รู้ทันมะเร็ง : รักษามะเร็งแบบไร้รอยต่อ (ตอนที่1) : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  8 มี.ค. 2556           ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาฤดูการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้สมัครทั้งที่สังกัดพรรคและผู้สมัครอิสระ แต่ละคนต่างมีนโยบายและสโลแกนในการหาเสียงแตกต่างกันไป มีผู้สมัครอยู่ท่านหนึ่งมีการออกสื่อประชาสัมพันธ์นโยบายที่จะทำงานกับรัฐบาลได้อย่างราบรื่นแบบไร้รอยต่อ ทำเอาคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่คุ้นหูกับคำว่าแบบไร้รอยต่อ เวลานี้ก็ได้รู้กันเป็นทางการเรียบร้อยแล้วว่าใครได้เป็นผู้ว่าฯคนใหม่ แต่ที่แน่ๆ ครั้งนี้คะแนนของอันดับที่หนึ่งกับสองคู่คี่สูสีกันที่สุดตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯมา                    วกกลับมาเรื่องการรักษามะเร็งแบบไร้รอยต่อกันดีกว่า ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าทั้งแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยเองก็อยากให้การรักษามะเร็งเป็นไปอย่างรวดเร็วไหลลื่นไม่ติดขัด แต่ในความเป็นจริงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีรอยต่อหลายรอย ทั้งจากตัวระบบ จากตัวผู้ให้การรักษา และจากตัวผู้รับการรักษา เริ่มจากตัวระบบกันก่อน บ่อยครั้งที่เกิดจากความล่าช้าในการส่งต่อข้อมูล การรอข้อมูลการรักษาผลการตรวจพิเศษต่างๆ จากโรงพยาบาลแรกที่ให้การรักษา การรอเอกสารรับรองสิทธิการรักษา ที่สำคัญในส่วนของตัวระบบคือความล่าช้าในการที่ผู้ป่วยจะเข้าถึงการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพการรักษาที่สูงกว่า ทั้งจากการรอตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก การรอเตียงผู้ป่วยในว่าง การรอคิวการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ผู้ป่วยจึงต้องมาแออัดยัดเยียดกันอยู่ในโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและปัจจุบันมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ทรัพยากรในการให้บริการด้านสุขภาพมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้เกิดสภาพคอขวดอย่างเลี่ยงไม่ได้           …

รู้ทันมะเร็ง : ยาเคมีบำบัดไม่น่ากลัวอย่างที่คิด : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  18 พ.ค. 2555           ภาพผู้ป่วยผมร่วงศีรษะโล้นหรือใส่วิก โพกผ้าคงเป็นภาพที่คุ้นตาของใครต่อใคร หลายคนรู้โดยอัตโนมัติเลยว่าต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือยาคีโม เคโมที่ใครๆ เคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแล้ว คนส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากพาลพบหรืออยากมีประสบการณ์แบบเช่นเดียวกับการให้ยาเคมีบำบัดทั้งแบบที่ให้ เฉพาะอวัยวะหรือให้ไปทั่วทั้งร่างกายก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนด้วยเช่นกัน เหตุที่ปัจจุบันมีผู้คนป่วยเป็นมะเร็งกันมากขึ้นทุกๆ ปี ทำให้มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมากขึ้นเป็นเงาตามตัว                    จึงไม่แปลกอะไรเลยที่นับวันเราจะเห็นภาพผู้ป่วยผมร่วงศีรษะโล้นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ผลข้างเคียงต่างๆ ที่พบบ่อยไม่ว่าจะเป็นซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เกิดรอยฟกช้ำตามตัวได้ง่าย เลือดออกแล้วหยุดยาก ติดเชื้อง่ายได้จากการที่ยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์ในไขกระดูกคือเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปากเป็นแผล ท้องเสีย จากการที่ยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร ผมร่วง ผิวคล้ำ เล็บคล้ำ เล็บเปราะ ชาตามปลายมือปลายเท้า ปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกคน …

รู้ทันมะเร็ง : แขนบวมหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 ก.ย. 2556           ภาพผู้ป่วยแขนบวมแขนใหญ่กว่าปกติหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมยังพอให้พบเห็นอยู่เนืองๆ คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไรถึงได้มีแขนใหญ่กว่าอีกข้าง หลายรายยังมีลักษณะผิวหนังของแขนข้างนั้นที่ผิดปกติ ผิวหนังไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ บางรายบวมมากจนมีแผลปริแตกหรือมีการติดเชื้อของผิวหนังร่วมด้วย                    ภาวะแขนบวมที่ว่านี้เกิดจากการไหลเวียนของน้ำเหลืองผิดปกติ ทำให้มีการคั่งของน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนข้างนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบมาตรฐานดั้งเดิมที่ต้องมีการผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกไปด้วย ทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองผิดปกติหรือเป็นไปได้ลำบากยากขึ้น โดยปกติแล้วน้ำเหลืองจากปลายแขนไหลกลับสู่หัวใจโดยผ่านต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ เนื่องจากมะเร็งเต้านมมักมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้เป็นประจำ ศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก เพื่อเป็นการกำจัดมะเร็งออกไปให้มากที่สุดไม่ให้หลงเหลือตกค้าง นอกจากนั้นเพื่อไปตรวจดูว่ามีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือไม่ เพื่อให้ทราบถึงระยะของโรคมะเร็งและวางแผนรูปแบบการรักษาที่จะให้ต่อหลังการผ่าตัด แต่ก็ใช่ว่าผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดดังกล่าวจะต้องแขนบวมเสมอไป จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า โอกาสเกิดแขนบวมหลังผ่าตัดอยู่ที่ 8-56 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 2 ปีแรกหลังผ่าตัด โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่แขนบวมเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีแรกหลังผ่าตัด หลังจากนั้นโอกาสที่จะเกิดภาวะแขนบวมอยู่ที่ปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ได้จนถึง 30 ปีหลังผ่าตัด พูดง่ายๆ…

รู้ทันมะเร็ง – ผ่าตัดแล้วมะเร็งกระจายจริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  27 พ.ค. 2554           ในบรรดาความเชื่อของผู้ป่วยมะเร็งและญาตินั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาแผนปัจจุบัน การรักษาทางเลือกแบบใหม่ๆ ความเชื่อเรื่องหากเป็นมะเร็งแล้วผ่าตัดจะทำให้มะเร็งแพร่กระจายนับเป็นเรื่องที่อยู่ในอันดับต้นๆ ที่สำคัญคือทำให้ผู้ป่วยหลายรายเสียโอกาสสำคัญในการรักษาให้หายขาด เช่นเดียวกันกับศัลยแพทย์หรือหมอผ่าตัดที่ตกเป็นจำเลยว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้มะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย                    ว่ากันแบบตรงไปตรงมาแบบไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างใคร เรื่องนี้มีทั้งจริงและไม่จริงขึ้นกับแต่ละกรณีครับ ประเด็นแรก คือเรื่องที่ว่ามะเร็งยังไม่กระจายหรือกระจายไปก่อนแล้วนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจ การที่เราจะบอกว่ามะเร็งก้อนนั้นกระจายไปแล้วหรือไม่ มีตั้งแต่การตรวจร่างกาย การใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงระยะของโรคมะเร็งว่าเป็นถึงขั้นไหนแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ตามเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ามีเซลล์เล็กเซลล์น้อยผลัดหลงไปอยู่ตามอวัยวะอื่นๆ ก่อนผ่าตัดแล้วหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าทำการตรวจวินิจฉัยครบถ้วนตามหลักวิชาการก็พอจะบอกได้อย่างมั่นใจระดับหนึ่งว่ามะเร็งแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใดอยู่ในระยะใดแม้จะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม                    ประเด็นที่สอง ผ่าตัดโดยไม่สงสัยมาก่อนเลยว่าจะเป็นมะเร็ง เนื่องจากประวัติและการตรวจต่างๆ ไม่เหมือนมะเร็ง ทำให้อาจจะผ่าตัดออกได้ไม่หมดหรือไม่ได้ขอบเขตของเนื้อดีที่ห่างจากก้อนเนื้องอกเพียงพอ กลุ่มนี้หากได้รับการผ่าตัดซ้ำเพื่อเอาส่วนที่เหลือออกในเวลาอันรวดเร็วหลังการผ่าตัดครั้งแรก โอกาสที่เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายก็น้อยลง   …