สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนคนไทยร่วมต้านภัยโรคมะเร็งเนื่องในวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ 10 ธันวาคม ด้วยการศึกษาสัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีหลีกเลี่ยงโรคมะเร็ง

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวในพิธิเปิดกิจกรรม 10 ธันวาคม วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติว่า วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเป็นวันสถาปนาสถาบันมะเร็งแห่งชาติและวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันได้ว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตนั้น เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ถ้ารู้เร็ว ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าวว่า “ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีมะเร็งหลายอวัยวะที่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้เร็ว ซึ่งจากสถิติจะเห็นว่าร้อยละ 40 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นมะเร็งที่สามารถรักษาหายได้ ดังนั้น จุดสำคัญอยู่ที่เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนรู้เร็ว และสามารถเข้าสู่การรักษาได้เร็ว เราก็จะรักษาชีวิตคนไข้ได้ถึง 40 เปอร์เซนต์ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่อาจเสียชีวิตได้…” “สิ่งสำคัญอยู่ที่ประชาชนตระหนักรู้ว่าอะไรคือความเสี่ยง อะไรคืออาการเริ่มแรกที่ควรจะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนั้น การรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนัก มีความรู้เรื่องของปัจจัยเสี่ยง เรื่องของอาการแรกเริ่ม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมคิดว่าสำคัญยิ่งกว่าการตั้งรับเพื่อรอให้การรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลด้วยซ้ำไป…” โดยสัญญาณเตือนการเกิดโรค 7 ประการ ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เป็นแผลเรื้อรัง ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลืนกินอาหารลำบาก ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดเปลี่ยนไป…

บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสุขภาพ

บุหรี่ไฟฟ้า  ภัยร้ายทำลายสุขภาพ ส่วนประกอบในบุหรี่ไฟฟ้า มี สารนิโคติน เป็นสารที่ทำให้ส่งผลต่อการประตุ้นประสาท เพิ่มความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงเป็นตัวการในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย สารโพรไพลีนไกลคอล สารกลีเซอรีน และ สารแต่งกลิ่นรส เมื่อสูดดมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ และปอดได้ หยุดสูบ… หยุดทำลายสุขภาพ #สถาบันมะเร็งแห่งชาติ #กรมการแพทย์

โรคมะเร็ง รับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม

    โรคมะเร็ง รับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม หมายถึง ประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วสามารถเข้ารับริการยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งใดก็ได้ที่มีความพร้อมในการให้บริการ

มะเร็งท่อน้ำดี ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ปัจจุบันประเทศไทยพบมะเร็งตับ 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ปีละ 122,757 ราย มะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย (ปี 2558) พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับโดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สาเหตุของมะเร็งตับเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ฯลฯ นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซีก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ ทั้งนี้อาการของมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก…

กรมการแพทย์ชี้ “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” พบบ่อยในคนไทย

แนะหมั่นสังเกตตนเองหากคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็น 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย พบมากเป็นอันดับ 5 ในเพศชาย และอันดับ 9 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 4,300 ราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,300 ราย  หรือคิดเป็น 4 คนต่อวัน มะเร็งชนิดนี้พบได้ในทุกกลุ่มวัยและจะมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจัดเป็นโรคมะเร็งของระบบโลหิตวิทยา หรือระบบโรคเลือด มักเกิดกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง เป็นต้น สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากข้อมูลพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ การสัมผัสสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช รวมไปถึงการมีภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น อาการในระยะแรกมักพบต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ซึ่งจะคลำพบได้ง่ายในบริเวณที่อยู่ตื้น คลำได้ และอาจไม่รู้สึกเจ็บ เช่น บริเวณข้างลำคอ รักแร้ เต้านม หรือขาหนีบ…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตือนคนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล หลายคนอาจละเลยและคิดว่าเป็นแผลเล็กน้อยในช่องปากน่าจะหายได้เอง ทำให้ไม่ได้สังเกตสัญญาณของมะเร็งในช่องปาก ข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานจำนวนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่ 4214 คน/ปี โดยพบในเพศชายมากว่าเพศหญิงและมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุสำคัญของมะเร็งช่องปากมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) หรือการมีแผลเรื้อรังในช่องปาก อาการส่วนใหญ่ของมะเร็งในช่องปากพบได้หลายลักษณะ เช่น การมีฝ้าขาวๆ ที่บริเวณใต้ลิ้น เหงือก พื้นช่องปาก เมื่อเป็นนาน ๆ รอยฝ้านั้นจะนูนขึ้นเป็นก้อน หรือกรณีเกิดแผลจะมีลักษณะคล้ายอาการร้อนใน แต่จะมีอาการมากกว่า 1 เดือน มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหูขณะกลืนอาหารได้เพราะมีเส้นประสาทร่วมกัน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ หรือสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเริ่มต้นง่าย ๆ จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวข้างต้น หมั่นดูแลใส่ใจสุขอนามัยช่องปากและฟันของตนเองเป็นประจำทุกวัน จัดตารางสุขภาพให้ตนเอง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก ทุก ๆ 6…

“มะเร็งกระเพาะอาหาร” ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori  การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง รวมทั้งอาการอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ทั้งนี้ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน โดยพบจำนวนผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหากมีอาการปวดท้องเรื้อรังจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ โดยระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน และอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ อาการท้องอืดจุกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ หรืออาจมีเลือดปนในอุจจาระ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากพบอาหารผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ ในด้านการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย  

มะเร็งไทรอยด์ ตรวจพบเร็ว สามารถรักษาให้หายขาดได้

จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย เราพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์รายใหม่ประมาณ 2800 ราย โดยส่วนใหญ่จะพบมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จัดอยู่ในอันดับ 7 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในเพศหญิง ส่วนในเพศชายแม้จะพบน้อยกว่าแต่ก็มีความเสี่ยงของการเกิดโรคเช่นกัน มะเร็งไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ และพัฒนาเป็นก้อนมะเร็งขึ้น และอาจจะขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่ามะเร็งไทรอยด์เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยง เช่น การได้รับรังสีบริเวณลำคอหรือบริเวณต่อมไทรอยด์ เคยเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ขาดธาตุอาหารไอโอดีน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น มะเร็งไทรอยด์ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้น ผู้ป่วยอาจคลำพบก้อนนูนใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางลำคอ ซึ่งอาจพบเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และอาจพบอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เสียงแหบ หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวีด กลืนลำบากหรือรู้สึกเจ็บขณะกลืน เจ็บบริเวณลำคอ ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอบวม เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมาพบแพทย์ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ โรคประจำตัว และการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการตรวจเลือด และหากสงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งไทรอยด์ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การทำอัลตราซาวด์ การตรวจด้วยไอโอดีนรังสี การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำไทรอยด์สแกน และการตรวจชิ้นเนื้อ ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์จะได้รับการดูแลรักษาจากทีมแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพ เพื่อวางแผนวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับชนิดและระยะโรคของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งการรักษามะเร็งไทรอยด์อาจทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การรับประทานไอโอดีนรังสี…

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ส่งกำลังใจให้ผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง

เดือนมิถุนายน ของทุกปี เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองให้กับผู้รอดชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก ซึ่งหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่างก็ให้การยกย่องและให้เกียรติแก่ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถต่อสู้กับโรคนี้อย่างกล้าหาญและอดทน ผู้ใช้ชีวิตรอดจากโรคมะเร็งนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้ใฝ่รู้ และไม่นิ่งนอนใจเมื่อพบว่าตนเอง   มีอาการที่บ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็ง 7 สัญญาณ ได้แก่ ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปร เป็นแผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกินกลืนอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดที่เปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบจนเรื้อรัง  และเมื่อพบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็ง ก็เข้ารับการรักษาและให้ความร่วมมือในการรักษาแผนปัจจุบันเป็นอย่างดี กรมการแพทย์ จึงขอให้กำลังใจกับผู้รอดชีวิตเหล่านี้ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 221 คน อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนที่ได้รับการรักษาหายขาดแล้วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสติ ไม่ประมาทในการบริโภคและการปฏิบัติตัว อีกทั้ง มีบางคนที่เสียสละเวลาส่วนตัวมาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองระหว่างรับการรักษา ซึ่งถือได้ว่าผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเหล่านี้      ล้วนเป็นกำลังใจที่สำคัญให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งที่ยังอยู่ในระหว่างการรักษาได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันสังคมไทยหันมาให้ความสนใจผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง  ซึ่งช่วยเป็นแรงผลักดันให้คนไทยส่วนใหญ่หันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การรณรงค์ให้เกิดการคัดกรองโรคมะเร็งให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้ เพราะหากปล่อยให้เป็นระยะท้าย ๆ แล้วค่อยมาพบแพทย์ อาจทำให้โอกาสการมีชีวิตรอดจากโรคมะเร็ง ลดน้อยลงได้