้มะเร็งโตขึ้น การออกกำลังกายถือเป็นการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้นควรเลือกวิธีการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมตามสภาวะและความพร้อมของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งในแง่ของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษามวลกล้ามเนื้อ ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา และลดความเครียด ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการกด กระแทกข้อต่อต่าง ๆ ผู้ป่วยมะเร็งควรเลือกวิธีการออกกำลังกายตามความเหมาะสมผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฉายแสง ควรงดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษารวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายเพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าออกกำลังกายหนัก อาจทำให้มะเร็งโตขึ้น

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก

  ตามที่มีการแนะนำข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีข้อมูลระบุว่าหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปาก ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหมากพลูช่วยต้านมะเร็ง และลดกลิ่นปากได้ ซึ่งการเคี้ยวหมากพลูเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของสังคมไทยในอดีต โดยมีความเชื่อว่าการเคี้ยวหมากพลูนั้นจะทำให้สุขภาพช่องปากจะดี ฟันแน่น ไม่มีกลิ่นปาก อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหมากพลูต้านมะเร็งในมนุษย์นั้น พบว่าผลหมากมีสารจำพวกอัลคาลอยด์ (alkaloid) ประกอบด้วยอาเรเคน (arecaine) และอาเรโคลีน (arecoline) ซึ่งเป็นสารเสพติดอย่างอ่อน กระตุ้นประสาทส่วนกลาง การบริโภคหมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก นอกจากนี้องค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ (The International Agency for Research on Cancer ; IARC) กำหนดให้หมากพลูที่ผสมใบยาสูบและไม่ผสมใบยาสูบเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 คือ เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/หรือสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th)หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…

สารเซซามินจากงาดำช่วยทำลายเกราะเซลล์มะเร็ง โดยให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายตัวเซลล์มะเร็งได้ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสารเซซามินจากงาดำช่วยทำลายเกราะเซลล์มะเร็ง โดยให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายตัวเซลล์มะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง ข้อมูลงานวิจัยด้านการใช้สารสกัดเซซามินในการทำลายเซลล์มะเร็งนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารดังกล่าวส่งผลในการทำลายเซลล์มะเร็งในมนุษย์ โดยเซซามิน (Sesamin) เป็นสารสำคัญที่พบได้จากงาดำ จัดอยู่ในกลุ่มสารลิกแนนที่สามารถละลายได้ในไขมัน ซึ่งข้อมูลการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเซซามินในด้านที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง พบว่าสารนี้ทำให้เกิดกลไกการยับยั้งการเจริญและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวิจัยในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น และปัจจุบันยังไม่พบรายงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดถึงประสิทธิภาพของสารเซซามินในการทำลายเซลล์มะเร็งที่ศึกษาในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th) หรือโทร. 02 2026800

ข่าวปลอม อย่าแชร์! หากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องหากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าหากผู้ชายมีความเครียดและทำงานหนัก จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อมูลว่าอายุที่มากขึ้นและมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าความเครียด และทำงานหนัก จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ความเครียด คือ การตอบสนองของร่างกายต่อสภาวะกดดันทางกาย จิตใจ และอารมณ์ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าความเครียดอาจเกี่ยวข้องกับการขยายขนาดและแพร่กระจายของมะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามความเครียดไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ความเครียดอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น  ความเครียดส่งผลกระทบหลายด้าน ดังนั้นควรหาวิธีผ่อนคลายจากภาวะเครียด เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมที่ชอบ นั่งสมาธิ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะออกยาก ปัสสาวะไม่สุด เป็นต้น ควรรีบพบแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ :…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีรักษามะเร็งให้หายได้ ไม่ให้ทำคีโมแต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด

ตามที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีรักษามะเร็งให้หายได้ ไม่ให้ทำคีโมแต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์ในสื่อออนไลน์โดยระบุว่าวิธีรักษามะเร็งให้หายได้ ไม่ให้ทำคีโมแต่ให้กำหนดลมหายใจตัวเอง และกินอาหารที่ไม่เป็นกรด ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการกำหนดลมหายใจตัวเอง และการกินอาหารที่ไม่เป็นกรดจะรักษามะเร็งในมนุษย์ได้นั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม คือ การใช้ยาเข้าไปหยุดหรือชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีประโยชน์กับผู้ป่วย สามารถรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดให้หายขาดได้ เช่น มะเร็งเม็ดโลหิต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลูกอัณฑะ แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้ายาเคมีบำบัดกลุ่มใหม่ ๆ ที่ให้ผลข้างเคียงลดน้อยลงกว่ายาเคมีบำบัดกลุ่มเดิม รวมถึงยังมีแนวทางและยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด  ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลายแนวทาง เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด การรักษาด้วยยามุ่งเป้า การรักษามะเร็งเฉพาะจุด เป็นต้น โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง รวมทั้งสุขภาพของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยในคนมีความสำคัญและจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศวางจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปแปบ แคปซูลหรือชาชง ผู้บริโภคควรศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! บอระเพ็ดพุงช้าง ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ

ตามที่ได้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง บอระเพ็ดพุงช้าง ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าบอระเพ็ดพุงช้าง นำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่างๆ ได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า บอระเพ็ดพุงช้าง (Stephania suberosa) เป็นไม้เถามีหัวกลมโผล่พ้นดิน จากการสืบค้นข้อมูลรายงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเบื้องต้นในการตรวจหาสารประกอบที่สำคัญของบอระเพ็ดพุงช้างซึ่งพบว่าพืชในสกุลนี้ประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น แอลคาลอยด์ (alkaloids) ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และสเตียรอยด์ (steroids) เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่พบงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าบอระเพ็ดพุงช้างสามารถใช้เป็นยารักษามะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งผู้ที่จะใช้สมุนไพรควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าบอระเพ็ดพุงช้างสามารถใช้เป็นยารักษามะเร็งในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม

ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีคลิปแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่าวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าคีโมหรือเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ยาหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการทำคีโมอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร ผมร่วง ร้อนใน มีแผลในเยื่อบุต่าง ๆ ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา รวมทั้งสภาวะความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ทั้งนี้ อาการข้างเคียงดังกล่าวข้างต้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่าง ๆ ก็จะหายไป จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม โดยเน้นการกินอาหารที่มีไขมันและโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (การกินคีโต) การอดอาหารโดยการทำ Intermittent Fasting (IF) รวมทั้งการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์นั้น ไม่สามารถลดผลข้างเคียงในการทำคีโมได้ เนื่องจากหากร่างกายของผู้ป่วยที่ทำคีโมอยู่ในภาวะขาดอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลเสียต่อการรักษา และการรับประทานอาหารครบหมู่ตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ช่วงการทำคีโมควรงดการกินผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ทำคีโมควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีคลิปวิดีโอแนะนำข้อมูลสุขภาพโดยระบุว่าเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากข้อมูลวิชาการ ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานเมล็ดมะละกอสุกช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในคนได้ อย่างไรก็ตาม เมล็ดมะละกอประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น กรดไขมัน โปรตีน และใยอาหาร เป็นต้น เมล็ดมะละกอถูกนำมาใช้ปรุงอาหารหรือทำเป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญหาพื้นบ้านในบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่พบสารสำคัญของเมล็ดมะละกอ เช่น สารเบนซิลกลูโคซิโนเลต (benzyl glucosinolate) ซึ่งจะถูกไฮโดรไลท์ไปเป็นสารเบนซิลไอโซไทโอไซยาเนท (benzyl Isothiocyanate) ที่มีผลการศึกษาว่าสามารถช่วยยับยั้งการแบ่งตัวเซลล์มะเร็ง แต่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เป็นเพียงการศึกษาที่อยู่ในระดับหลอดทดลองเท่านั้น และยังไม่มีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก ช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอตามสื่อออนไลน์ เรื่อง ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก ช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จกรณีคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ให้ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว คื่นช่าย และมะระขี้นก เพื่อหวังผลในการรักษามะเร็งก้านสมองนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าพืชผักดังกล่าวไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ เนื่องจากอาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพรอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สารโมโนเทอร์ปีน ไทรเทอร์ปีนส์ ฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันว่าพืชผักดังกล่าวช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง และมะเร็งต่อมไทรอยด์ในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำมายืนยันได้ว่าใบบัวบก ผักชีลาว คึ่นฉ่าย และมะระขี้นกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

ตามที่มีกระแสข่าวตามสื่อออนไลน์ เรื่อง ต้นสะเดาดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าสะเดาดำสามารถนำมารับประทานเพื่อรักษาโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยต้นสะเดาดำ สามารถนำยอดและดอกมารับประทานได้เหมือนกับยอดสะเดาเขียวทั่วไป แต่พืชสะเดาดำนอกจากจะเป็นอาหารได้แล้วยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ได้แก่ ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสารสำคัญที่พบมากในสะเดาดำ คือ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีบทบาทในการช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ในด้านการรักษาโรคไม่พบหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ อีกทั้งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสะเดาดำช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งการรับประทานเพื่อหวังผลในด้านการรักษาโรคควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข