ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่คำแนะนำ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า ห้ามใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากอาหาร เนื่องจากเสี่ยงได้รับโซดาไฟและสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง กระดาษทิชชู (tissue paper) มีทั้งที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (เยื่อกระดาษจากต้นไม้) และจากเยื่อเวียนใหม่ กระดาษทิชชูจึงแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย เช่น กระดาษเช็ดหน้า กระดาษชำระ กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ เป็นต้น สำหรับการผลิตกระดาษทิชชู จากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์จะมีการนำเยื่อกระดาษมาตีผสมกับน้ำ ฟอกเยื่อกระดาษให้มีสีขาวแล้วนำมารีดอบเป็นแผ่น ส่วนการผลิตกระดาษทิชชูจากเยื่อเวียนใหม่จะมีการใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเพื่อตีปั่นวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อกระดาษ และใช้สารคลอรีนไดออกไซด์ในกระบวนการฟอกขาว จากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสารเคมีต่าง ๆ จนได้มาตรฐานก่อนรีดอบเป็นแผ่นต่อไป สำหรับความกังวลเกี่ยวกับสารเคมีจากกระดาษทิชชูจะปนเปื้อนสู่อาหารหากนำมาใช้ซับน้ำมันในอาหารประเภททอดนั้น ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าการใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอดทำให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามหากต้องการซับน้ำมันในอาหารควรเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาสำหรับใช้กับอาหารโดยเฉพาะเท่านั้น และควรเลือกใช้กระดาษทิชชูที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและควรใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ตามการใช้งาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการแนะนำข้อมูลสุขภาพในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องมังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแชร์สรรพคุณของมังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สืบค้นข้อมูลทางวิชาการและชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ มังคุด (mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangostana Linn สรรพคุณของมังคุดตามตำรับยาไทยส่วนใหญ่ใช้แก้ท้องเสียและสมานแผล จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่าเปลือกมังคุดมีสารแซนโทน ได้แก่ แมงโกสติน (mangostin) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดมาศึกษาวิจัยในระดับเซลล์พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองที่ศึกษาในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่พบหลักฐานงานวิจัยทางคลินิก การเผยแพร่ข้อมูลว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็ง จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามังคุดที่ผ่านการนึ่งแล้วนั้น สารแซนโทนที่อยู่ในเปลือกมังคุดไม่ได้ซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อมังคุดแต่อย่างใด ดังนั้นการรับประทานมังคุดนึ่งไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น และปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่ง รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ามังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลกระเบา ช่วยรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง ผลกระเบา ช่วยรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการระบุสรรพคุณของกระเบาว่า สามารถแก้เสมหะเป็นพิษ รักษามะเร็งได้นั้น ทางทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สืบค้นข้อมูลทางวิชาการและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ ซึ่งกระเบา (Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness) เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาพื้นบ้าน จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการพบว่าพืชตระกูล Hydnocarpus มีประมาณ 40 สายพันธุ์ โดยพืชในตระกูลนี้มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น flavonoids และ flavonolignans ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านมะเร็ง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้นและเป็นการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ จึงไม่ควรนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่อาจส่งผลทำให้ประชาชนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าผลกระเบาสามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใบทุเรียนเทศ! สามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้

ตามที่มีข่าวปรากฏตามสื่อ เกี่ยวกับประเด็น ใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีข่าวปรากฏตามสื่อเรื่อง ใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ โดยระบุว่า การนำใบทุเรียนเทศมาต้มเป็นชาแล้วรับประทาน จะช่วยในการฆ่าเซลมะเร็ง ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งแม้ว่าจะมีรายงานวิจัยส่วนหนึ่งที่ระบุว่าใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่ายาเคมีบำบัดนั้น แต่ข้อมูลนี้เป็นเพียงงานวิจัยในระดับเซลล์ และสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งใบทุเรียนเทศมีสารบางชนิดที่มีฤทธิ์เป็นยาระงับปวด สามารถต้านการอักเสบ และต้านการเกิดเนื้องอก ทั้งนี้การศึกษาวิจัยในคนมีความสำคัญ และจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศวางจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปแปบ แคปซูลหรือชาชง ผู้บริโภคควรศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม อย่าแชร์! สมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับกับประเด็นเรื่องสมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากที่มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรขันทองพยาบาท ว่าสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ชี้แจงว่า หลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการแล้วพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง และไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ สำหรับสมุนไพรขันทองพยาบาท (Suregada multiflora) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำหรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น และจากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ http://www.nci.go.th/ หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าขันทองพยาบาทไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผักปลาบ หญ้าปักกิ่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ผักปลาบ หญ้าปักกิ่ง ใช้รักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากมีการเผยแพร่ข้อมูลสมุนไพรผักปลาบ และหญ้าปักกิ่ง ว่าเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ โดยผักปลาบ และหญ้าปักกิ่งเป็นพืชสมุนไพรไทย ใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาพื้นบ้าน สมุนไพรเหล่านี้มีสารสำคัญที่ชื่อว่า glycosphingolipid และ phytosteryl glucoside ผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่า ผักปลาบ และหญ้าปักกิ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สมุนไพรผักปลาบ และหญ้าปักกิ่ง ไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้ แม้จะมีผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการพบว่า สารเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัด หน่วยงานที่ตรวจสอบ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เอื้องหมายนา สุดยอดสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์และแชร์คลิปวิดีโอในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง เอื้องหมายนา สุดยอดสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่เนื้อหาว่า เอื้องหมายนา เป็นสุดยอดสมุนไพรใช้รักษาโรคมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเอื้องหมายนาสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ โดยเอื้องหมายนา (Costus speciosus หรือ Cheilocostus speciosus) มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ และซาโปนิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลวิชาการด้านการรักษาโรคมะเร็งมีจำนวนน้อยมาก และยังไม่มีข้อสรุปว่าเอื้องหมายนาสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ ซึ่งการศึกษาวิจัยในคนถือได้ว่ามีความสำคัญ และจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยา และความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งการรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การทำแมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม

ตามที่มีข้อมูลปรากฎเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการทำแมมโมแกรม เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่า การทำแมมโมแกรม เป็นอันตราย และเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การตรวจแมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตรวจเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมได้ โดยการตรวจแมมโมแกรมแนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือมีความเสี่ยง ได้แก่ มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เป็นต้น  จากการเผยแพร่ข้อมูลว่าการทำแมมโมแกรมเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมนั้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการทำแมมโมแกรมไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้ได้รับรังสี แต่ก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงมีความปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงสัปดาห์ก่อนที่มีประจำเดือน เพื่อลดความเจ็บ สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือมีความเป็นไปได้ในการตั้งครรภ์ควรมีการแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ฉายรังสีก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ  www.nci.go.th หรือโทร. 02 2026800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าการทำแมมโมแกรมไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้ได้รับรังสี แต่ก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงมีความปลอดภัย

ข่าวปลอม อย่าแชร์! กระเทียมโทน สามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏในสื่อออนไลน์ ถึงประเด็นเรื่อง กระเทียมโทน สามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีการเผยแพร่สรรพคุณของกระเทียมโทน ที่ระบุว่าสามารถฆ่าเชื้อ และรักษาเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้นั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ากระเทียมโทนสามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยกระเทียมโทน (Single Bulb form of Elephant Garlic) เป็นพืชสมุนไพรมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium ampeloprasum var. ampeloprasum เป็นกระเทียมพันธุ์ที่มีหัวเดียว ไม่มีกลีบ กลิ่นฉุนน้อย นิยมนำมาทำเป็นกระเทียมดองเพื่อรับประทาน โดยกระเทียมมีสรรพคุณทางยา คือ เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟื้อ ขับเสมหะ ลดไขมัน เป็นต้น ซึ่งการศึกษาด้านเภสัชวิทยาพบสารที่สำคัญ ได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสารประเภทกำมะถัน (Organosulfur) คือ สาร allicin สาร ajoene และ สาร diallyl disulfide (DADs) มีฤทธิ์ต้านการอับเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรีย…

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็ง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพในสื่อโซเชียลเรื่องดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการโพสต์คลิปเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า ดื่มน้ำใบย่านางช่วยรักษามะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง จากการสืบค้นข้อมูลวิชาการพบว่า ย่านาง มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น สารกลุ่มฟีนอลิกส์ (phenolic compound) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลงานวิจัยที่ศึกษาในด้านการรักษาโรคมะเร็งนั้น ยังคงเป็นเพียงการศึกษาระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการและยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบย่านางสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ จึงควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณทางยาและการรับประทานสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสม หมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพร โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งควรขอคำแนะนำจากแพทย์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ  และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 02-202-6800 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าใบย่านางช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้