รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากเชื้อไวรัสหูด : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  26 เม.ย. 2556           ในบรรดาสาเหตุของมะเร็งที่มีมากมายหลายประการ การติดเชื้อก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วหนีไม่พ้นการติดเชื้อเรื้อรัง ไม่ได้จำกัดเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต ก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน กล่าวคือเมื่อมีการติดเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นเวลานานและมักไม่แสดงอาการเหมือนการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ทำให้ผู้ที่มีการติดเชื้อไม่รู้ว่าตนเองมีเชื้อโรคในร่างกาย เชื้อโรคจะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภาวะการอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนมีการสร้างสารที่กระตุ้นให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวผิดปกติจนเกิดเป็นมะเร็งในที่สุด           วกกลับมาเรื่องหูดกันก่อนดีกว่า หูดที่คุ้นหน้าคุ้นตาเราๆ ท่านๆ ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า ผิวขรุขระเหมือนเปลือกน้อยหน่า บางทีก็ไปโผล่แถวอวัยวะเพศชายเพศหญิง เจริญเติบโตดีจนหน้าตาเหมือนหงอนไก่ ที่เราเรียกว่าหูดหงอนไก่ หูดพวกนี้เกิดจากเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่า หรือเรียกสั้นๆ ว่าไวรัสหูดหรือไวรัสเอชพีวี ซึ่งมีมากมายกว่า 150 สายพันธุ์ย่อย เชื้อไวรัสพวกนี้มีทั้งที่ทำให้เกิดอาการและไม่แสดงอาการอะไร มีทั้งที่ไม่ทำให้เป็นมะเร็งและเป็นสาเหตุของมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่นสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุสำคัญของหูดที่ผิวหนังและบริเวณอวัยวะเพศ ไม่ทำให้เป็นมะเร็ง แต่สายพันธุ์ที่พบว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งมีประมาณ 12 สายพันธุ์ย่อย…

รู้ทันมะเร็ง : ป้องกันมะเร็งอย่างเป็นระบบ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก 29 พ.ย. 2556           ใครๆ ก็ชอบถามคำถามว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทำอย่างไรถึงไม่เป็นมะเร็ง ทุกครั้งที่รู้ว่าผู้เขียนทำงานอะไรอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีข่าวคนดังในบ้านเราเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง           สถานการณ์มะเร็งบ้านเราปัจจุบันยังพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับสถิติการเสียชีวิตอันดับหนึ่งต่อเนื่องมาหลายปี เรียกว่าช่วงนี้ทุกชั่วโมงจะมีผู้ป่วยมะเร็งใหม่ชั่วโมงละ 14 รายและมีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตชั่วโมงละ 7 ราย โดยเป็นมะเร็งของทุกอวัยวะรวมกันทำให้ตัวเลขดูสูงจนน่ากลัว ประเด็นหลักที่ทำให้ภาพรวมของโรคมะเร็งเป็นแบบนี้ หนีไม่พ้นเรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีมากมายหลายอย่าง มะเร็งของแต่ละอวัยวะก็มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แตกต่างกันไป และมะเร็งของหลายอวัยวะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน จึงใช้คำว่าปัจจัยเสี่ยงแทน แม้ว่าจะแบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุคือ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมและสุดท้ายคือสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์เป็นสาเหตุไม่มากมายนักแค่ 5-10% ของมะเร็งที่พบทั้งหมด แต่เจ้า 2 ปัจจัยที่เหลือคือพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เราทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันและควบคุมการเกิดโรคมะเร็งได้           เริ่มต้นจากหลีกเลี่ยงการได้รับสารก่อมะเร็งจากพฤติกรรมแย่ๆ ทั้งหลาย เริ่มตั้งแต่หลีกเลี่ยงยาสูบทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะแต่บุหรี่แต่อย่างเดียว ทั้งสูบเองและได้รับควันมือสอง…

รู้ทันมะเร็ง : ห่างไกลมะเร็งด้วยการออกกำลังกาย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  16 ม.ค. 2558           เริ่มศักราชใหม่ต้นปีแบบนี้ ชวนกันมาทำเรื่องดีๆ เรื่องใกล้ตัวเพื่อสุขภาพที่ดีกันดีกว่า การออกกำลังกายใครๆ ก็รู้ว่ามีผลดีต่อสุขภาพมากมาย แต่ในความเป็นจริง แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา อเมริกันชนส่วนใหญ่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังไม่ค่อยใส่ใจกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่าใดนัก           จากผลของการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้เกิดสมดุลของพลังงาน ช่วยควบคุมระดับอินซูลินและฮอร์โมน และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย งานวิจัยในต่างประเทศร้อยกว่าฉบับมีหลักฐานชัดเจนว่า การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อบุมดลูก ที่สำคัญยังพบว่าคนที่ออกกำลังกายในระดับปานกลางและระดับหนักนาน 30-60 นาทีต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ออกกำลังน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ทุกคนไปหักโหมออกกำลังกันแบบไม่ได้ดูสภาพตัวเอง เดี๋ยวจะหัวใจวายกันไปหมดซะก่อน การออกกำลังกายที่ถูกต้องนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับอายุ ความแข็งแรงและสุขภาพของคนคนนั้นเป็นสำคัญ           ความหมายของการออกกำลังกายในระดับปานกลางหมายถึงการออกกำลังกายที่มีการใช้พลังงานมากกว่าการนั่งนิ่งๆ เฉยๆ 3-6 เท่า ส่วนระดับหนักหมายถึง มีการใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ 6…

รู้ทันมะเร็ง : กินเลี้ยงปลอดภัยห่างไกลมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  19 ธ.ค. 2557           เดือนธันวาคมเดือนแห่งการเลี้ยงฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายท่านได้รับเชิญร่วมงานเลี้ยงเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนหลังอย่างนี้ มีคำแนะนำในการกินเลี้ยงเพื่อให้มีสุขภาพดี จะได้ไม่ต้องรับเอาสารก่อมะเร็งเข้าตัวกันมากมายเกินไป           เริ่มต้นจากอาหารในงานเลี้ยงกันก่อน ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงโต๊ะจีน บุฟเฟ่ต์หรือค็อกเทล ก่อนอื่นควรตั้งอกตั้งใจไว้ให้มั่นว่า จะกินอาหารหลากหลายอย่าง อย่ากินของอร่อยหรือของที่ตนเองชอบอยู่อย่างเดียว การกินอาหารอย่างเดียวหรือไม่กี่อย่างซ้ำๆ ติดต่อกันนานๆ นอกจากจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ถ้าอาหารที่ว่านั้นมีสารก่อมะเร็งด้วย ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้มากขึ้นเท่านั้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรกินมากๆ ทั้งในงานเลี้ยงต่างๆ และในชีวิตประจำวัน ได้แก่ อาหารมันๆ ไขมันสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาหารประเภทเนื้อสัตว์ปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม มีสารก่อมะเร็งพีเอเอช อาหารเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อสัตว์หมักดอง เช่นปลาร้า ปลาส้ม…

รู้ทันมะเร็ง : ‘มะเร็ง’อีกหนึ่งโรคสำคัญในตระกูลNCD : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  12 ก.ย. 2557           ระยะหลังหลายท่านคงจะได้ยินชื่อโรคประหลาดๆ แปลกๆ ที่ไม่ค่อยคุ้นหู เช่น โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อหรือเอ็นซีดี ซึ่งอันที่จริงแล้ว โรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อนั้นมีมากมายหลายโรค แต่มีหลายโรคที่สาเหตุของการเกิดโรคมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และที่สำคัญเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล นอกเหนือจากแค่ตัวผู้ป่วยเองและญาติอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน           โรคมะเร็งถูกจัดเป็นโรคไม่ติดต่อที่สำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2542 ถึงแม้ว่าปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งจะมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม และที่สำคัญที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ก็คือ พฤติกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 40 ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อด้วยกันได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เรื่องภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานและอีกมากมายหลายโรคเท่านั้น แต่ภาวะอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของหลายอวัยวะ…

รู้ทันมะเร็ง : อ้วนก็เป็นมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ก.พ. 2558           ตั้งแต่เปิดศักราชปีมะแมผ่านสารพัดงานเลี้ยงตั้งแต่ปีใหม่ วาเลนไทน์ และล่าสุดตรุษจีน หลายคนคงเริ่มกลุ้มใจกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอีกมากมายหลายโรค แต่หลายคนคงคาดไม่ถึงว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง           จากการที่เซลล์ไขมันส่วนเกินมีการสร้างฮอร์โมนเพศที่มีชื่อว่าเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ในสภาวะปกติฮอร์โมนตัวนี้พบได้ทั้งในเพศชายและหญิง แต่ในเพศหญิงจะพบมากกว่า เพราะถูกสร้างจากรังไข่เป็นหลัก และถูกสร้างจากอวัยวะอื่นในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น ตับ ต่อมหมวกไต เต้านมและเซลล์ไขมัน เจ้าฮอร์โมนตัวนี้องค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่หนึ่ง คือมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ เมื่อในร่างกายคนอ้วนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ จึงมีการจับกับตัวรับฮอร์โมนในเซลล์มากขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในเซลล์ กลายเป็นเซลล์มะเร็งและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวมากขึ้นในที่สุด           ดังนั้นภาวะอ้วนจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้า ส่วนการที่จะรู้ว่าตัวเราเข้าขั้นอ้วนแล้วหรือยัง ก็คำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย โดยการเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมตั้งแล้วหารด้วยความสูงเป็นเมตร ได้เท่าไหร่ก็เอาความสูงเป็นเมตรหารซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าค่าที่ได้อยู่ในช่วง 18-25 แปลว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าเกินกว่า 25…

รู้ทันมะเร็ง : ไม่สูบบุหรี่ทำไมยังเป็นมะเร็งปอด? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  26 ต.ค. 2555           ใครๆ ก็รู้โทษภัยของบุหรี่เป็นอย่างดีไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่เพราะวงการแพทย์และสาธารณสุขบ้านเราเค้ารณรงค์เรื่องนี้กันมาอย่างต่อเนื่องว่าเป็นต้นเหตุของสารพัดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด จนหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดนั้นสูบบุหรี่กันทุกคน เห็นได้จากคำถามยอดฮิตที่ชอบถามกันบ่อยๆ ว่า ไม่ได้สูบบุหรี่ทำไมถึงเป็นมะเร็งปอดได้ ยิ่งล่าสุดอดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยที่พึ่งเสียชีวิตจากมะเร็งปอด ทั้งๆ ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้าและแข็งแรงดีมาตลอด แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องสาเหตุของมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่อยู่มากเลยทีเดียว           จากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่อยู่ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งหมดและ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเป็นผู้หญิง ในระยะหลังพบว่ามะเร็งปอดในผู้หญิงเอเชียที่ไม่ได้สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นชนิดของเซลล์มะเร็งปอดที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้ง 2 กลุ่มก็มีความแตกต่างกัน ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่สูบบุหรี่ มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดสแควร์มัสที่มักพบก้อนบริเวณทางเดินหายใจ มักมีอาการแสดงให้เห็นได้เร็วกว่า เช่น มีอาการไอหรือไอเป็นเลือด ในขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่สูบบุหรี่นั้น มักเป็นเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนม่าที่มักพบก้อนที่เนื้อปอดในส่วนที่ห่างจากทางเดินหายใจ ทำให้ไม่แสดงอาการให้เห็นในช่วงแรก อาการที่พบบ่อยก็เช่น หายใจสั้น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือปวดตามข้อหรือตามกระดูกจากมะเร็งแพร่กระจายไปทางกระแสเลือด เซลล์มะเร็งปอดอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนที่ไม่สูบบุหรี่คือ บรองโคแอลวีโอล่าร์คาร์ซิโนม่าหรือบีเอซี ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุน้อยและในช่วงหลังนี้กำลังมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกโดยไม่ทราบสาเหตุ  …

รู้ทันมะเร็ง : ทำงานบ้าน(ก็)ช่วยต้านมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  12 ต.ค. 2555           เดือนกันยายนที่ผ่านมามีข่าวจากผลงานวิจัยที่น่าสนใจที่ประเทศอังกฤษเรื่องการทำงานบ้าน การทำสวนหรือการเดินจูงสุนัขก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เป็นที่ยอมรับกันในวงการสุขภาพจากผลงานวิจัยในต่างประเทศร้อยกว่าฉบับที่มีหลักฐานชัดเจนว่า การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อบุมดลูก จากการที่การออกกำลังกายช่วยทำให้เกิดสมดุลของพลังงาน การควบคุมระดับอินซูลินและฮอร์โมน เพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ที่สำคัญยังพบว่าคนที่ออกกำลังกายในระดับปานกลางและระดับหนัก 30 – 60 นาทีต่อวัน มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนที่ออกกำลังน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมน้อยที่สุด          ที่น่าสนใจจากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดที่กำลังเป็นข่าวฮอตอยู่ในเวลานี้ ที่ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 8,034 รายในช่วง 11 ปี พบว่าการทำงานบ้านวันละ 6 ชั่วโมงก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ 13 เปอร์เซ็นต์หรือถ้าไม่อยากทำแต่งานบ้าน ทำสวนวันละ 3 ชั่วโมงก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้เกือบ 10 เปอร์เซ็นต์หรือถ้ามีเวลาน้อยกว่านั้นทำงานบ้านหรือเดินไปมาวันละ 2 ชั่วโมงครึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ให้การนั่งเฉยๆ เท่ากับการใช้พลังงาน 1…

รู้ทันมะเร็ง : เสียงแหบกับมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ก.ค. 2555           ภาพผู้ป่วยที่มีรูหายใจบริเวณด้านหน้าลำคอหรือเสียงของผู้ป่วยคนเดียวกันที่ฟังแล้วแปลกๆ ไม่เหมือนเสียงของคนปกติ ถ้าใครไม่เคยเห็นหรือไม่เคยได้ยินก็ไปหาดูจากคำเตือนข้างซองบุหรี่หรือสปอตโฆษณารณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ เพราะนั่นเป็นสภาพของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงหลังจากได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว           เนื่องจากกล่องเสียงเป็นอวัยวะส่วนต้นของทางเดินหายใจต่อกับหลอดลมที่ลมหายใจต้องผ่านเข้าออก ตำแหน่งของกล่องเสียงก็อยู่ตรงกับตำแหน่งลูกกระเดือกซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนประกอบของกล่องเสียง และยังมีสายเสียงซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ เป็นส่วนประกอบภายในของกล่องเสียงด้วยเช่นกัน การเปล่งเสียงของคนเราเกิดจากการที่ลมจากในปอดผ่านสายเสียงที่มีการขยับเกิดการสั่น ทำให้เกิดเสียงสูงเสียงต่ำตามความตึงความหย่อนของสายเสียง ครั้นเมื่อกล่องเสียงถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด ก็ต้องเอาส่วนของหลอดลมมาเปิดที่ลำคออย่างถาวรเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกโดยตรงและแน่นอนที่สุดคือไม่สามารถพูดได้เหมือนอย่างเคย ส่วนใหญ่ต้องฝึกพูดโดยการสร้างเสียงจากหลอดอาหารแทน ทำให้คุณภาพเสียงไม่เหมือนเสียงที่ผ่านกล่องเสียงตามปกติ           ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นภาพตอนท้ายของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้ว โรคนี้พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มักพบในอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากการสูบบุหรี่จัดจะเป็นตัวการสำคัญของโรคนี้แล้ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็เป็นสาเหตุสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเสียงแหบโดยไม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วยนานกว่า 2 สัปดาห์และไม่มีสาเหตุที่ทำให้เสียงแหบชัดเจน เช่น ใช้เสียงมากหรือมีการอักเสบหรือระคายเคืองของทางเดินหายใจส่วนบน ในรายที่มีการลุกลามมากขึ้นอาจมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง มีความรู้สึกไม่สบายในลำคอเหมือนมีก้างติดคอ กลืนอาหารลำบาก หายใจขัดหายใจลำบาก มีเสมหะปนเลือด มีก้อนที่ด้านข้างคอโตจากมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง การวินิจฉัยโรคก็ไม่ยุ่งยากอะไร ส่วนใหญ่ใช้กระจกส่องดูกล่องเสียง…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากแป้งฝุ่น : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 เม.ย. 2555           บรรยากาศมหาสงกรานต์ที่ชุ่มฉ่ำเย็นทั่วหล้าในเวลานี้ ภาพผู้คนออกมาเล่นน้ำเล่นประแป้งกันไปทั่วท้องถนน ทำให้นึกถึงเรื่องแป้งฝุ่นกับมะเร็งซึ่งเหมาะกับช่วงสงกรานต์ขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง           อันว่าแป้งฝุ่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ทำจากสารที่มีชื่อว่าทัลค์มาทำให้เป็นผงละเอียดเรียกว่าผงทัลคัม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม ซิลิกอนและออกซิเจน มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นและกลิ่นได้ดี ทำให้ผิวแห้งลื่นเนียน จึงนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของแป้งฝุ่นชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแป้งฝุ่นทาตัว แป้งเด็ก แป้งน้ำ แป้งรองพื้น แป้งพัฟทาหน้า แป้งปัดแก้มและอายแชโดว์ เจ้าสารทัลค์บางชนิดมีส่วนประกอบของแร่ใยหินหรือแอสเบสทอสผสมโรงอยู่ด้วยตามธรรมชาติ ซึ่งเจ้าแร่ใยหินนี้ยืนยันแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อถูกสูดดมเข้าทางลมหายใจต่อเนื่องเป็นเวลานาน มะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอดก็จะถามหา ดังนั้นในหลายประเทศจึงห้ามไม่ให้มีการปนเปื้อนของแร่ใยหินในแป้งทาตัวทุกประเภท ในบ้านเรากระทรวงสาธารณสุขเคยทำการสำรวจแป้งพัฟทาหน้าและแป้งปัดแก้มจากท้องตลาดเมื่อ 2 ปีก่อนจำนวน 79 ตัวอย่าง พบว่ามีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ 2 ตัวอย่าง ทำเอาหวาดเสียวไปตามๆ กัน หากพิจารณาเฉพาะตัวแป้งฝุ่นที่ไม่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ณ เวลานี้ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดแต่อย่างใด          …