Cancer Warrior

  Cancer Warrior คือ นักรบสู้มะเร็ง ทีมปราบมะเร็งสำคัญ 5 ชนิด คือ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก เพื่อการดูแล “มะเร็งครบวงจร” การดูแลตั้งแต่ส่งเสริมป้องกัน คัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษา ดูแลฟื้นฟูกายใจ ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งอาจไม่มาก การรักษาจึงเป็นแนวทางหลัก แต่มะเร็งหลายชนิดเราเข้าใจวงจรการเกิด สามารถดูแลตั้งแต่ยังไม่ป่วย จนถึงป่วยแล้วได้รับการรักษาเหมาะสม จะช่วยผู้ป่วยลดการเสียชีวิต ลดการเจ็บป่วยลงได้   สำหรับกลุ่มคนปกติเราสามารถให้ความรู้ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เสี่ยงมะเร็งได้ รวมถึงการให้วัคซีน  เป็นไปตามนโยบายการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในหญิงอายุ 11-20 ปี สามารถลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะยาวต่อไปได้ ส่วนคนที่มีภาวะเสี่ยง สามารถเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งในประชากรกลุ่มเสี่ยง ทั้งการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ การตรวจไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับ สำหรับรายที่ป่วยเป็นมะเร็ง หากได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่างๆ   เช่น การตรวจเต้านามด้วยแมมโมแกรม  เมื่อทราบเร็วก็รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการรักษาจะมีตั้งแต่การให้ยาเคมีบำบัด รวมถึงการรักษาด้วยการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)  การบริการรังสีรักษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ กำหนดระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง บริการรังสีร่วมรักษา…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนคนไทยร่วมต้านภัยโรคมะเร็งเนื่องในวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ 10 ธันวาคม ด้วยการศึกษาสัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีหลีกเลี่ยงโรคมะเร็ง

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวในพิธิเปิดกิจกรรม 10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติว่า วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเป็นวันสถาปนาสถาบันมะเร็งแห่งชาติและวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันได้ว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนั้น เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ถ้ารู้เร็ว ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่า “ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีมะเร็งหลายอวัยวะที่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้เร็ว ซึ่งจากสถิติจะเห็นว่าร้อยละ 40 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ ดังนั้น จุดสำคัญอยู่ที่เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนรู้เร็ว และสามารถเข้าสู่การรักษาได้เร็ว เราก็จะรักษาชีวิตคนไข้ได้ถึง 40 เปอร์เซนต์ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่อาจเสียชีวิตได้…” “สิ่งสำคัญอยู่ที่ประชาชนตระหนักรู้ว่าอะไรคือความเสี่ยง อะไรคืออาการเริ่มแรกที่ควรจะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนั้น การรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนัก มีความรู้เรื่องของปัจจัยเสี่ยง เรื่องของอาการแรกเริ่ม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมคิดว่าสำคัญยิ่งกว่าการตั้งรับเพื่อรอให้การรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลด้วยซ้ำไป…” โดยสัญญาณเตือนการเกิดโรค 7 ประการ ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เป็นแผลเรื้อรัง ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลืนกินอาหารลำบาก ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยืนยันว่า Ice Bathing ไม่ใช่วิธีรักษามะเร็ง และอาจมีอันตรายถึงชีวิตหากมีโรคประจำตัว

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนายการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการ Ice Bathing ที่อ้างว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้ายให้ดีขึ้นได้ ว่ายังไม่มีขัอมูลทางการแพทย์ยืนยัน แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใช้ความเย็น แต่เครื่องมือดังกล่าวต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมคือต้องติดลบหลายองศา และ ใช้ความเย็นจัดเฉพาะที่ตัวก้อนมะเร็งด้วยเครื่องมือพิเศษโดยแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง ส่วนการลงแช่ในน้ำแข็งทั้งตัวนั้นยังไม่มีการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาหรือชะลอโรคมะเร็งได้ ที่สำคัญอาจก่ออันตรายต่อสุขภาพ เพราะคนไข้มะเร็งส่วนใหญ่มักจะอายุมากและร่างกายไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิม ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจหรือโรคปอดร่วมด้วย ก็ยิ่งอันตรายเพิ่มขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิร่างกายที่รวดเร็ว จากอุณหภูมิปกติไปสู่อุณภูมิที่เย็นจัด อาจจะไปกระตุ้นให้โรคหัวใจหรือปอดกำเริบรุนแรง ที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า  ภัยร้ายทำลายสุขภาพ ส่วนประกอบในบุหรี่ไฟฟ้า มี สารนิโคติน เป็นสารที่ทำให้ส่งผลต่อการประตุ้นประสาท เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงเป็นตัวการในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย สารโพรไพลีนไกลคอล สารกลีเซอรีน และ สารแต่งกลิ่นรส เมื่อสูดดมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และปอดได้ หยุดสูบ… หยุดทำลายสุขภาพ #สถาบันมะเร็งแห่งชาติ #กรมการแพทย์

โรคมะเร็ง รับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม

    โรคมะเร็ง รับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม หมายถึง ประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วสามารถเข้ารับริการยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งใดก็ได้ที่มีความพร้อมในการให้บริการ

กรมการแพทย์ชี้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” พบบ่อยในคนไทย

แนะหมั่นสังเกตตนเองหากคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็น 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย พบมากเป็นอันดับ 5 ในเพศชาย และอันดับ 9 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 4,300 ราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,300 ราย  หรือคิดเป็น 4 คนต่อวัน มะเร็งชนิดนี้พบได้ในทุกกลุ่มวัยและจะมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจัดเป็นโรคมะเร็งของระบบโลหิตวิทยา หรือระบบโรคเลือด มักเกิดกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง เป็นต้น สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากข้อมูลพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ การสัมผัสสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช รวมไปถึงการมีภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น อาการในระยะแรกมักพบต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ซึ่งจะคลำพบได้ง่ายในบริเวณที่อยู่ตื้น คลำได้ และอาจไม่รู้สึกเจ็บ เช่น บริเวณข้างลำคอ รักแร้ เต้านม หรือขาหนีบ…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตือนคนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล หลายคนอาจละเลยและคิดว่าเป็นแผลเล็กน้อยในช่องปากน่าจะหายได้เอง ทำให้ไม่ได้สังเกตสัญญาณของมะเร็งในช่องปาก ข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานจำนวนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่ 4214 คน/ปี โดยพบในเพศชายมากว่าเพศหญิงและมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุสำคัญของมะเร็งช่องปากมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) หรือการมีแผลเรื้อรังในช่องปาก อาการส่วนใหญ่ของมะเร็งในช่องปากพบได้หลายลักษณะ เช่น การมีฝ้าขาวๆ ที่บริเวณใต้ลิ้น เหงือก พื้นช่องปาก เมื่อเป็นนาน ๆ รอยฝ้านั้นจะนูนขึ้นเป็นก้อน หรือกรณีเกิดแผลจะมีลักษณะคล้ายอาการร้อนใน แต่จะมีอาการมากกว่า 1 เดือน มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหูขณะกลืนอาหารได้เพราะมีเส้นประสาทร่วมกัน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ หรือสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเริ่มต้นง่าย ๆ จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวข้างต้น หมั่นดูแลใส่ใจสุขอนามัยช่องปากและฟันของตนเองเป็นประจำทุกวัน จัดตารางสุขภาพให้ตนเอง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก ทุก ๆ 6…

“มะเร็งกระเพาะอาหาร” ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ทั้งนี้ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหากมีอาการปวดท้องเรื้อรังจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน และอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ อาการท้องอืดจุกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ หรืออาจมีเลือดปนในอุจจาระ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากพบอาหารผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ ในด้านการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย  

“เคมีบำบัด” กับการรักษามะเร็ง

“เคมีบำบัด” ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง “การใช้ยาเคมีบำบัด” เป็นแนวทางการรักษาโรคมะเร็งที่หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ เคมีบำบัดถือเป็นหนึ่งในแนวทางหลักของการรักษาโรคมะเร็ง เป็นวิธีการที่ใช้ยาเคมีเข้าไปทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์หลายด้าน เช่น เพื่อการรักษา เพื่อการควบคุมไม่ให้มะเร็งแพร่กระจาย และเพื่อบรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การทำเคมีบำบัดจะต้องมีการวางแผนการรักษาตามขั้นตอน เพื่อให้ผลของการรักษามีประสิทธิภาพและผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์สูงสุด เบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกาย เพื่อพิจารณาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการทำเคมีบำบัดและเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วยพร้อมที่จะได้รับการรักษาตามสภาวะของแต่ละบุคคลหรือไม่ เช่น ประเภทของมะเร็ง ขนาดหรือตำแหน่งการเกิด อายุของผู้ป่วย และผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย การทำเคมีบำบัดอาจใช้ยาชนิดเดียวหรือใช้ยาจากหลายกลุ่มร่วมกันแล้วแต่กรณี การทำเคมีบำบัดอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตบ้าง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษาจะช่วยบรรเทาความเครียด รวมไปถึงลดผลกระทบทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความวิตกกังวล รวมไปถึงแจ้งแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรเพราะอาจไปลดประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้ยาเคมีบำบัดนั้นจะไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเพียงอย่างเดียว แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงอีกด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ เหนื่อยง่าย ท้องเสีย ผมร่วง และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณและชนิดของยาเคมีบำบัดที่ใช้ ความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วยเอง อย่างไรก็ตามอาการจากผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในช่วงเวลาที่กำลังได้รับยาหรือหลังได้รับยาในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น ผู้ป่วยจึงไม่ควรหมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรค