รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบปรองดอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 เม.ย. 2555           บรรยากาศทางการเมืองอันร้อนรุ่มเวลานี้พอๆ กับสภาพอากาศหน้าร้อนของบ้านเรา ทำเอาผู้คนทั้งประเทศอดเป็นห่วงมิได้ว่าเมื่อไหร่จะปรองดองสมานฉันท์กันได้จริงเสียที เชื่อว่าพี่น้องชาวไทยผู้รักชาติทั้งหลายคงอยากเห็นประเทศไทยก้าวผ่านบรรยากาศแห่งความขัดแย้งแตกแยกที่เป็นอยู่อย่างนี้โดยเร็วกันทั้งนั้น ปล่อยทิ้งไว้แบบนี้นานไปจะเยียวยาไม่ไหวเหมือนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายยังไงยังงั้น           วกกลับมาเข้าเรื่องรักษามะเร็งแบบปรองดอง ปรองดองที่ว่านี้มี 2 นัยคือ หนึ่งระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยและญาติที่ได้รับการรักษา แน่นอนครับว่าแพทย์ก็อยากให้ผลการรักษาออกมาดี ผู้ป่วยก็อยากจะหายขาดจากโรคหรือมีชีวิตอยู่ได้นานที่สุดกันทั้งนั้น บ่อยครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่ายก็ไม่ค่อยจะปรองดองกัน ยกตัวอย่าง แพทย์ไม่เปิดใจกว้างไม่มีเวลาที่จะให้โอกาสผู้ป่วยและญาติซักถามรายละเอียดของการรักษาหรือปรึกษาหารือเรื่องทางเลือกอื่นในการรักษา มิหนำซ้ำยังต่อว่าผู้ป่วยและญาติหากไปเลือกการรักษาวิธีการอื่น เช่นเดียวกับผู้ป่วยและญาติที่อาจจะไม่มารับการรักษามาตรฐานที่ได้รับคำแนะนำหรือมารับการรักษาอย่างไม่สม่ำเสมอหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำสำคัญที่ต้องปฏิบัติ ซ้ำร้ายกลับทำตรงกันข้ามเสียอีก           นัยที่สองคือระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก ปัจจุบันมีการแอบอ้างวิธีการรักษาแบบใหม่ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือก แน่นอนครับว่าใครที่ไม่เคยเป็นมะเร็งหรือไม่เคยมีญาติสนิทเป็นมะเร็งจะไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ มีข่าวว่าอะไรรักษามะเร็งได้หรือใครมาบอกว่าคนนั้นคนนี้หายจากมะเร็งได้ ผู้ป่วยและญาติก็อยากจะไปลองการรักษาแบบที่ว่ากันทั้งนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าต้องใช้ปัญญาและเหตุผลแยกแยะให้ได้ว่าน่าเชื่อถือเพียงใด มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนหรือไม่ อย่างไร ที่สำคัญที่สุดคือต้องยึดการรักษามาตรฐานไว้เป็นการรักษาหลัก เหตุผลเพราะมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่ารักษาตัวโรคมะเร็งชนิดนั้นได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เพราะฉะนั้นอย่าทิ้งการรักษาหลักการรักษามาตรฐาน ส่วนจะเพิ่มการรักษาทางเลือกอื่นที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายเป็นการเสริมสุขภาพโดยรวมก็สุดแท้แต่ โดยเฉพาะการแพทย์ทางเลือกที่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบประคับประคอง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  9 พ.ค. 2557           เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยมะเร็งบ้านเราส่วนใหญ่เมื่อมีอาการมาพบแพทย์นั้น มักอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว กล่าวคือมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นคือระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ส่วนอีก 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว เพราะฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จึงเป็นภารกิจหลัก แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยเป็นระบบเท่าที่ควร           แต่ต่อไปนี้ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองจะไม่ถูกปล่อยปละละเลยแบบที่ผ่านมาอีกต่อไป เพราะการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ใหญ่ด้านการควบคุม และป้องกันโรคมะเร็งระดับชาติตั้งแต่ปี 2556-2560 โดยอาศัยแนวทางการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งขององค์การอนามัยโลก ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะลุกลามจะเป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เพียงแต่การรักษาตามอาการที่พบบ่อย ตั้งแต่อาการเหนื่อย หอบ ทั้งจากการที่ เซลล์มะเร็งลุกลามมาที่ปอดหรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด จากเซลล์มะเร็งลุกลามมาที่เยื่อหุ้มปอด ต้องให้ออกซิเจน เจาะระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อให้ผู้ป่วยอาการลดน้อยลง อาการแน่นท้องจากการมีภาวะท้องมานหรือการมีน้ำในช่องท้อง ทั้งจากการที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปทั่วช่องท้อง มีการสร้างน้ำจากเซลล์มะเร็งเอง…

รู้ทันมะเร็ง : เมื่อต้องไปฉายแสงรักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 ก.ค. 2555           การฉายแสงหรือฉายรังสีเป็นการใช้รังสีรักษามะเร็งอีกรูปแบบหนึ่ง อันที่จริงแล้วการใช้รังสีในการรักษาโรคมะเร็งมีหลายรูปแบบหลายวิธีการ ถ้าจะแบ่งอย่างกว้างๆ ก็เป็นแบบการใช้รังสีจากภายนอกหรือการฉายแสงที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย และแบบรังสีมาจากภายในร่างกาย เช่น การฝังแร่ ซึ่งการจะเลือกใช้รังสีรูปแบบไหนมารักษาโรคมะเร็งแต่ละประเภทก็ขึ้นอยู่กับว่า เป็นมะเร็งอวัยวะใด ประเภทของเซลล์มะเร็งเป็นแบบไหน รวมถึงสภาพของผู้ป่วยด้วย มีทั้งการใช้รังสีรักษาเป็นหลัก ไม่มีการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย เรียกว่าเป็นพระเอกแต่เพียงผู้เดียว บางกรณีก็ใช้การฉายแสงก่อนการรักษาวิธีการอื่นหรือฉายแสงไปพร้อมๆ กันเลย หรือฉายแสงหลังเสร็จสิ้นการรักษาด้วยวิธีการอื่น เช่น การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด           หลังจากที่แพทย์เจ้าของไข้พิจารณาแล้วว่ารังสีรักษามีบทบาทในการรักษาผู้ป่วย ก่อนเข้าสู่กระบวนการฉายแสง ผู้ป่วยต้องมาพบรังสีแพทย์ตามนัดเพื่อวางแผนการรักษา แพทย์จะดูประวัติการรักษา ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจร่างกายบริเวณที่จะฉายรังสี ให้คำอธิบายเรื่องการปฏิบัติตัวและผลข้างเคียงของการรักษา ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์พร้อมกับญาติผู้ดูแล เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน จะได้ช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดตามมา โดยทั่วไปจะฉายรังสีวันละ 1 ครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ หยุดพักเสาร์อาทิตย์ 2 วันแล้วเริ่มต้นใหม่ เวียนไปแบบนี้จนได้ปริมาณรังสีครบตามที่รังสีแพทย์กำหนด…

รู้ทันมะเร็ง : ผ่าตัดมะเร็งโดยใช้กล้อง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  22 ส.ค. 2557           พูดถึงการผ่าตัด ปัจจุบันทั้งคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่อยากสวยอยากหล่อต่างเดินเข้าเดินออกคลินิกเสริมความงามและโรงพยาบาล เพื่อรับการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งกันเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับการผ่าตัดรักษามะเร็งนั้น คงไม่มีใครอยากมีประสบการณ์ แม้ว่าจะเป็นการรักษามะเร็งวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง           ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งของอวัยวะใดก็ตาม ถ้าก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ในอวัยวะนั้น หรือยังอยู่ในระยะที่ยังมีการลุกลามไปแค่อวัยวะข้างเคียงรอบๆ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปอวัยวะที่ห่างไกลออกไป การผ่าตัดกวาดล้างถอนรากถอนโคน โดยจัดการตัดผูกหลอดเลือดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งเล็ดลอดออกไปตามกระแสเลือดในขณะที่ศัลยแพทย์กำลังทำผ่าตัดนั้น ถือเป็นการรักษามาตรฐานที่ถือปฏิบัติตามหลักศัลยกรรมมะเร็งวิทยามาช้านาน การผ่าตัดที่จะสามารถจัดการควบคุมทุกอย่างตามที่กล่าวมาได้นั้น ย่อมหลีกเลี่ยงการผ่าตัดแบบเปิดอ้าซ่าโอ่โถงไม่ได้ การผ่าตัดแบบขี้เหนียวขนาดของแผลผ่าตัด กลับเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ อุปกรณ์กล้องส่องตรวจและจอรับภาพมีการพัฒนามากขึ้น ทำให้การผ่าตัดมะเร็งโดยใช้กล้องจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ยอมรับในการรักษามะเร็งในปัจจุบัน           อันที่จริงแล้วการผ่าตัดโดยใช้กล้องมี 2 วิธีการหลัก วิธีการแรกคือการใช้กล้องส่องตรวจผ่านเข้าไปในช่องรูทวารต่างๆ ที่มีอยู่ตามอวัยวะปกติ ไม่ว่าจะเป็นรูจมูกผ่านคอหอย กล่องเสียง หลอดลมลงไปถึงปอด หรือใส่กล้องผ่านช่องปาก ลงไปดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ท่อน้ำดี…

รู้ทันมะเร็ง : ผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  21 มี.ค. 2557           ปัจจุบันการผ่าตัดมะเร็งเต้านมไม่ได้จำกัดอยู่แค่การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างแบบยกทิ้งกันทั้งหมดเหมือนในอดีตเมื่อสิบกว่าปีก่อน เชื่อว่าหลายท่านอาจทราบว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมหรือเก็บเต้านมเอาไว้ เป็นเรื่องปกติที่ทำกันอยู่เป็นประจำโดยให้ผลการรักษาที่ไม่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่าการผ่าตัดไม่ว่าจะตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างหรือแบบสงวนเต้านมไว้ จะเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนหรือไม่อย่างไรมากกว่า           ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกรายจะสามารถเลือกการผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้เสมอไป หลักการในการพิจารณาการผ่าตัดแบบสงวนเต้าเพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัยด้านตัวมะเร็ง ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย และสุดท้ายปัจจัยเรื่องลักษณะเต้านมข้างที่จะเก็บไว้ เริ่มที่ปัจจัยด้านตัวมะเร็งกันก่อน ลักษณะความดุร้ายของเซลล์มะเร็ง ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง ก็ไม่ควรผ่าตัดแบบสงวนเต้า เช่นเดียวกับขนาดของก้อนมะเร็ง ถ้ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของตัวเต้านม ก็อาจไม่เหมาะสมที่จะผ่าตัดแบบสงวนเต้า เพราะเหลือเนื้อเต้านมปกติอยู่ไม่มาก เก็บไว้ก็เหมือนไม่เก็บ แบบนี้ก็ตัดทิ้งออกหมดเลยจะดีกว่า           การกระจายตัวของเซลล์มะเร็งในเต้านมข้างนั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา ถ้ามีการกระจายหลายตำแหน่ง ก็ไม่สามารถเลือกการผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย เช่น อายุยังน้อย พันธุกรรมมียีนผิดปกติที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำในเนื้อเยื่อส่วนที่เหลือ ก็ไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถรับการฉายแสงบริเวณเต้านมได้ ก็ไม่ควรเลือกวิธีการผ่าตัดแบบสงวนเต้า…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งด้วยความร้อน : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  17 เม.ย. 2558           ผ่านพ้นช่วงวันหยุดยาวมหาสงกรานต์ ได้รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ เล่นน้ำสาดน้ำกันคงพอช่วยให้คลายร้อนกันไปได้บ้าง บรรยากาศหน้าร้อนแบบนี้ ต้องระวังอุณหภูมิร่างกายสูงเกินหรือภาวะฮีทสโตรกโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ชอบอากาศร้อน แต่ความร้อนก็ยังมีประโยชน์อีกหลายด้านโดยเฉพาะการรักษาโรคมะเร็ง           การใช้ความร้อนรักษาโรคมะเร็ง มีทั้งใช้แบบเฉพาะจุดเฉพาะที่ เฉพาะส่วนหรือทั่วทั้งร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ความร้อนร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เช่น การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด ตามคำจำกัดความนั้นอุณหภูมิที่ใช้ไม่สูงเกินกว่า 113 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 45 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระดับอุณหภูมิดังกล่าวส่งผลให้โปรตีนและโครงสร้างภายในเซลล์มะเร็งถูกทำลาย ไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงลิบเกือบร้อยองศาเซลเซียสแบบที่หลายคนเข้าใจกัน นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยแหล่งกำเนิดความร้อนที่ใช้ในการรักษามะเร็งมีหลายแบบตั้งแต่ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มสูง คลื่นวิทยุหรืออาร์เอฟ เลเซอร์ เป็นต้น โดยแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสีย ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาใช้กับมะเร็งในทุกอวัยวะได้เหมือนกันทั้งหมด           กรณีที่โรคมะเร็งยังเป็นเฉพาะที่ ไม่ว่าจะอยู่ภายนอกที่ผิวหนัง…

รู้ทันมะเร็ง : ออนโคเทอร์เมียความร้อนฆ่ามะเร็งวิธีใหม่ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  17 ต.ค. 2557           การใช้ความร้อนรักษาโรคมะเร็ง แม้จะไม่ใช่วิธีการใหม่ แต่มีเครื่องมือตัวใหม่ๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมา เพื่อสร้างความร้อนออกสู่ตลาดเป็นระยะ โดยอาศัยหลักการเดียวกันคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นในระดับที่ไม่สูงเกินกว่า 113 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 45 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้โปรตีนและโครงสร้างภายในเซลล์มะเร็งถูกทำลาย นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ส่วนการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการควบคุมระดับอุณหภูมิ ความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งเป้าหมาย ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาและประเภทของมะเร็งว่ามีการตอบสนองต่อการรักษามากน้อยเพียงไร           ในบ้านเราล่าสุด ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ หน่วยงานหลักที่สำคัญของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแถลงข่าวผลการวิจัยใช้เครื่องมือออนโคเทอร์เมียในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวในภูมิภาคอาเซียน เป็นเครื่องมือที่สร้างความร้อนจากคลื่นวิทยุ โดยทำการศึกษาวิจัยการใช้เครื่องมือตัวนี้อย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ชัดเจนเสียก่อนว่าเครื่องออนโคเทอร์เมียจะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งคนไทยได้มากน้อยเพียงไร แม้ว่าจะมีผลการวิจัยจากในต่างประเทศมาบ้างแล้วก็ตาม โดยเริ่มต้นศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นปัญหากลุ่มใหญ่ของบ้านเรา คือมะเร็งตับและมะเร็งเต้านมในระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีการรักษามาตรฐาน จึงจำเป็นต้องทำการวิจัยเพื่อหารูปแบบการรักษาที่ดีที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้      …

รู้ทันมะเร็ง : ข้อพึงปฏิบัติหลังผ่าตัดมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 ก.ค. 2555           ตอนที่แล้วว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปผ่าตัดมะเร็งมาแล้ว ตอนนี้ก็ขอกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติตัวปฏิบัติใจหลังผ่าตัดเพื่อความต่อเนื่องกันไปซะเลย           เมื่อหมอผ่าตัดเย็บแผลที่ผิวหนังเข็มสุดท้ายเสร็จ โดยทั่วไปหมอดมยาจะให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากยาสลบ หลังจากสติสัมปชัญญะเริ่มกลับมา ผู้ป่วยจะเริ่มได้ยินเสียงเรียกชื่อตัวเองก็ขอให้ปฏิบัติตัวตามที่หมอดมยาบอกคือให้หายใจลึกๆ อยู่นิ่งๆ อย่าดิ้น อย่าพยายามดึงสายระโยงระยางรอบตัว ที่สำคัญไม่ต้องตกอกตกใจว่าทำไมตนเองไม่สามารถพูดได้เพราะบ่อยครั้งที่การผ่าตัดมะเร็งใช้เวลาผ่าตัดยาวนานหลายชั่วโมงจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจคาไว้ในหลอดลมไปก่อน ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บในคอและพูดไม่ได้ แล้วต่อท่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจให้ช่วยดันอากาศเข้าปอดผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยอาจจะเจ็บแผลผ่าตัดหรือไม่มีกำลังเพียงพอที่จะหายใจด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วหลังผ่าตัดช่วงแรกมักจะต้องเข้าห้องไอซียูเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยไว้ก่อน เพราะฉะนั้นผู้ป่วยไม่ต้องตกใจ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด อย่าไปดึงสายหรือท่ออะไรออกเอง ดีไม่ดีต้องกลับไปผ่าตัดใหม่อีกรอบจะยุ่ง           เมื่อเอาท่อช่วยหายใจออกแล้วย้ายกลับมาวอร์ดหรือหอผู้ป่วยปกติ การปฏิบัติตัวก็ขึ้นอยู่กับว่าผ่าตัดอะไรอวัยวะไหน หลังผ่าตัดช่วงแรกส่วนใหญ่ก็ยังต้องให้น้ำเกลือไปก่อนแล้วจึงค่อยๆ เริ่มให้ผู้ป่วยกินอาหาร บางรายอาจต้องงดอาหารนานกว่าปกติก็จะมีการให้อาหารทางสายยางหรือให้สารอาหารทางหลอดเลือด ในรายที่กินอาหารได้แล้วก็ขอให้พยายามกินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพราะร่างกายต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อเยียวยารักษาบาดแผล ถ้ายังอยู่ในโรงพยาบาลก็กินอาหารที่โรงพยาบาลจัดมานั่นแหละครับ รสชาติอาจจะไม่ถูกปากแต่การันตีว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายแน่นอน ญาติบางคนปรารถนาดีเห็นผู้ป่วยกินอาหารโรงพยาบาลไม่ได้เลยไปซื้ออาหารโปรดมาฝาก หลายรายมีปัญหาอาหารเป็นพิษหรือท้องเสียก็เยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเหลือบ่ากว่าแรงกินอาหารโรงพยาบาลไม่ได้เลย ก็ปรึกษาหรือขออนุญาตแพทย์หรือพยาบาลซะก่อน ถ้าญาติทำมาเองและปรุงเสร็จใหม่ๆ ก็อาจจะพออนุโลมได้บ้างเป็นครั้งคราว…

รู้ทันมะเร็ง : เตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปผ่าตัดมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  6 ก.ค. 2555           เป็นธรรมดาที่ใครก็ตามที่ต้องถูกผ่าตัดย่อมต้องวิตกกังวลไม่มากก็น้อย ลำพังแค่รู้ว่าเป็นมะเร็งก็ทำเอาอกสั่นขวัญแขวนไปมากพอแล้ว ยิ่งต้องมาถูกผ่าตัดก็ต้องหวั่นไหวและหวาดเสียวเป็นธรรมดา จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับความเข้มแข็งและประสบการณ์ของแต่ละคน สำหรับคนที่จิตใจเข้มแข็งหรือเคยถูกผ่าตัดใหญ่มาก่อน คงไม่น่าเป็นห่วงอะไรมาก แต่ในคนที่ไม่เคยก็อย่าพึ่งกลัวจนเกินกว่าเหตุ ขอให้คิดในแง่บวกว่าไม่มีอะไรหนักหนาสาหัสกว่าตอนที่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้ว ตอนนี้ทำใจรับสภาพความเป็นจริงได้แล้ว ถึงเวลาที่ต้องรีบอัญเชิญเจ้าเนื้อร้ายออกจากร่างกายไปอยู่ไกลๆ โดยเร็วซะที           ประการแรกที่สำคัญมากคือเตรียมใจก่อน อย่างที่เขาว่าจิตเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าใจท้อใจไม่สู้ก็จะมีผลทำให้ระบบฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จะเตรียมกายให้ดีอย่างไรก็เอาชนะโรคร้ายได้ยาก ก่อนอื่นต้องมีความตั้งใจแน่วแน่และเชื่อมั่นในแผนการรักษาที่จะได้รับ ประเภทที่ยังลังเลไม่แน่ใจว่าจะผ่าดีหรือไม่ผ่าดี ก็หาข้อมูลเพิ่มเติมให้มั่นใจเสียก่อน ถ้าตัดสินใจได้ว่าจะผ่าแน่นอนแล้วก็ขอร้องว่าอย่าเบี้ยวหรือเปลี่ยนใจกะทันหันก่อนวันนัดผ่าตัดไม่กี่วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลรัฐบาลที่มีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดมะเร็งจำนวนมาก เพราะนั่นเท่ากับเป็นการทำบาปโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นการไปทำให้คนไข้ที่เค้าอยากจะรีบผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเร็วๆ ต้องเสียโอกาสไปโดยปริยาย ถ้าตัดสินใจแล้วก็จงทำจิตใจให้สบาย ปลอดโปร่ง ให้กำลังใจกับตัวเองว่าผ่าเที่ยวนี้เอามะเร็งออกหมดแน่ ญาติพี่น้องหรือผู้ใกล้ชิดก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ไม่ควรให้ข้อมูลประเภทฟังเค้าเล่าว่า ไปรักษาอย่างนู้นอย่างนี้แล้วได้ผลดี ทั้งที่แท้จริงแล้วไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันหรือระยะเดียวกันหรือไม่ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสับสนเสียโอกาสในการรักษา และที่สำคัญเมื่อผู้ป่วยตัดสินใจแน่วแน่ในการเลือกแนวทางการรักษาที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเคารพการตัดสินใจของตัวผู้ป่วยเองเป็นหลัก           ส่วนการเตรียมตัวนั้น อันที่จริงก็ขึ้นอยู่กับว่าจะผ่าตัดมะเร็งอะไรของอวัยวะไหน…

รู้ทันมะเร็ง : ใช้ความร้อนฆ่ามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  4 พ.ค. 2555           ท่ามกลางอากาศร้อนระอุแบบทำลายสถิติเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะเป็นสถิติอุณหภูมิสูงสุดของประเทศ สถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ร้อนแบบชนิดที่หลายคนบอกว่าอาบน้ำไปเหงื่อออกไป ร้อนจนถนนระเบิดถนนทรุดจนถึงขนาดแผ่นดินลุกเป็นไฟในหลายพื้นที่ ซึ่งไม่เคยปรากฏก็มีให้เห็นกันแล้วในปีนี้ เกิดพายุฤดูร้อน ลูกเห็บตกไปทั่วประเทศ นอกจากจะมีปัญหาภัยแล้งพืชผักจะมีราคาสูงแล้ว เป็ดไก่พากันไม่ออกไข่ สัตว์น้ำก็พากันตายเพราะอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ ทำเอาเครียดไปตามๆ กัน           วกกลับมาเรื่องการใช้ความร้อนรักษาโรคมะเร็ง มีทั้งใช้แบบเฉพาะจุดเฉพาะที่ เฉพาะส่วนหรือทั่วทั้งร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ความร้อนร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เช่น การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด ตามคำจำกัดความนั้นอุณหภูมิที่ใช้ไม่สูงเกินกว่า 113 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 45 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระดับอุณหภูมิดังกล่าวส่งผลให้โปรตีนและโครงสร้างภายในเซลล์มะเร็งถูกทำลาย ไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงลิบเกือบร้อยองศาเซลเซียสแบบที่หลายคนเข้าใจกัน นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย           กรณีที่โรคมะเร็งยังเป็นเฉพาะที่ ไม่ว่าจะอยู่ภายนอกที่ผิวหนัง ในอวัยวะที่เป็นท่อกลวง หรือแม้แต่ในอวัยวะส่วนลึก กลุ่มนี้อาจใช้คลื่นไมโครเวฟ การจี้ด้วยไฟฟ้า…