รู้ทันมะเร็ง : ย้อมผมบ่อยเป็นมะเร็งจริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  30 มี.ค. 2555           สมัยนี้ไม่ว่าไปแห่งหนตำบลใดเห็นมีแต่คนทำสีผมกันมากมาย สมัยก่อนถ้าจะย้อมผมก็มีแต่คนผมขาวหรือคนที่ยังไม่อยากแก่ย้อมแต่สีดำเท่านั้น แต่ยุคนี้มีให้เลือกสารพัดทุกเฉดสี ทำแล้วก็ดูสวยงามทันสมัยดีจนบ่อยครั้งที่มองข้างหลังนึกว่าฝรั่งผมทอง พอไปดูข้างหน้ากลายเป็นฝรั่งดองไปซะฉิบ วันนี้เลยได้โอกาสเอาเรื่องยาย้อมผมมาเล่าสู่กันฟังเพราะมีคนสงสัยคาใจอยู่พอสมควรโดยเฉพาะคนที่ย้อมเองนั่นแหละ เรียกว่าอยากสวยอยากหล่อแต่ก็ยังเป็นห่วงสุขภาพของตัวเองอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญที่กลัวมากที่สุดก็กลัวเป็นมะเร็งน่ะแหละ           เค้าแบ่งประเภทของยาย้อมผมเป็น 3 ประเภทหลักคือแบบชั่วคราว แบบกึ่งถาวรและแบบถาวร 2 ประเภทแรกไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะสระผมไม่กี่ทีสีก็หาย แบบที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือแบบที่ 3 ที่ใช้สารเคมีล้วนๆ มาฟอกเม็ดสีผมเดิมออกแล้วใส่สารเคมีที่ทำให้เกิดสีใหม่ลงไป หนังศีรษะก็ระคายเคืองมากบ้างน้อยบ้างและดูดซึมเอาสารเคมีพวกนี้ไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายคนคิดว่าจะเสี่ยงเฉพาะผิวหนังศีรษะอักเสบและมะเร็งของหนังศีรษะ แต่จากศึกษาของสหรัฐอเมริกาโดยศึกษาทบทวนรายงานทางการแพทย์จำนวน 79 รายงานทั่วโลกในปี 2548 พบว่าการใช้ยาย้อมผมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งระบบเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน 1.15 เท่า มะเร็งเต้านม 1.06 เท่าและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 1.01 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีย้อมผมก่อนปี 2523 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันองค์กรที่ดูแลด้านมะเร็งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศและสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังไม่มีบทสรุปยืนยัน…

รู้ทันมะเร็ง : ผิวขาวใสแต่ใกล้มะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  23 ธ.ค. 2554           บรรดาสารพัดมะเร็งของอวัยวะทั่วร่างกาย มะเร็งผิวหนังจัดเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยในคนไทย เรียกว่าไม่ติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายและเพศหญิงหรือในทั้ง 2 เพศรวมกันก็ตาม ก็นับเป็นความโชคดีของคนผิวเหลืองและคนผิวสีผิวดำที่ไม่ต้องประสบเคราะห์กรรมจากมะเร็งผิวหนังมากเท่ากับฝรั่งผิวขาว แต่ในอนาคตข้างหน้าสถานการณ์อาจเปลี่ยนไป หากคนไทยรุ่นใหม่ยังอยากมีผิวขาวใสแบบไร้สติอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้           อันว่ามะเร็งผิวหนังนั้นเป็นมะเร็งที่ง่ายต่อการสังเกตเพียงแค่เจ้าตัวเอาใจใส่ในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแผลเรื้อรังที่หายช้าผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของไฝ กระ ขี้แมลงวันในเรื่องของขนาดที่ใหญ่ขึ้นหรือเรื่องของสีที่มีลักษณะดำเข้มขึ้น สาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นมีมากมายหลายประการ แต่ที่จัดว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ได้แก่ เรื่องการระคายเคืองเรื้อรังและรังสีอุลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีที่เรารู้จักดี โดยปกติเซลล์สร้างเม็ดสีผิวซึ่งอยู่ในชั้นผิวหนังชั้นนอกจะสร้างเม็ดสีเมลานินทำให้แต่ละคนแต่ละเผ่าพันธุ์มีสีผิวที่แตกต่างกัน คนที่มีสีผิวเข้มเกิดจากการที่มีเม็ดสีเมลานินมาก ส่วนคนผิวขาวก็เกิดจากการที่มีเม็ดสีเมลานินน้อย ความสำคัญของเม็ดสีเมลานินคือมันทำหน้าที่คล้ายแผ่นฟิล์มกรองแสงที่คอยคุ้มครองปกป้องผิวหนังชั้นในจากรังสียูวี โดยเจ้าเม็ดสีเมลานินจะดูดซับรังสียูวีเอาไว้และเปลี่ยนให้เป็นความร้อน ไม่ปล่อยให้รังสียูวีสามารถทะลุทะลวงผ่านไปทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นในได้ อันอาจจะนำไปสู่การเกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอและกลายเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาในที่สุด เห็นหรือยังล่ะครับว่าเม็ดสีเมลานินมีคุณค่าเพียงไร           วกกลับมาเรื่องประเด็นร้อนที่มีการใช้สารกลูตาไธโอนช่วยให้ผิวขาวสดใสแบบเกาหลี เป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยทั้งเพศชายและหญิง ไม่เว้นแม้แต่เพศที่ 3 เมื่อก่อนใช้แค่กินแต่ได้ผลไม่ทันใจวัยรุ่นใจร้อน ต้องใช้ฉีดในปริมาณสูง เจ้าสารตัวนี้จะยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินชั่วคราว ย้ำนะครับว่าชั่วคราว…

รู้ทันมะเร็ง : ความอ้วน : สาเหตุของมะเร็งที่ถูกมองข้าม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 พ.ค. 2554           ภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคย คงหนีไม่พ้นภาพคนศีรษะโล้นผิวดำคล้ำร่างกายผ่ายผอมดูไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง หลายคนคงไม่รู้ว่าผู้ป่วยเหล่านั้นก่อนเป็นมะเร็ง มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนเกินปกติอยู่จำนวนไม่น้อย และที่สำคัญคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอีกมากมายหลายโรค แต่หลายคนคงคาดไม่ถึงว่าภาวะอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง          เหตุเกิดจากการที่เซลล์ไขมันส่วนเกินมีการสร้างฮอร์โมนเพศที่มีชื่อว่าเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ในสภาวะปกติฮอร์โมนตัวนี้พบได้ทั้งในเพศชายและหญิง แต่ในเพศหญิงจะพบมากกว่าเพราะถูกสร้างจากรังไข่เป็นหลัก และถูกสร้างจากอวัยวะอื่นในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น ตับ ต่อมหมวกไต เต้านมและเซลล์ไขมัน เจ้าฮอร์โมนตัวนี้องค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่หนึ่ง กล่าวคือมีหลักฐานชัดเจนเพียงพอว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งในคน เมื่อในร่างกายคนอ้วนมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าปกติจึงมีการจับกับตัวรับฮอร์โมนในเซลล์มากขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในเซลล์กลายเป็นเซลล์มะเร็งและกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวมากขึ้นในที่สุด ดังนั้นภาวะอ้วนจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุมดลูก           ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเรามีน้ำหนักที่เหมาะสมหรือไม่ ก็สามารถคำนวณได้จากค่าดัชนีมวลกาย โดยการเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมตั้ง หารด้วยความสูงเป็นเมตรได้เท่าไหร่เอาความสูงเป็นเมตรหารซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าค่าที่ได้อยู่ในช่วง 18-25 แปลว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าเกินกว่านี้ก็เริ่มน้ำหนักเกิน ถ้าค่าที่ได้เกินกว่า 30 ก็เรียกว่าอ้วนได้อย่างเต็มปากเต็มคำ…

รู้ทันมะเร็ง : ที่ปรึกษาปัญหามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  8 พ.ค. 2558           ใครที่ไม่เคยมีญาติหรือคนใกล้ตัวเป็นมะเร็ง จะไม่มีทางเข้าใจเลยว่ามันสับสนกับชีวิตขนาดไหน เพราะปัจจุบันข้อมูลข่าวสารการรักษาโรคมะเร็งมีมากมายมหาศาลทั้งของไทยและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์การรักษาทางเลือกต่างๆ มากมาย มีทั้งเชื่อได้บ้างไม่ได้บ้าง สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกการรักษาของผู้ป่วยและญาติคือ เวลาของผู้ป่วยที่เหลืออยู่น้อยลงทุกที และเรื่องของความกลัวผลข้างเคียงของการรักษาแผนปัจจุบัน จนทำให้ผู้ป่วยหลายต่อหลายราย หลงทางผิดไปเลือกการรักษาที่ยังไม่มีผลยืนยันชัดเจน           ปกติแล้วเมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเรียบร้อยแล้ว โดยได้ข้อมูลครบถ้วนทั้งอวัยวะที่เป็น ประเภทของเซลล์มะเร็ง และระยะของโรคที่ลุกลามไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีการส่งตัวไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งอวัยวะหรือสาขานั้นๆ ซึ่งแพทย์กลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามระบบอวัยวะนั้นๆ เช่น ผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่ยังไม่แพร่กระจาย ก็ถูกส่งตัวไปพบศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากออก มะเร็งของอีกหลายอวัยวะก็มีแพทย์หลายระบบมาร่วมกันให้การรักษา แพทย์อีกกลุ่มที่ดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยก็คือแพทย์เฉพาะทางสาขามะเร็ง แบ่งย่อยๆ ออกเป็นหลายสาขา เช่น สาขาอายุรศาสตร์โรคมะเร็งทำหน้าที่ให้ยาเคมีบำบัด สาขารังสีรักษามีหน้าที่ให้การฉายแสง ฝังแร่ สาขาศัลยศาสตร์มะเร็งทำหน้าที่ผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกจากร่างกาย สาขามะเร็งนรีเวชผ่าตัดมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง นอกจากนั้นยังมีสาขาย่อยๆลงไปอีก เช่น อายุรศาสตร์โลหิตวิทยาให้การรักษามะเร็งระบบเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว…

รู้ทันมะเร็ง : ตัดเต้านมป้องกันมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  31 พ.ค. 2556           เป็นข่าวฮือฮาเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ก่อนไม่ใช่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเรา แต่ดังกระฮึ่มไปทั่วโลกเมื่อนางเอกสาวสุดเซ็กซี่วัย 37 ปี แองเจลินา โจลี ออกมายืนยันว่าเธอยอมตัดเต้านมทิ้งทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งเต้านมเพราะเธอมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งชนิดนี้ ทำเอาหนุ่มเล็กหนุ่มใหญ่ทั่วโลกออกอาการเสียดายของ ในขณะที่หญิงไทยจำนวนหนึ่งเกิดอาการหวาดระแวงอยากจะตัดเต้าทิ้งเลียนแบบคนดังกับเขาบ้าง                    ก่อนอื่นต้องขอเน้นย้ำกันตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่าวิธีการตัดเต้านมทิ้งเพื่อหวังผลเรื่องที่จะไม่ต้องเป็นมะเร็งเต้านมนั้น ยังไม่เป็นวิธีการป้องกันที่เป็นมาตรฐานยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างแต่อย่างใด เพราะถึงจะตัดเต้านมออกทั้งสองข้างออกแล้วก็ตาม ก็ยังมีเซลล์เต้านมหลงเหลือตกค้างอยู่ตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและตามกล้ามเนื้ออยู่วันยังค่ำ เรียกว่าลดโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 90 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์จากเซลล์เนื้อเต้านมที่ยังหลงเหลืออยู่ ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้นางเอกคนสวยต้องยอมสละของรักของสงวนก็เพราะเธอมีความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ คือยีนบีอาร์ซีเอ 1 ซึ่งคนที่มีความผิดปกติของยีนตัวนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 87 เปอร์เซ็นต์และเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ 50 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันได้จากที่มารดาของเธอเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมด้วยวัยเพียง 56 ปี นอกจากนั้นยายของเธอก็เสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่ ล้วนเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าครอบครัวของเธอมีความผิดปกติของยีนตัวนี้และเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดมะเร็งของทั้งสองอวัยวะ นอกจากนั้นยังมีความผิดปกติของยีนบีอาร์ซีเอ 2…

รู้ทันมะเร็ง : 7สัญญาณมะเร็งเต้านม

เครดิต : คมชัดลึก  22 พ.ค. 2558           นอกจาก 7 สัญญาณอันตรายที่หลายคนรู้จัก ว่าเป็นอาการที่บ่งบอกว่าอาจมีโอกาสเป็นมะเร็ง อันได้แก่ “ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปร แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกินกลืนอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดที่เปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบจนเรื้อรัง” ก็ยังมี 7 สัญญาณอันตรายของอาการที่บ่งบอกว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน              เริ่มด้วยสัญญาณที่หนึ่ง มีก้อนที่เต้านมหรือที่รักแร้ เป็นอาการยอดนิยมอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงรีบมาพบแพทย์ ไม่ว่าจะแน่ใจหรือไม่แน่ใจว่าเป็นก้อนเนื้องอกหรือเนื้อเต้านมที่หนาผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำหรือส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม สัญญาณที่ 2 รูปร่างหรือขนาดของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องหมั่นสังเกตทั้งรูปทรงและขนาดของเต้านมอย่างสม่ำเสมอ และควรเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของรอบเดือน ต่อด้วยสัญญาณที่ 3 มีน้ำผิดปกติไหลจากหัวนม ผู้หญิงในวัย 41-58 ปีอาจมีของเหลวที่ออกจากหัวนมทั้งสองข้างได้บ้างจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนตามรอบเดือน แต่ถ้าออกจากหัวนมข้างเดียวหรือมีสีคล้ายเลือดก็ควรมาพบแพทย์ สัญญาณที่ 4 รูปร่างหรือขนาดของหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปกติรูปร่างและขนาดของหัวนมมีโอกาสเปลี่ยนแปลงตามอายุขัยและน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นได้ แต่ที่ต้องระวังหมั่นสังเกตเป็นพิเศษคือ…

รู้ทันมะเร็ง : ผู้ป่วยมะเร็งเหนื่อยแน่นท้องต้องระวัง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  24 ส.ค. 2555           ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วหรือยังอยู่ในระหว่างการรักษาก็ตาม หากเริ่มมีอาการเหนื่อยมากขึ้นหรือเริ่มมีอาการแน่นอึดอัดท้อง ท้องโตขึ้นกางเกงที่ใส่อยู่เริ่มคับทั้งๆ ที่ไม่ได้กินอาหารมากกว่าปกติ มิหนำซ้ำกลับเบื่ออาหารมากขึ้นซะอีก ใครมีอาการอย่างนี้ก็อย่านิ่งดูดาย รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะนั่นอาจเป็นอาการเตือนของโรคมะเร็งที่กำลังลุกลามมากขึ้น                    อาการเหนื่อยที่มากขึ้นอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากมะเร็งแพร่กระจายมาที่อวัยวะในช่องทรวงอก ไม่ว่าจะเป็นปอด เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มหัวใจหรืออาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่น ระบบอื่นซึ่งอาจเกิดขึ้นใหม่หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิมแต่เป็นมากขึ้น เช่น โรคไต โรคหัวใจ แต่อาการเหนื่อยที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักเกิดจากมะเร็งแพร่กระจายลุกลามมาที่ปอดหรือเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าน้ำท่วมปอด ปกติช่องเยื่อหุ้มปอดมีเพียงน้ำหล่อลื่นฉาบอยู่เล็กน้อย เมื่อมีเซลล์มะเร็งลุกลามมาที่เยื่อหุ้มปอด เซลล์มะเร็งจะผลิตน้ำหรือสารคัดหลั่งมากขึ้น ทำให้ช่องเยื่อหุ้มปอดค่อยๆ มีน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปอดข้างนั้นไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ตามปกติ การรักษาใช้เข็มเจาะดูดน้ำออกเป็นครั้งคราวและฉีดยาเข้าไปแทนที่เพื่อให้เนื้อปอดติดกับเยื่อหุ้มปอดเป็นการปิดช่องเยื่อหุ้มปอดไปเลยหรืออาจจะใช้การใส่ท่อระบายน้ำคาไว้เลยแต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากใส่แล้วมักถอดออกไม่ได้เพราะมีน้ำออกตลอดเวลา                 …

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจเพทซีทีสแกนหามะเร็งระยะเริ่มต้นดีมั้ย? : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 พ.ย. 2556           เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อการตรวจพิเศษที่ชื่อ “เพทสแกนหรือเพทซีทีสแกน” ว่าเป็นเครื่องมือชั้นเลิศขั้นเทพที่สามารถตรวจหามะเร็งได้อย่างแม่นยำจนหลายคนยอมจ่ายเงินค่าตรวจราคาสูงลิบ ด้วยความหวังว่าถ้าโชคร้ายเกิดเป็นมะเร็งจะได้รู้ตัวก่อน รักษาก่อนในระยะเริ่มต้น นับวันจะมีหลายคนเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนในลักษณะนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนมีเงินมีทองเหลือใช้                    ก่อนอื่นมารู้จักเพทสแกน หรือเพทซีทีสแกนกันก่อน เพทสแกนเป็นการตรวจโดยถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการเมตาบอลิซึมในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยใช้น้ำตาลกลูโคสชนิดพิเศษที่มีการจับกับสารกัมมันตรังสีมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย เจ้าน้ำตาลชนิดนี้จะซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อทุกประเภททุกอวัยวะในร่างกาย โดยจะไปจับเฉพาะเนื้อเยื่อที่มีกิจกรรมการทำงานมากหรือมีการแบ่งตัวมาก เช่น เซลล์มะเร็งหลายชนิด เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ ก็จะจับน้ำตาลนี้ไว้ในปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ และเปล่งรังสีออกมาในปริมาณสูง จึงสามารถใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีจับภาพออกมา แต่ภาพที่ได้ยังไม่สามารถบอกตำแหน่งรอยโรคในอวัยวะนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกนมาช่วยสร้างภาพ ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่รวมเอา 2 หลักการเทคโนโลยีไว้ด้วยกันเรียกว่า เพทซีทีสแกน             …

รู้ทันมะเร็ง : อยู่ที่ไหนก็ตรวจมะเร็งเต้านมได้

เครดิต : คมชัดลึก  27 มิ.ย. 2557           จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งในประเทศไทยเล่มล่าสุดฉบับที่ 7 ปี 2550-2552 ที่จัดทำโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ พบว่ามะเร็งเต้านมนอกจากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทยแล้ว ยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงปี 2547-2549 ที่เคยมีอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมทั้งประเทศอยู่ที่ 25.6 คนต่อประชากร 100,000 คนหรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 9,723 รายต่อปี เป็น 26.4 คนต่อประชากร 100,000 คนหรือมีผู้ป่วยรายใหม่ 10,193 ราย นอกจากนั้นจังหวัดที่พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมสูงสุดยังมีอุบัติการณ์ที่สูงมากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือจากเดิมปี 2548 กรุงเทพมหานครเป็นแชมป์อุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ 38.2 คนต่อประชากร 100,000 คน เปลี่ยนเป็นจังหวัดชลบุรีที่พบมะเร็งเต้านมรายใหม่สูงที่สุดอยู่ที่ 44.2 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2551             …

รู้ทันมะเร็ง : เพื่อหญิงขี้อายห่างไกลมะเร็งปากมดลูก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  30 พ.ค. 2557           ในบรรดาโรคมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตหญิงไทย ปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงที่สุดตามจำนวนผู้ป่วยที่พบบ่อยขึ้น มะเร็งปากมดลูกที่เคยเป็นแชมป์อุบัติการณ์ที่พบบ่อยมายาวนานหลายปี ปัจจุบันตกมาเป็นอันดับสอง ไม่ใช่เป็นเพราะอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมสูงขึ้นมากแต่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังเท่าเดิม แต่ข้อเท็จจริงก็คืออุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกนั้นลดลงชัดเจน                    เหตุที่เป็นเช่นนั้น มิใช่เพราะจากโชคช่วยหรือปาฏิหาริย์แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะความสำเร็จของโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั่วประเทศ 76 จังหวัดที่ดำเนินการโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ร่วมกับการให้เงินทุนสนับสนุนโครงการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จวบจนปัจจุบันปี 2557 กำลังจะครบ 10 ปี จากเดิมก่อนเริ่มโครงการอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ที่ 23.4 คนต่อประชากร 100,000 คนลดลงเหลือ 16.7 คนต่อประชากร 100,000 คน โดยใช้วิธีการตรวจแป๊ปสเมียร์ คือการใช้ไม้พายขนาดเล็กๆ ไปป้ายกวาดเซลล์บริเวณปากมดลูกไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยนักเซลล์วิทยา ดูว่ามีเซลล์หน้าตาผิดปกติอย่างไรหรือไม่…