รู้ทันมะเร็ง : ควันไฟก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 พ.ค. 2559           เป็นเรื่องน่าเศร้าใจประจำเทศกาลหมอกควันไฟใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน แต่ปีนี้หนักกว่าทุกปีตรงที่มีอภิมหาภัยแล้งมาร่วมสังฆกรรมด้วย ทั้งไฟจากคนเผา ไฟป่าตามธรรมชาติ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำเอาร้อนตับแตกกันทั่วประเทศ พายุลูกเห็บพายุฤดูร้อนที่ไม่ค่อยจะเกิดในบ้านเรา ก็เกิดบ่อยขึ้น ยิ่งนับวันปัญหานี้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ ต่อเนื่องมาเป็นสิบปีแล้ว ถ้าไม่ทำอะไรเป็นเรื่องเป็นราว เช่น ทำฝายกักเก็บน้ำ ขุดบ่อเก็บน้ำทุกหมู่บ้าน ปลูกป่ากันเป็นเรื่องเป็นราว ลงโทษคนตัดไม้เผาป่าด้วยโทษขั้นสูงสุด เราคงได้เห็นทะเลทรายในบ้านเราในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเป็นแน่แท้           วกกลับมาเรื่องควันไฟที่เป็นปัญหาเรื้อรังในภูมิภาค มีทั้งก๊าซพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว เริ่มจากก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จริงๆ แล้วยังมีมากมายอีกหลายตัวที่ตามมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญที่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ก็คือ สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช ที่หากได้รับสารพิษนี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นยังมีฝุ่นละอองที่มีผลแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ ดวงตา…

รู้ทันมะเร็ง : เหมืองทองคำกับมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  6 พ.ค. 2559           ควันหลงจากการลงพื้นที่เหมืองทองคำ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ของรัฐมนตรี 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแน่นอนกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากปัญหาหลักของเรื่องนี้คือปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่           ย้อนเวลากลับไปเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว มีชาวบ้านจาก 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบคือ พิจิตร พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ออกมาประท้วงไม่เอาเหมืองแร่ทองคำกันเป็นเรื่องเป็นราว หลังจากที่ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่มีสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ ชาวบ้านได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมาตลอด มีเรื่องมีราวถึงขั้นฟ้องศาลปกครอง แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างไร ข้อมูลจากปีที่แล้วผลการสุ่มตรวจสารโลหะหนักในเลือดของประชาชนกว่า 600 คน ในพื้นที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรพบว่าร้อยละ 30 มีสารโลหะหนักในเลือด มีรหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอบางส่วนหายไปย้อนเวลากลับไปเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว มีชาวบ้านจาก 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบคือ พิจิตร พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ออกมาประท้วงไม่เอาเหมืองแร่ทองคำกันเป็นเรื่องเป็นราว…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งผิวหนังกับรังสียูวี : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  19 ก.ย. 2557           เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ผิวหนังของสหรัฐอเมริกา โดยรวบรวมเอาการศึกษาวิจัยจำนวน 19 งานวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 266,000 ราย พบว่านักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนม่ามากกว่าคนปกติ 2 เท่า ทำเอาบรรดานักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน           สาเหตุจะเป็นจากอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากการได้รับรังสียูวีหรือรังสีอัลตร้าไวโอเลตในความเข้มข้นสูงที่ระดับความสูง 9,000 เมตร หรือ 30,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลที่เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินอยู่ตามปกติ ความเข้มข้นของรังสียูวีที่ระดับความสูงนั้นสูงกว่าคนที่อยู่ในระดับพื้นดินตามปกติได้รับถึง 2 เท่าตัว โดยนักบินมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.21-2.22 เท่า ในขณะที่สจ๊วตและแอร์โฮสเตสมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 2.09 เท่า เป็นเพราะนักบินมีโอกาสได้รับรังสียูวีที่ผ่านทางหน้าต่างห้องนักบินมากกว่า โดยเฉพาะในขณะที่เครื่องบินบินผ่านกลุ่มเมฆหนา แสงแดดจะสะท้อนเข้ามาในตัวเครื่องบินได้เพิ่มมากขึ้นถึง 85 เปอร์เซ็นต์    …

รู้ทันมะเร็ง : พิษ ในสารพิษ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  15 พ.ค. 2558           ยาฆ่าแมลงสารพิษที่แทบทุกบ้านต้องมีไว้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นพวกสเปรย์กำจัดยุง แมลงสาบ ปลวก มด มอด นอกจากมีผลเสียต่อสุขภาพคล้ายๆ กันคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว นั่นคือทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน           ในบรรดายาปราบศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงที่มีมากมายหลายประเภทหลายกลุ่มนั้น กลุ่มที่มีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งคือ กลุ่มของสารออร์กาโนฟอสเฟต อันได้แก่ มาลาไธออน พาราไธออน กูซาไธออน ซูมิไธออน เมวินฟอส ไดซีสตอน ไดอะซิโนน เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มยาปราบศัตรูพืชที่เกษตรกรชาวนาชาวสวนไทยเรานิยมใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง งานวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่า การใช้และการสัมผัสยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน มะเร็งสมอง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กมีความเสี่ยงในการพบยาฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายได้สูงกว่าผู้ใหญ่ ยืนยันจากการตรวจพบระดับสารออร์กาโนฟอสเฟตในปัสสาวะของเด็กสูงกว่าในผู้ใหญ่           ในส่วนของเกษตรกรผู้ใช้และสัมผัสยาปราบศัตรูพืชโดยตรงพบว่า…

รู้ทันมะเร็ง : หมอกควันก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  20 มี.ค. 2558           น่าเป็นห่วงมากกับสถานการณ์หมอกควันที่เกิดขึ้นซ้ำซากแบบนี้ทุกปีใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งๆ ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งมีทั้งสาเหตุไฟป่าจากความแห้งแล้งตามธรรมชาติและที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ คือไฟจากการเจตนาเผาเรือกสวนไร่นาหญ้าวัชพืช ซึ่งชาวบ้านชาวไร่ชาวนานับเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะร่วมมือในการแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารที่มาไล่วิ่งตามแก้ปัญหา จนปัจจุบันลุกลามบานปลายใหญ่โตจนกลายเป็นปัญหาระดับภูมิภาคไปเสียแล้ว           ควันไฟที่เกิดจากสาเหตุใดๆ ก็ตามล้วนมีผลเสียต่อสุขภาพเพราะมันเต็มไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสุขภาพโดยตรงทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง แบบเฉียบพลันทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ ดวงตา ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการไอ เจ็บคอ หอบหืด แสบจมูก แสบหู แสบตา ผิวหนังอักเสบ เรียกว่าหลีกเลี่ยงลำบากเพราะทุกคนต้องหายใจกันทั้งนั้น ถึงแม้จะใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นแล้วก็ตาม ก็ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วไม่ค่อยจะอยู่ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ใส่อะไรป้องกันเลย ผลกระทบต่อสุขภาพแบบเรื้อรังที่น่ากลัวจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจากมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในภาคเหนือ เพราะนอกจากฝุ่นละอองแล้วยังมีสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็งจากการเผาไหม้คือสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช นอกจากนั้นพวกโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น ไอเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โรคไซนัสอักเสบยังตามมาถามหาอย่างต่อเนื่อง      …

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากไฟไหม้ยางรถยนต์ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  13 ก.พ. 2558           เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้โรงงานยางรถยนต์ที่โกดังเก็บยางรถยนต์และผลิตภัณฑ์ข้างเคียงรวมทั้งหมด 6 อาคารภายในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี หลายคนอาจยังไม่ทราบถึงผลร้ายต่อสุขภาพที่จะตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งในระยะยาวจากควันไฟที่ไหม้ยางรถยนต์จำนวนมากขนาดนั้น           ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่ายางรถยนต์นั้นมีส่วนประกอบจากยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ สารเคมีต่างๆ เช่น กำมะถัน โอโซน น้ำมัน รวมทั้งเส้นลวดมาประกอบเป็นยางรถยนต์ เมื่อเกิดการเผาไหม้ บรรดาก๊าซพิษสารพิษที่เกิดตามหลังไฟไหม้ยางรถยนต์ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนต์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กลุ่มสารออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน ทั้งไนตริกออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และไดไนโตรเจนเตตระออกไซด์ ไอโลหะไม่ว่าจะเป็น ไอปรอท ไอตะกั่ว ไอสังกะสี ไอดีบุก เขม่าและควันไฟ สารไดออกซิน สารฟิวแรน บรรดาสารพัดก๊าซสารพัดพิษเหล่านี้หากสูดดมในปริมาณความเข้มข้นสูง มีอันตรายเฉียบพลันถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้…

รู้ทันมะเร็ง : มะเร็งจากเหมืองทองคำ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  23 ม.ค. 2558           ข่าวร้อนเรื่องสุขภาพตอนนี้ นอกจากเรื่องเชื้ออหิวาห์เทียมในเลือดไก่ที่ทำเอาผู้คนไม่กล้ากินเลือดไก่ในข้าวมันไก่แล้ว ยังมีเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนบริเวณรอบเหมืองทองคำในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ที่มีปัญหามากขึ้น จนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ต้องสั่งปิดเหมืองทองคำเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชน           จากผลการสุ่มตรวจสารโลหะหนักในเลือดของประชาชนกว่า 600 คน ในพื้นที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรพบว่า กว่า 200 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 30 มีสารโลหะหนักในเลือด มีรหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอบางส่วนหายไป หากเป็นส่วนโครโมโซมที่ควบคุมการเกิดมะเร็งและยังได้รับสารดังกล่าวอย่างต่อเนื่องยาวนานทั้งจากอาหาร อากาศ น้ำดื่มและจากห่วงโช่อาหารทุกชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย ก็จะมีผลให้ป่วยเป็นมะเร็งได้ทั้งสิ้น สารโลหะหนักที่เป็นตัวร้ายของงานนี้คือ สารหนู แมงกานีส โดยเฉพาะสารหนู เพราะสารหนูถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งประเภทที่ 1 คือมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ มี 2 รูปแบบ…

รู้ทันมะเร็ง : : ถนนกรุงเทพถนนก่อมะเร็ง : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  24 พ.ค. 2556           กรุงเทพเมืองฟ้าอมร ทุกวันนี้นอกจากอากาศจะร้อนอบอ้าวแล้ว ยังเต็มไปด้วยฝุ่นละอองมากขึ้นทุกวัน คนที่มีบ้านเรือนอยู่ติดถนนใหญ่จะรู้ดี แต่ที่สำคัญนอกจากอากาศที่ร้อนขึ้นและฝุ่นที่เยอะขึ้นแล้ว สารก่อมะเร็งยังปลิวว่อนตามสามแยกสี่แยกเต็มถนนหนักกว่าเดิมอีกด้วย           เมื่อเร็วๆ นี้มีผลงานวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า ซึ่งนำข้อมูลตัวอย่างค่าฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนของกรมควบคุมมลพิษ จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้ง 7 สถานีในกรุงเทพ อันได้แก่ การเคหะชุมชนดินแดง สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย 4 การไฟฟ้าย่อยธนบุรี โรงเรียนบดินทรเดชา โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม การเคหะชุมชนคลองจั่น และโรงเรียนนนทรีวิทยา โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2549 -2552 มาวิเคราะห์หาสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ที่สำคัญคือเจ้าสารพีเอเอชที่ว่าเป็นกลุ่มของสารก่อมะเร็งที่มีสมาชิกมากมายหลายตัวไม่ต่ำกว่า 18 ตัว แต่ตัวที่ร้ายกาจก็เช่น สารเบนโซเอไพรีน ซึ่งพบในควันบุหรี่ด้วย        …

รู้ทันมะเร็ง : : กระดาษทิชชูก่อมะเร็งจริงหรือ : โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

เครดิต : คมชัดลึก  18 ก.ค. 2557           เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีข่าวที่สร้างความตกอกตกใจแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคุณแม่บ้านที่รักสุขภาพ ที่นิยมใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอดก่อนการบริโภค ด้วยเกรงว่าน้ำมันที่ตกค้างในของทอดจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ครั้นเมื่อมีข่าวว่าในกระดาษทิชชูซับน้ำมันมีสารก่อมะเร็งอยู่ด้วย เลยทำเอาผู้คนสับสนกันเป็นการใหญ่           จากการที่มีข่าวว่ากระบวนการผลิตกระดาษทิชชูนั้น ต้องใช้กระดาษใช้แล้วมารีไซเคิล เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ต้องใช้โซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ในการฟอกเยื่อกระดาษให้มีสีขาว อาจตกค้างมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อ สารฟอกขาวอีกตัวก็คือกลุ่มสารคลอรีนที่จะทำให้เกิดสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ในที่สุดบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งจากมหาวิทยาลัยชั้นนำและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายท่าน ออกมายืนยันว่ากระดาษทิชชูไม่ได้มีสารอันตรายหรือน่ากลัวอย่างที่ร่ำลือกันไปผิดๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการฟอกขาวเยื่อกระดาษที่อาจมีสารเคมีตกค้างนั้น แท้จริงแล้วมีกระบวนการล้างมากมายหลายขั้นตอน จนแทบไม่มีทั้งโซดาไฟและสารไดออกซินตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานผลิตกระดาษในบ้านเราที่ใช้สารคลอรีนในการผลิตนั้น ปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียงโรงเดียว โรงงานส่วนใหญ่ใช้สารคลอรีนไดออกไซด์ที่ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งไดออกซินแต่อย่างใด ไม่เพียงแต่กระดาษทิชชูหรือกระดาษอนามัยเท่านั้น กระดาษเอ 4 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ก็มีสารทั้งสองตัวที่ว่าตกค้างน้อยมากเช่นกัน มิหนำซ้ำสารไดออกซินถ้ามีตกค้างในกระดาษจริง ก็ไม่ใช่จะหลุดออกมาได้ง่ายๆ ในการสกัดสารไดออกซินออกจากกระดาษในห้องปฏิบัติการนั้น ต้องใช้เวลาที่ยาวนานและอุณหภูมิที่สูงมากกว่าจะสกัดสารไดออกซินออกมาได้           สรุปว่าเรื่องกระดาษทิชชูซับน้ำมันมีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนอยู่ด้วยนั้น ก็ไม่ต่างจากเรื่องขวดน้ำพลาสติกตากแดดทิ้งไว้ในรถที่ลือกันว่ามีสารก่อมะเร็ง ก็ทำความเข้าใจใหม่ให้ถูกต้องตรงกันนะครับว่า ไม่มีสารก่อมะเร็งแน่นอนครับ…เชื่อผมสิ