รู้ทันมะเร็ง : แมมโมแกรมกับมะเร็งเต้านม

เครดิต : คมชัดลึก  24 ม.ค. 2557           สมัยนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักการตรวจเต้านมที่เรียกว่าแมมโมแกรม บรรดาสาวน้อยสาวใหญ่ที่ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ กลัวว่าตนเองจะเป็นมะเร็งเต้านมหลายรายคงเคยมีประสบการณ์ เคยถูกตรวจด้วยเจ้าเครื่องมือที่ว่านี้มาแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายรายที่ไม่เคยมาตรวจเลย ทั้งๆ ที่ปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงของบ้านเรา                    มาทำความรู้จักการตรวจแมมโมแกรมกันให้มากขึ้นก่อนดีกว่า การตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีวิทยาวิธีหนึ่ง ปัจจุบันเครื่องแมมโมแกรมรุ่นใหม่ในระบบดิจิตอลถูกออกแบบให้ผู้ที่ได้รับการตรวจได้รับปริมาณรังสีที่น้อยมาก ปริมาณรังสีที่ได้รับลดลงจากเครื่องแมมโมแกรมที่ใช้ฟิล์มในระบบเก่า 30-60 เปอร์เซ็นต์ และลดระยะเวลาในการตรวจลง นอกจากนั้นยังได้ความละเอียดของภาพที่สูงกว่า สามารถแยกความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของเต้านมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่เป็นมะเร็งได้ ตั้งแต่ยังไม่เป็นก้อนหรือก้อนเล็กมากที่เจ้าตัวเองยังไม่สามารถคลำได้ เรียกว่าสามารถค้นหามะเร็งในระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ความเจ็บปวดเต้านมจากการถูกกดบีบด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลก็น้อยกว่าเครื่องในระบบเก่ามาก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการกดเต้านม จะค่อยๆ กดลงมาที่บริเวณเต้านมอย่างนุ่มนวลกว่าเครื่องที่ใช้ฟิล์ม เพราะฉะนั้นสาวๆ ที่เคยเข็ดขยาดที่ต้องเจ็บระบมเต้านมจากเครื่องรุ่นเก่าก็ไม่ต้องวิตกกังวลกันอีกต่อไป                   …

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเทคนิคใหม่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ม.ค. 2557           สุภาพสตรีหลายท่านคงเคยผ่านการตรวจภายใน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ในขณะที่อีกหลายท่านต่อให้เอาเงินมาล่อ เอาช้างมาฉุดเท่าไหร่ก็ไม่มีทางมาตรวจเด็ดขาด เพราะอายแพทย์ ไม่กล้าเปิดเผยของสงวน จนครั้งหนึ่งในอดีต มะเร็งปากมดลูกเคยเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทยต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาหลายปี เนื่องจากในสมัยก่อนนั้น หญิงไทยส่วนใหญ่ยังอายไม่ยอมมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รอจนมีอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ แค่เดินเข้าห้องตรวจยังไม่ทันขึ้นขาหยั่ง กลิ่นที่โชยออกมาก็ช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้มากแล้วว่า โอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง              แต่ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกหล่นลงมาเป็นอันดับ 2 เป็นรองมะเร็งเต้านมไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมสูงขึ้น แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกยังสูงเท่าเดิม แต่ที่น่ายินดีคือ อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกลดลงจากเดิมชัดเจน เหตุที่เป็นเช่นนั้นต้องขอยกความดีความชอบให้โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั่วประเทศ 76 จังหวัด ที่ดำเนินการโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับการให้เงินทุนสนับสนุนโครงการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จวบจนถึงปีปัจจุบัน 2557 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 จากเดิมก่อนเริ่มโครงการอุบัติการณ์ของโรคอยู่ที่ 23.4…

รู้ทันมะเร็ง : เพื่อพ่อสูงวัย ห่างไกลมะเร็ง

เครดิต : คมชัดลึก  6 ธ.ค. 2556           ใครที่คุณพ่อยังมีชีวิตอยู่ แนะนำให้อ่านตอนนี้ ในโอกาสที่เริ่มเข้าสู่เดือนธันวาคมเดือนของพ่อ หันมาทำสิ่งดีๆ เพื่อสุขภาพพ่อกันดีกว่า เพราะปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีจำนวนคนสูงอายุมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บต้องตามมา ที่เป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไม่เพียงแต่บรรดาโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ยังมีโรคสำคัญคือโรคมะเร็งที่คอยคุกคามผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน                    เพื่อให้พ่อผู้สูงอายุปลอดภัยห่างไกลมะเร็งในโอกาสที่เป็นเดือนของพ่อ มาทบทวน 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชายไทยกันก่อน เพื่อวางแผนป้องกันตามความน่าจะเป็นของโรค เริ่มตั้งแต่มะเร็งตับและทางเดินน้ำดีมาเป็นอันดับหนึ่ง มะเร็งปอดอันดับสอง มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักตามมาอันดับสาม อันดับสี่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และสุดท้ายมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิ้นรั้งท้ายในอันดับห้า                    ผมาเริ่มที่มะเร็งตับและทางเดินน้ำดีกันก่อน สองโรคนี้มาเป็นฝาแฝดกันประจำเพราะทั้งเซลล์ตับและท่อน้ำดีอยู่ในตัวตับเหมือนกัน…

รู้ทันมะเร็ง : อยากตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก           หลายคนที่การขับถ่ายอุจจาระเริ่มผิดปกติ เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันช่วงหลังชักมีท้องผูกบ่อยขึ้น หรือถ่ายมีมูกลื่นๆ ปนมากับอุจจาระ พอดีพอร้ายมีเลือดปนออกมาด้วย ชักใจไม่ค่อยดี อยากจะตรวจลำไส้ใหญ่ดูเสียหน่อยเพื่อความสบายใจ                    ข้ามขั้นตอนปกติ คือ การซักประวัติตรวจร่างกาย ตรวจทางทวารหนักไป อันดับต่อไปก็คือการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ในคนปกติที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ถ้าไม่พบเม็ดเลือดแดงก็ค่อนข้างสบายใจได้ แต่ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจรีบสรุปว่าตนเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะยังมีอีกหลายโรคหลายภาวะที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น ริดสีดวงทวารหนัก แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อในลำไส้ ผนังลำไส้โป่งพองเป็นกระพุ้งและโรคอื่นๆ อีกมาก จึงต้องตรวจขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์สวนสารทึบแสงหรือที่นิยมเรียกกันว่าเอกซเรย์สวนแป้ง หรือจะข้ามไปตรวจด้วยการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ให้เห็นกันจะจะไปเลย จะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป                    ก่อนการตรวจไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์สวนแป้งหรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะให้ยาระบายมากินก่อนตรวจ…

รู้ทันมะเร็ง : มาตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่กันเถอะ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 มี.ค. 2558           ส่งท้ายเดือนมีนาคม เดือนที่ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายคนเริ่มสนใจที่อยากจะตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่อีกหลายคนที่การขับถ่ายอุจจาระเริ่มผิดปกติ เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวัน ช่วงหลังชักเริ่มมีท้องผูกบ่อยขึ้น หรือถ่ายมีมูกลื่นๆ ปนมากับอุจจาระ พอดีพอร้ายมีเลือดปนออกมาด้วย ชักใจไม่ค่อยดี อยากจะตรวจลำไส้ใหญ่ดูเสียหน่อยเพื่อความสบายใจ                    เริ่มจากขั้นตอนปกติคือการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางทวารหนักโดยใช้นิ้วเพื่อคลำหาก้อนผิดปกติและดูลักษณะอุจจาระว่าผิดปกติมีมูกมีเลือดหรือไม่ อันดับต่อไปก็คือการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ ในคนปกติที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ถ้าไม่พบเม็ดเลือดแดงก็ค่อนข้างสบายใจได้ แต่ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงก็อย่าพึ่งตกอกตกใจรีบสรุปว่าตนเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะยังมีอีกหลายโรคหลายภาวะที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น ริดสีดวงทวารหนัก แผลในลำไส้ ติ่งเนื้อในลำไส้ ผนังลำไส้โป่งพองเป็นกระพุ้งและโรคอื่นๆ อีกมาก จึงต้องตรวจขั้นตอนต่อไปคือการเอ็กซเรย์สวนสารทึบแสงหรือที่นิยมเรียกกันว่าเอ็กซเรย์สวนแป้งหรือจะข้ามไปตรวจด้วยการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ให้เห็นกันจะจะไปเลย จะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป             …

รู้ทันมะเร็ง : 5สัญญาณมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  5 มิ.ย. 2558           มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภัยร้ายที่กำลังมาแรงสำหรับคนไทยที่เริ่มมีวิถีชีวิตค่อนไปทางสังคมชาวโลกตะวันตกมากขึ้นทุกวัน จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของบ้านเราในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักรายใหม่กว่า 9,000 ราย พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในภาพรวมทั้งสองเพศ แต่เมื่อพิจารณาแยกเพศแล้ว เพศชายมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ แนวโน้มที่พบมีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับมะเร็งเต้านม                    ด้วยเหตุนี้จึงได้เวลามาพูดเน้นกันเฉพาะเรื่องสัญญาณอาการอันตรายที่พบบ่อยของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เริ่มด้วยสัญญาณที่หนึ่ง ปวดท้องเป็นพักๆ ลักษณะการปวดเป็นแบบมีช่วงปวดสลับกับช่วงหายปวด ตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ที่บีบตัวตามปกติ เนื่องจากอุจจาระผ่านตำแหน่งที่มีเนื้องอกได้ยากลำบากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ เมื่อก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากขึ้น อุจจาระก็ยิ่งผ่านบริเวณนั้นได้ลำบากมากขึ้น อาการปวดจะรุนแรงขึ้นและปวดบ่อยขึ้น สัญญาณที่ 2 มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย นอกจากอาการปวดท้องอย่างที่ว่ามาแล้ว…

รู้ทันมะเร็ง : ตรวจร่างกายเป็นประจำ ห่างไกลมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก           เริ่มศักราชใหม่แบบไทยๆ อยากจะแนะนำให้หันมาทำสิ่งดีๆ ในชีวิตกันดีกว่า สิ่งดีๆ ที่ว่าคือเรื่องการดูแลเอาใจใส่สุขภาพตัวเองด้วยการตรวจร่างกายเป็นประจำ ตรวจร่างกายในที่นี้มิได้หมายถึงแค่ลูบๆ คลำๆ ร่างกายตัวเอง แต่หมายความถึงการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในระยะเริ่มต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง มีประเด็นสำคัญที่ควรรู้ดังนี้                    ประการแรก ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่าการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในระยะเริ่มต้นนั้น ไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติแล้วจึงมาตรวจ อย่างนั้นไม่เรียกตรวจคัดกรองแต่เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคซึ่งเป็นสาเหตุของความผิดปกตินั้นซึ่งอาจจะเป็นมะเร็งหรือไม่ก็แล้วแต่ ประการที่สอง การตรวจคัดกรองเริ่มจากการซักประวัติเพื่อค้นหาประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว โรคทางกรรมพันธุ์บางโรคที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็ง ต่อด้วยการตรวจร่างกายทั่วไปด้วยการดู คลำ ฟัง เคาะ ตรวจรูทวารทั้งหมดเท่าที่สามารถตรวจได้เบื้องต้น เช่น ช่องปาก รูทวารหนัก ช่องคลอด                    ตามด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ…

รู้ทันมะเร็ง:ถุงซิลิโคนรั่วตัวการมะเร็งจริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ม.ค. 2555           ช่วงปลายปี 2554 มีข่าวฮือฮาจากหน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศฝรั่งเศสออกมาให้ข่าวอย่างเป็นทางการว่า ถุงซิลิโคนคุณภาพต่ำที่ผลิตในฝรั่งเศสยี่ห้อหนึ่งที่ใช้ในการผ่าตัดเสริมเต้านมมีอัตราการฉีกขาดมากผิดปกติ ทำให้เกิดการรั่วไหลของซิลิโคนส่งผลให้เกิดเต้านมอักเสบ และที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ถึงขั้นแนะนำให้ผู้หญิงที่ได้รับการเสริมเต้านมด้วยซิลิโคนยี่ห้อนั้น ให้กลับไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดเอาซิลิโคนออกโดยรัฐจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กันเลยทีเดียว ในขณะที่ทางฝั่งประเทศอังกฤษ ซึ่งก็มีการใช้ซิลิโคนยี่ห้อนี้อยู่จำนวนไม่น้อย มีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นในทางตรงกันข้ามว่า ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งมากกว่าในผู้หญิงปกติ ทำเอาลูกค้าบ้านเราทั้งสาวน้อยสาวใหญ่ที่ทราบข่าวพากันสับสนระคนหวาดวิตกกันไปตามๆ กัน                    อันว่าเจ้าสารซิลิโคนนั้นเป็นสารที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโพลีไดเมทิลไซลอกเซน ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุหรืออวัยวะเทียมทางการแพทย์มานานหลาย 10 ปี มีประโยชน์มากมายหลายอย่างไม่เพียงแต่ใช้แค่ในการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่ง เช่น เสริมจมูก เสริมเต้านมเท่านั้น แต่ยังใช้ผลิตเป็นเลนส์นัยน์ตาเทียม อุปกรณ์ควบคุมการเต้นของหัวใจ ลิ้นหัวใจเทียม ท่อหรือสายอาหาร สายสวนต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัสดุที่เมื่อนำมาใส่ในร่างกายมนุษย์มีปฏิกิริยาต่อต้านน้อยกว่าวัสดุประเภทอื่น แต่ในกรณีที่ซิลิโคนเหลว ซึ่งควรจะอยู่ภายในถุงซิลิโคนรั่วไหลซึมแทรกเข้าไปเนื้อเยื่อนั้นจะส่งผลต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าปกติหรือไม่นั้น ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน         …