รู้ทันมะเร็ง : สมุนไพร(ก็)ก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  11 ม.ค. 2556          สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวฮือฮาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่าตรวจพบสารก่อมะเร็งจากตำรับยาแผนไทยรวม 10 ตำรับจากบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีชื่อไม่คุ้นหูว่าไคร้เครือ ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้ไม่ได้เป็นญาติอะไรกับตะไคร้และกวาวเครือ แต่เป็นพืชไม้เถา โดยนำเอาส่วนของรากมาทำเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมตัวจริงนับวันจะหายากขึ้น โดยสรรพคุณแล้วไคร้เครือใช้รักษาโรคพิษไข้ เป็นยาชูกำลังช่วยเจริญอาหาร ส่วนยาแผนไทยที่ถูกตัดออก 10 ตำรับก็เป็นพวกยาหอม ยาเขียว ยาธาตุ อันได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะการพลู ยาประสะเจตพังคี ยามันทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาเขียวหอม และยาอำมฤควาที ที่ต้องระบุชื่อให้ชัดกันอีกครั้งก็เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ               เหตุที่เจ้าสมุนไพรไคร้เครือมีสารก่อมะเร็งเพราะมีกรดอริสโตโลคิก ซึ่งองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์มานานหลายปีเนื่องจากมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนแล้วว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีพิษต่อไต ตับ ต่อมหมวกไต ทำให้เกิดภาวะไตวายและในสัตว์ทดลองยังทำให้มดลูกผิดปกติและทำให้แท้งได้     …

รู้ทันมะเร็ง – ชาเขียวต้านมะเร็งในคนได้จริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  1ก.ค. 2554          ยุคสมัยนี้ใครไม่รู้จักชาเขียวนับว่าเชยเต็มที เรียกว่าร้านขายเครื่องดื่มหรือร้านสะดวกซื้อแทบทุกร้านต้องมีชาเขียวพร้อมดื่มสารพัดรสชาติไว้จำหน่าย ทั้งๆ ที่สมัยก่อนคนไทยเรารู้จักแต่ชาจีน ชาอังกฤษ ชาดำเย็น ชาเย็น         แต่ปัจจุบันนี้จะหาชาพวกที่ว่าแบบพร้อมดื่มยังหายากกว่าหาชาเขียว คนส่วนใหญ่รู้ว่าการดื่มชาเขียวส่งผลดีต่อสุขภาพ ตั้งแต่โบราณกาลมีการใช้ชาเป็นทั้งเครื่องดื่มและเป็นยา ชาเขียวซึ่งเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมักประกอบด้วยสารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ตัวสำคัญคือสารโพลีฟีนอล พระเอกของสารในกลุ่มนี้มีชื่อว่า ”คาทาชิน” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งพบมากในชาเขียว งานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสารคาทาชินยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งผิวหนัง ปอด ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อนและเต้านม                   แต่การศึกษาในมนุษย์ทั้งในแง่ระบาดวิทยาและการวิจัยในระดับคลินิกยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ณ เวลานี้ว่าชาเขียวช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งหรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง รวมถึงไม่สามารถยับยั้งหรือรักษาโรคมะเร็งในคนได้แต่อย่างใด จำเป็นต้องรอการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มและควบคุมตัวแปรต่างๆ ในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันจะมีบางรายงานที่สนับสนุนแต่ด้วยความหลากหลายของตัวแปรต่างๆ ในงานวิจัยเหล่านั้นจึงยังไม่สามารถสรุปได้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการว่าการบริโภคชาสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งประเภทต่างๆ ในคนได้อย่างมีนัยสำคัญ   …