รู้ทันมะเร็ง : น้ำมันทอดซ้ำ เหตุก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  25 มี.ค. 2554           แม้ว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มจะได้รับการจัดการผ่านไปแล้วก็ตาม ข่าวการจับกุมผู้ประกอบการโรงงานบรรจุน้ำมันพืชใช้แล้วที่นำไปบรรจุปี๊บส่งขายพ่อค่าแม่ค้าตามตลาด โดยใช้วิธีการเพียงแค่กรองด้วยผ้ากรองเพื่อให้ดูใสขึ้นนั้น แม้ทางโรงงานจะอ้างว่าจะนำไปส่งให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ก็นับว่าเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรมและขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมอย่างยิ่ง           เหตุเพราะในน้ำมันทอดซ้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ก็ตาม มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากมายหลายชนิด ที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง ตัวหลักๆ ที่เป็นผู้ร้ายหัวหน้าแก๊งคือ สารโพลาร์และสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเกิดขึ้นหลังการทอดอาหาร ยิ่งใช้น้ำมันเก่าทอดซ้ำบ่อยเท่าไหร่ สารพวกนี้ยิ่งเกิดมากขึ้น ในทางปฏิบัติ เราใช้ชุดทดสอบคุณภาพน้ำมันทอดซ้ำอย่างง่าย โดยเป็นการตรวจหาระดับสารโพลาร์ ถ้าค่าสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก น้ำมันนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่าปลอดจากสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เนื่องจากไม่สามารถวัดได้โดยชุดทดสอบคุณภาพอย่างง่ายดังกล่าว           จากการศึกษาพบว่า การใช้น้ำมันทอดซ้ำทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง ที่น่าสนใจก็คือไม่เพียงแต่อันตรายที่เกิดจากการบริโภคด้วยการกินเท่านั้น การหายใจเอาไอน้ำมันหรือควันจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำก็ทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน จากงานวิจัยที่ประเทศจีนพบว่า ผู้หญิงจีนที่ไม่สูบบุหรี่จำนวนมากป่วยเป็นมะเร็งปอด ซึ่งเมื่อดูจากประวัติแล้ว…

รู้ทันมะเร็ง : ข้าวถุงกับสารก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  28 มิ.ย. 2556           ข่าวร้อนในแวดวงการเมืองเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ซึ่งนอกจากจะมีผลโดยตรงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อเกษตรกรชาวนา ที่สำคัญกระแสข่าวเรื่องมีสารก่อมะเร็งในข้าวสารด้อยคุณภาพยังมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องรีบออกมาชี้แจง           การเก็บข้าวในจำนวนมากนั้นปกติก็มีการรมยาเพื่อกำจัดมอด แมลงตัวเล็กตัวน้อยอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติแต่ประการใด แต่ที่เป็นประเด็นข้าวร้อนในขณะนี้ คงเป็นเพราะมีข่าวเรื่องมีการเก็บข้าวที่ด้อยคุณภาพมีความชื้นสูงหรืออาจจะเก็บข้าวจำนวนมากกว่าปกติไว้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้อาจเกิดสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในข้าวสารถุงที่จำหน่ายตามห้างร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีประเด็นสุขภาพ 2 ประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคควรรับรู้          ประเด็นแรก การเก็บข้าวเปลือกหรือข้าวสารคุณภาพต่ำที่ยังมีความชื้นสูงก็เช่นเดียวกับผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดเชื้อรากลุ่มแอสเปอร์จิลัสที่สร้างสารก่อมะเร็งที่ชื่อว่าอะฟลาทอกซิน แต่เชื้อราชนิดนี้มักขึ้นในผลิตผลทางการเกษตรที่มีน้ำมันมาก เช่น ถั่ว ข้าวโพด หอมแดง และถ้ามีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในข้าวสารผู้ซื้อสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากมีข้าวขึ้นราอยู่ในถุงและในกระบวนการผลิตข้าวสารบรรจุถุงมักมีการตรวจสอบคุณภาพข้าวสารเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นช่วงนี้ผู้บริโภคก็ต้องสนใจดูหน้าตาข้าวสารในถุงกันมากกว่าปกติเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ           ประเด็นที่สุดท้ายที่หลายคนไม่ใคร่สบายใจคือเรื่องสารเคมีที่ใช้ในการรมยากำจัดมอดจะตกค้างมากกว่าปกติ ทำให้ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยปกติแล้วการรมยาเพื่อฆ่ามอดในข้าวจะใช้สาร 2 ชนิดคือ อลูมิเนียมฟอสไฟด์ทำให้เกิดก๊าซฟอสฟีน และอีกตัวคือแมกนีเซียมฟอสไฟด์…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งกับสารต้านอนุมูลอิสระ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  25 ม.ค. 2556           ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวสำคัญในแวดวงสุขภาพที่ตรงข้ามกับความเชื่อในปัจจุบันที่ว่าสารต้านอนุมูลอิสระเป็นของดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้สุขภาพดี ป้องกันอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์ ป้องกันการเกิดมะเร็งและดีต่อสุขภาพอีกสารพัด แต่บทความที่ว่ากลับสวนทางกันคือนอกจากไม่ช่วยป้องกันมะเร็งแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งและยังอาจจะทำให้มะเร็งที่เป็นอยู่กลับแย่ลงเร็วเสียด้วยซ้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งในระยะสุดท้าย ถ้าเป็นบทความของแพทย์หรือนักวิจัยทั่วไปธรรมดาคงไม่น่าตื่นเต้นเท่าใดนัก แต่นี่เป็นบทความของ ดร.เจมส์ วัตสัน นักชีววิทยาโมเลกุลชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ.2505 ผู้สร้างผลงานชิ้นโบแดงสะท้านยุทธจักรวงการแพทย์ในยุคนั้นด้วยการค้นพบโครงสร้างรหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอ ทำเอาวงการสุขภาพโลกต้องหันมาให้ความสนใจ                    ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระที่เรามักได้ยินชื่อกันเป็นประจำนั้นมีประโยชน์มีโทษอย่างไร อันว่าการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติของคนเรานั้นมีการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นภายในร่างกาย จากสาเหตุจิปาถะทั้งมลภาวะรอบตัว อาหาร สารพิษ สารเคมีจากสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ รวมถึงความเครียดภายในร่างกาย แต่ไหนแต่ไรมาก็เชื่อกันมาว่าเจ้าอนุมูลอิสระที่ถูกสร้างขึ้นนี้เป็นสิ่งไม่ดีทำให้เซลล์ถูกทำลาย แก่ก่อนวัย ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ สารพัดรวมถึงโรคมะเร็งด้วย การให้สารเข้าไปต่อต้านอนุมูลอิสระทั้งจากอาหารสดต่างๆ เช่น ผักสด ผลไม้ เมล็ดธัญพืชต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามินเม็ดสำเร็จรูปที่มีทั้งวิตามินเอ ซี…

รู้ทันมะเร็ง : เมนูอาหารไทยต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  26 มิ.ย. 2558           อาหารการกินนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ทั้งช่วยทำให้ผู้บริโภคสุขภาพดี ห่างไกลโรคร้าย ในขณะเดียวกันอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันอาหารไทยเราได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศทั่วโลก มีร้านอาหารไทยกว่า 2 หมื่นร้าน ใน 93 ประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากรสชาติของอาหารไทยจะอร่อยถูกใจแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย คนไทยเราโชคดีกว่าผู้คนอีกหลายประเทศที่ได้รับประทานเครื่องเทศ สมุนไพร ผัก ผลไม้ที่ใหม่สดเสมอ แต่น่าเสียดายที่คนไทยส่วนหนึ่งกลับหันไปนิยมบริโภคอาหารต่างชาติที่เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์และไขมันสูง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นมะเร็งกันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เป็นทุกวันนี้                      หลายคนอาจเคยได้รู้จัก 9 เคล็ดลับอาหารต้านมะเร็งมาแล้วคือ กินผักหลากสีทุกวัน ขยันหาผลไม้เป็นประจำ ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าละเลยปรุงอาหารถูกวิธี หลีกหนีอาหารไขมัน หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง แต่ในทางปฏิบัติหลายท่านคงอยากทราบว่า รายการอาหารที่แนะนำให้กินได้บ่อยๆ…

รู้ทันมะเร็ง : ผักตระกูลกะหล่ำต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  4 ก.ค. 2557          อาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันอาหารหลายประเภทก็มีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาพืชผักผลไม้ ธัญพืช เครื่องเทศต่างๆ วันนี้ได้โอกาสขอพูดถึงพืชตระกูลกะหล่ำ อันได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวผักกาด ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งคือ สารชัลโฟราเฟน สารอินโดล-3-คาร์บินอล สารไอโซไธโอไซยาเนต สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลายประการ ตั้งแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเอ็นไซม์ที่กระตุ้นสารก่อมะเร็ง ดักจับสารก่อมะเร็งและอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ปกติและทำลายดีเอ็นเอซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ส่งเสริมเอ็นไซม์ที่ขับพิษของสารก่อมะเร็ง รักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่รับประทานพืชตระกูลกะหล่ำเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่                   แต่ถ้ามาดูพระเอกของพืชตระกูลนี้คือบรอกโคลี ยังอุดมไปด้วยสารเบตาแคโรทีน วิตามินซี…