รู้ทันมะเร็ง : ฝังแร่รักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  24 เม.ย. 2558           เรื่องร้อนๆ ในวงการมะเร็งบ้านเราเวลานี้ หนีไม่พ้นเรื่องผู้ป่วยมะเร็งคนไทยถูกหลอกไปรักษามะเร็งที่เมืองจีน จริงๆ แล้วไม่ใช่ประเทศเราประเทศเดียวที่ตกเป็นเหยื่อ ยังมีผู้ป่วยที่มีอันจะกินอีกหลายประเทศที่ออกมาแฉความจริงในโลกออนไลน์ ส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพเดียวกันคือได้รับการรักษาเฉพาะที่เฉพาะบางจุด ทั้งๆ ที่ตัวโรคได้ลุกลามไปมากมายหลายอวัยวะ เสียค่าใช้จ่ายหลายแสนหลายล้านบาทต่อราย แต่ในที่สุดอยู่ได้ไม่นานขึ้นกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยวิธีการอื่น และหนึ่งในการรักษาที่โหมโฆษณาอย่างหนักและมีคนป่วยหลงเชื่อจำนวนมากนั่นก็คือการฝังแร่รักษามะเร็ง           ลำพังหากการรักษามะเร็งไม่ว่าวิธีใดก็ตาม ถ้าไม่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพกับคนรอบข้างก็คงไม่เป็นปัญหาอะไรมาก แต่การฝังแร่แล้วปล่อยให้ผู้ป่วยที่ยังมีปริมาณการแผ่รังสีสูงอยู่ ออกมาเดินทางขึ้นเครื่องบินกลับประเทศไทยโดยไม่ให้คำแนะนำอะไร นับเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในทางการแพทย์และไม่มีโรงพยาบาลไหนในโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแล้วเค้าทำกัน เพราะรังสีในปริมาณที่สูงนั้นมีอันตรายต่อคนรอบข้างที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ ขณะนี้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างแข็งขัน          วกกลับมาเรื่อง การฝังแร่รักษามะเร็ง โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักคือ ฝังแร่แบบชั่วคราวและแบบฝังถาวร การฝังแร่แบบชั่วคราวก็ใส่แร่ไปในอวัยวะที่เป็นมะเร็งโดยตรงหรือใกล้เคียงกับอวัยวะนั้น เพื่อให้ตัวแร่ปล่อยรังสีออกมาตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วดึงแร่ออก ตัวแร่ที่ใช้ฝังกันในการรักษามะเร็งอวัยวะต่างๆ ที่ใช้กันบ่อยก็เช่น อิริเดียม 192 โคบอลท์ 60 ซีเซียม…

รู้ทันมะเร็ง : มีสติก่อนวิ่งหาการรักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  30 ม.ค. 2558           เป็นเรื่องน่าเห็นใจทุกครั้งเมื่อใครก็ตามได้ทราบข่าวว่าคนที่ตัวเองรู้จักป่วยเป็นมะเร็ง และก็มีเพื่อนสนิทมิตรสหายจำนวนไม่น้อยเช่นกันเป็นห่วงเป็นใยแนะนำแพทย์ที่จะให้การรักษา รวมไปถึงแนะนำวิธีการรักษารูปแบบต่างๆ ด้วยความหวังดี ยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารแบบนี้ การเข้าถึงความรู้ต่างๆ ด้านสุขภาพทำได้ง่ายขึ้น บวกกับมีการรักษาทางเลือกใหม่ๆ มากมายเต็มไปหมด ทำเอาสับสนกันไปตามๆ กันทั้งตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง           มาว่ากันที่วิธีการรักษาโรคมะเร็งที่เป็นการรักษามาตรฐานแผนปัจจุบันก็มี 3 วิธีหลักคือ การผ่าตัด การฉายแสง และการให้ยาเคมีบำบัด ส่วนการจะเลือกวิธีการไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ปัจจัยหลักคือตัวคนไข้เองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวโรคมะเร็ง ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวคนไข้เองก็เช่น อายุ ความสมบูรณ์แข็งแรง โรคประจำตัวต่างๆ เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวโรคมะเร็งก็เช่น อวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของโรค ซึ่งปัจจัยหลักทั้งสองเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้รายนั้นๆ เพราะฉะนั้นคนไข้ที่เป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน จึงไม่ได้รักษาด้วยวิธีการเดียวกันเสมอไป นั่นเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ผู้ป่วยต้องเข้าใจหลักในการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเองจากแพทย์ผู้ให้การรักษา           นอกนั้นก็ยังมีการรักษาแผนปัจจุบันรูปแบบอื่นๆ ที่มีรายละเอียดปลีกย่อย ว่ากันไปตามมะเร็งของแต่ละอวัยวะๆ…

รู้ทันมะเร็ง : ระยะเวลากับการรักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  28 พ.ย. 2557           เรื่องของเวลาใครๆ ก็รู้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เมื่อผ่านช่วงเวลาที่สำคัญไปแล้วนั้น มนุษย์เราไม่สามารถเรียกร้องหรือขอย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้อีก เช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆ ถ้ารู้ได้เร็วว่าตนเองเป็นโรคอะไรแล้วรีบเข้ารับการรักษา ผลการรักษาก็ยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง ถ้ารู้ได้เร็ว รักษาได้เร็วเท่าไหร่ นอกจากจะมีผลต่อการรักษาแล้ว ยังทำให้โอกาสมีเวลาเหลือใช้ชีวิตในโลกใบนี้ในชาตินี้มากขึ้นเท่านั้น           เริ่มต้นจากเมื่อมีอาการผิดปกติที่เรียกว่า 7 สัญญาณอันตราย ที่หากมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์นั้น ให้รีบไปพบแพทย์อันได้แก่ อาการระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปร แผลที่ไม่รู้จักหาย ร่างกายมีก้อนตุ่ม กลุ้มใจเรื่องกินกลืนอาหาร ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล ไฝหูดที่เปลี่ยนไป ไอและเสียงแหบจนเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ใครที่มีอาการใดใน 7 กลุ่มอาการที่ว่านี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งทุกรายไป แพทย์ต้องทำการตรวจร่างกาย ส่งตรวจอื่นๆ อย่างละเอียดเพิ่มเติม อาจจะเป็นการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ การส่องกล้อง การตรวจทางรังสีวินิจฉัยอื่นๆ ช่วงระยะเวลาการรอผลการตรวจนี้ก็มีความสำคัญอันมีผลต่อการรักษาด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปไม่ควรรอผลนานเกิน 2…

รู้ทันมะเร็ง : ใส่ท่อให้อาหารในผู้ป่วยมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  6 ก.ย. 2556           วันก่อนมีญาติผู้ป่วยมะเร็งมาปรึกษาเรื่องที่คนไข้มะเร็งลุกลามมากขึ้น กินอาหารได้น้อยลง จะพาไปโรงพยาบาลให้หมอใส่ท่อให้อาหารเลยดีหรือเปล่า หรือจะให้กินวิตามินหรืออาหารเสริมอะไรก่อนดี ไม่รู้จะเอายังไงดี           ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจตรงกันก่อนว่า การให้สารอาหารเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งไม่แพ้เรื่องวิธีการรักษา ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหารไม่มากก็น้อย นับตั้งแต่เริ่มมีอาการมาพบแพทย์ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้นการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งหลายอวัยวะไม่เฉพาะมะเร็งของระบบทางเดินอาหารมักมีอาการอาเจียน เบื่ออาหาร ทำให้กินอาหารไม่ได้มากเหมือนปกติ ก่อนที่จะให้การรักษาแพทย์ต้องประเมินระยะของโรคให้ชัดเจนก่อนว่าอยู่ในระยะใด จะให้การรักษาอย่างไร ถ้าโรคยังอยู่ในระยะที่รักษาหายขาดได้และผู้ป่วยยังอยู่ในสภาวะโภชนาการบกพร่อง ก็จำเป็นต้องให้อาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย โดยทั่วไปถ้าทางเดินอาหารของผู้ป่วยยังปกติดี ก็มักจะให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากตามปกติ โดยอาจร่วมกับการให้วิตามิน นม หรืออาหารเสริมอื่นๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน แต่ถึงกระนั้นก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหารมากก็มักกินอาหารทางปากไม่ได้เต็มที่           ในบางรายอาจจำเป็นต้องใส่ท่อให้อาหารผ่านทางจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อให้อาหารปั่นหรือนมเสริมอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารได้โดยตรง บางรายที่ไม่สามารถให้อาหารทางระบบทางเดินอาหารได้ ก็อาจจะต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำซึ่งมีราคาแพงกว่า และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่องการติดเชื้อได้มากกว่า ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม การมัวแต่รอแก้ไขเรื่องสภาวะโภชนาการก็อาจทำให้โรคมะเร็งลุกลามมากขึ้น แต่การรีบเอาผู้ป่วยไปรักษาในขณะที่ยังอยู่ในสภาพขาดอาหารก็อาจมีผลเสียตามมา เช่น แผลผ่าตัดแยกไม่ติดหรือรอยต่อที่เย็บไว้รั่ว…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งที่ไหนดี : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  14 พ.ย. 2557           อีกคำถามยอดฮิตที่ผู้ป่วยและญาติชอบถามกันเป็นประจำ ว่าเป็นมะเร็งแล้วจะไปรักษาที่ไหนดี นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบันคนไทยมีสิทธิ์การรักษากันถ้วนหน้าทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ใครที่ไม่มีทางเลือกหรือจะใช้ตามสิทธิ์ที่ตนเองมี ก็ว่ากันไปตามโรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษา ส่วนใครที่มีโอกาสเลือกหรือไม่อยากใช้สิทธิ์ที่ตนเองมี ก็อาจไปตรวจรักษาโดยจ่ายเงินเองซึ่งมีทั้งโรงพยาบาลของภาครัฐและภาคเอกชน ยิ่งระยะหลังมีโรงพยาบาลเอกชนต่างชาติมาโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ตามเวปเพจ ผู้ป่วยเลยยิ่งสับสนไปกันใหญ่           ก่อนจะตอบว่าควรไปรักษามะเร็งที่ไหน คงต้องรู้ก่อนว่าจะรักษามะเร็งของผู้ป่วยรายนั้นอย่างไร ซึ่งก็จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าเป็นมะเร็งอะไร อวัยวะไหน ระยะเท่าไหร่แล้ว และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยเรื่องโรคมะเร็งแล้ว ก็คือสภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัวต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตับแข็ง ถ้าสภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัวที่เป็นมากหรือควบคุมโรคไม่ค่อยได้ โอกาสที่จะรักษาได้ตามมาตรฐานก็ลดน้อยลง แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องสภาพร่างกาย ก็ให้การรักษาไปตามมาตรฐานของมะเร็งของอวัยวะนั้นตามระยะของโรค ซึ่งหนีไม่พ้นการรักษาตามมาตรฐาน 3 วิธีการหลัก คือการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง อาจใช้การรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง…

รู้ทันมะเร็ง : เจรจารักษามะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  28 ก.พ. 2557           สถานการณ์การเมืองในบ้านเราเวลานี้ หลายคนเปรียบเปรยเหมือนโรคมะเร็งร้ายที่เกาะกินบ้านกินเมืองมาหลายปี ต่างฝ่ายต่างหาวิธีการรักษาตามวิธีการและความเชื่อของตนเอง แต่โรคร้ายก็ยังไม่มีทีท่าจะทุเลาหรือสงบลง แต่กลับยิ่งลุกลามบานปลายทวีความรุนแรงไปทั่วประเทศ เสมือนมะเร็งร้ายกำลังแพร่กระจายไปทั่วร่างกายยังไงยังงั้น           วกมาเข้าเรื่องเจรจารักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วยจริงๆ กันดีกว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษามะเร็งของอวัยวะเดียวกัน แต่เป็นเซลล์มะเร็งคนละประเภทหรือเป็นเซลล์มะเร็งประเภทเดียวกันแต่คนละระยะของโรค วิธีการรักษาก็แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นคนที่อาจเคยมีเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องเป็นมะเร็งอวัยวะนั้นอวัยวะนี้ แล้วมาเจรจาชักชวนให้ผู้ป่วยไปรักษาตามที่ตนเองรับรู้มาเพียงไม่กี่ราย อย่าไปทำแบบนั้นอีกเป็นอันขาด เพราะเป็นการทำบาปทำกรรมโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากไปให้ข้อมูลที่ผิดๆ กับคนไข้ มิหนำซ้ำยังทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในการหายขาดจากโรคอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้นที่มีโอกาสหายขาดสูง ถ้าได้รับการรักษาตามวิธีมาตรฐาน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้รักษาเค้าเป็นคนให้ข้อมูลที่ถูกต้องจะดีซะกว่า ไม่ควรไปเชื่อพวกมาเจรจาด้วยข้อมูลที่บิดเบี้ยวแบบนี้         ส่วนการเจรจาที่ถูกต้องน่าเชื่อถือนั้น หลังจากที่ทำการตรวจวินิจฉัยยืนยันเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเป็นมะเร็งอวัยวะใด ระยะไหนแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะให้ข้อมูลการรักษาที่ถูกต้องและครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ การปฏิบัติตัวและที่สำคัญที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยากรู้แต่ไม่อยากเจอคือ เรื่องผลข้างเคียงของการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลข้างเคียงของการให้ยาเคมีบำบัด โดยผู้ป่วยมีโอกาสเจรจาซักถามข้อสงสัยต่างๆ อย่างเต็มที่ แต่ในความเป็นจริงแพทย์อาจไม่มีเวลามาให้คำอธิบายได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งมีจำนวนมากและในบางกรณีแพทย์ผู้รักษาอาจไม่สามารถเจรจากับตัวผู้ป่วยได้โดยตรง เนื่องจากญาติผู้ป่วยอาจขอร้องให้แพทย์ไม่บอกผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็ง…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบทีมงานมืออาชีพ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 ก.ย. 2556           สัปดาห์ที่แล้วคนไทยทั่วประเทศล้วนใจจดจ่อกับการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย ที่สุดท้ายจบลงด้วยความสุขสมหวังของพี่น้องชาวไทยที่ทีมวอลเลย์บอลสาวไทยสามารถคว้าชัยชนะได้แชมป์เอเชียไปอย่างสมศักดิ์ศรี เอาชนะทั้งทีมสาวจีนและสาวญี่ปุ่นแบบชนะใจคนดูอย่างไม่มีข้อกังขา ทำให้อยากพูดถึงการรักษามะเร็งแบบสหสาขาวิชาชีพแบบเป็นทีมเวิร์กอย่างทีมวอลเลย์บอลมืออาชีพของสาวไทยดูบ้าง                    โดยทั่วไปในการรักษามะเร็ง ถ้าเป็นเคสที่ตรงไปตรงมา ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยและการรักษา ก็ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาไปตามขั้นตอน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่ต้องมาเข้าที่ประชุมขอความเห็นเรื่องแนวทางในการรักษา เว้นเสียแต่ว่าผลชิ้นเนื้อที่ออกมาหลังผ่าตัดเป็นชนิดที่พบได้ไม่บ่อย ก็อาจต้องมาเข้าที่ประชุมเพื่อขอแนวทางการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ แต่ในกรณีที่เป็นเคสที่ไม่ตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการวินิจฉัยหรือปัญหาในแง่การรักษา           ยกตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งมาพบแพทย์ด้วยก้อนที่ตับหรือปอด แต่กระจายมาจากอวัยวะอื่นที่หาตัวแม่ไม่เจอ จะให้การรักษาไปเลยดีหรือจะตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมดี เช่น ตรวจย้อมชิ้นเนื้อด้วยวิธีพิเศษ เพราะการเสียเวลาไปทำการตรวจวินิจฉัยผิดทาง เสียเวลาไปทำการตรวจที่ไม่จำเป็น หรือไปทำการรักษาที่ผิดขั้นตอน ก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสทอง โอกาสสำคัญในการรักษา เคสผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรต้องนำเข้าที่ประชุมวิชาการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งหลากหลายสาขา เพื่อฟังความเห็นทั้งที่มาจากงานวิจัยงานวิชาการใหม่ๆ รวมถึงฟังจากประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ ส่วนใหญ่ที่ประชุมวิชาการในลักษณะนี้หรือที่เรียกกันทางภาษาแพทย์ว่า ทูเมอร์คอนเฟอร์เรนท์ มักมีการจัดการประชุมเป็นประจำทุกสัปดาห์ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการตรวจรักษาที่ครบทุกสาขาทางวิชาการทั้งบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรียนแพทย์หรือศูนย์มะเร็งที่มีการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ…

รู้ทันมะเร็ง : สร้างเต้านมใหม่หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  18 เม.ย.2557           แม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมออกทั้งข้างเรียบร้อยแล้ว จะทำใจยอมรับกับการสูญเสียอวัยวะสำคัญได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีอายุน้อยเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความต้องการเต้านมใหม่ เพื่อทดแทนการสูญเสียอวัยวะและการสูญเสียทางจิตใจและที่สำคัญยังช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย                    สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ แต่ยังอยากมีเต้านมโดยไม่อยากพึ่งพาซิลิโคนภายนอกใส่ในเสื้อยกทรง ก็ยังมีการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักคือ แบบแรกการผ่าตัดแบบใช้เต้านมเทียม แบบที่ 2 การผ่าตัดแบบใช้เนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกายตัวเองมาทำเป็นเต้านมขึ้นมาใหม่ และแบบที่ 3 การผ่าตัดแบบใช้ทั้ง 2 วิธีข้างต้นร่วมกัน มาเริ่มกันที่แบบแรก การผ่าตัดแบบใช้เต้านมเทียม ก็เป็นการผ่าตัดโดยใช้วัสดุเต้านมเทียมเป็นถุงซิลิโคนหรือถุงน้ำเกลือ ใส่เข้าไปในชั้นใต้กล้ามเนื้อแบบที่การผ่าตัดเสริมเต้านมเพื่อความงามทำกันทั่วไป แบบที่ 2 การผ่าตัดแบบใช้เนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกายตัวเองมาทำเป็นเต้านมขึ้นมาใหม่ โดยใช้ทั้งผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อพร้อมทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงเนื้อเยื่อติดกันมาทั้งพวง แล้วย้ายมาวางที่ตำแหน่งเต้านมเดิม โดยนิยมใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังด้านข้างมาทำเต้านมเทียม และแบบที่ 3 การผ่าตัดแบบใช้ทั้ง 2 วิธีข้างต้นร่วมกัน…

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบเจาะจงตรงเป้าหมาย : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  10 ส.ค. 2555           กีฬาโอลิมปิกเกม 2012 ณ กรุงลอนดอนใกล้จะปิดฉากลงแล้ว เป้าหมายเหรียญรางวัลของทีมไทยเราอาจไม่เป็นไปอย่างที่หวังไว้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้นักกีฬาทีมชาติทุกคนที่แม้จะยังไม่สมหวังวันนี้ ก็ขอให้ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนขยันหมั่นฝึกซ้อมอย่าท้อถอย ความฝันต้องเป็นจริงสักวันล่ะครับ เช่นเดียวกับการรักษามะเร็งที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ที่ต้องการให้ยาไปออกฤทธิ์แบบเจาะจงกับเซลล์มะเร็งที่เป็นเป้าหมายโดยตรงและให้มีผลต่อเซลล์ปกติน้อยที่สุด ต่างจากการให้ยาเคมีบำบัดแบบเดิมที่ไม่ว่าเซลล์ปกติเซลล์มะเร็งก็โดนยาสบักสบอมไปอย่างเท่าเทียมกัน แทนที่ก้อนมะเร็งจะยุบฝ่อลงกลับกลายเป็นว่าเกิดผลข้างเคียงกับเซลล์ปกติในระบบอื่นๆ ทำให้ร่างกายยิ่งแย่ลงไปอีก การรักษาแบบนี้มีการพัฒนามาในช่วง 10 กว่าปีและเริ่มนำมาใช้ในบ้านเราในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่าทาร์เก็ตเตดเทอราปี่ ภาษาไทยบางทีก็เรียกว่าการรักษาตามเป้าหมาย การรักษาพุ่งเป้า บางทีก็เรียกว่าการให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม            หลักสำคัญของการรักษาวิธีนี้คือการใช้ยาหรือสารบางชนิดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้นๆ เรียกว่าเล่นงานเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุลเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการรบกวนการส่งสัญญาณการเจริญเติบโตในระดับเซลล์ทำให้เซลล์มะเร็งหยุดการแบ่งตัว รบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่จะมาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารขาดออกซิเจนและยังเป็นการตัดเส้นทางการกระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และเมื่อเซลล์มะเร็งตายลงทั้งจากผลของยาโดยตรงและจากกระบวนการที่ไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายโดยตัวของมันเอง ยังส่งผลทางอ้อมโดยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งสารเคมีที่เป็นพิษมาทำลายเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย เรียกว่าจัดหนักจัดเต็มแบบไม่ผิดฝาผิดตัวขนาดนี้ ผลการรักษาจึงดีกว่าการให้ยาเคมีบำบัดแบบเดิมอย่างชัดเจน             …

รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบไร้รอยต่อ(ตอนจบ) : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 มี.ค. 2556           ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วว่าด้วยเรื่องรอยต่อในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดจากตัวระบบและรอยต่ออันเกิดจากขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ผู้รักษากันไปแล้ว มาต่อกันที่รอยต่อในขั้นตอนการรักษาและรอยต่ออันเกิดจากผู้ป่วยกันเลยดีกว่า          ก่อนจะเข้าสู่เรื่องรอยต่อในช่วงที่แพทย์ให้การรักษา หลังจากที่แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นมะเร็งแน่นอนแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว ไม่ควรล่าช้าหรือมัวแต่โอ้เอ้วิหารรายทั้งแพทย์ผู้รักษาและตัวผู้ป่วยเพราะเซลล์มะเร็งแบ่งตัวแบบไม่มีวันหยุดราชการ ยิ่งได้รับการรักษาได้เร็วเท่าไร โอกาสที่จะได้ผลดีในการรักษายิ่งมีมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจแล้วพบว่าเป็นมะเร็ง ควรได้รับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อ หลอดเลือด ต่อมน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลืองบริเวณนั้นออกไปทั้งหมดโดยเร็ว ยิ่งทอดเวลาออกไปมาก โอกาสที่เซลล์มะเร็งที่เปรียบเสมือนตัวต่อตัวแตนที่เพิ่งจะโดนแหย่รังจะแพร่กระจายออกไปอวัยวะอื่นยิ่งมีมาก                    อีกกรณีที่พบบ่อยคือรอยต่อในช่วงที่จะให้การรักษาคือการต้องรอเตียงห้องผู้ป่วยหนักหรือห้องไอซียูให้ว่างก่อนจึงจะสามารถผ่าตัดใหญ่ให้ผู้ป่วยได้ เพราะการผ่าตัดมะเร็งหลายอวัยวะที่ใช้เวลาผ่าตัดนานหลายชั่วโมง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหลอดอาหาร หลังผ่าตัดวันสองวันแรกจึงจำเป็นต้องอยู่ห้องไอซียูเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย นอกจากนั้นอีกกรณีที่พบบ่อยคือการรักษามะเร็งหลายอวัยวะจำเป็นต้องใช้การรักษาหลายวิธีการร่วมกัน เช่น หลังผ่าตัดใหญ่แล้วอาจต้องตามด้วยการฉายรังสี หรือการให้ยาเคมีบำบัดทันทีที่แผลผ่าตัดหายแล้ว โดยทั่วไปก็ประมาณหนึ่งเดือนหลังผ่าตัดควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องไม่ควรล่าช้าเช่นเดียวกัน           …